การเสริมกวาวเครือขาวและแคลเซียมในอาหารไก่ระยะปลดไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตไข่ คุณภาพเปลือกไข่ คุณภาพภายในของไข่ แคลเซียมและเอสโตรเจนในเลือด
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลการเสริมกวาวเครือขาวร่วมกับแคลเซียมจากเปลือกหอยในอาหารไก่ระยะปลดไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตไข่ คุณภาพเปลือกไข่และคุณภาพภายในของไข่ แคลเซียมและฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือด โดยวางแผนการทดลองแบบ 3 × 2 แฟคทอเรียลในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ปัจจัยแรกคือกวาวเครือขาว 3 ระดับ 0, 50 และ 100 พีพีเอ็ม และปัจจัยที่สอง คือเปลือกหอย 2 ระดับ 0 และ 1% ใช้แม่ไก่ไข่ลูกผสมทางการค้าพันธุ์โรมันบราวน์ระยะปลดไข่ อายุ 79 สัปดาห์ จำนวน 240 ตัว แบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ10 ตัว โดยมีกลุ่มทดลองดังนี้ 1) กลุ่มอาหารปกติ
2) กลุ่มอาหารปกติเสริมกวาวเครือขาว 50 พีพีเอ็ม 3) กลุ่มอาหารปกติเสริมกวาวเครือขาว 100 พีพีเอ็ม
4) กลุ่มอาหารปกติเสริมเปลือกหอย 1% 5) กลุ่มอาหารปกติเสริมกวาวเครือขาว 50 พีพีเอ็มร่วมกับเปลือกหอย 1 % และ 6) กลุ่มอาหารปกติเสริมกวาวเครือขาว 100 พีพีเอ็มร่วมกับเปลือกหอย 1 % ระยะเวลาการทดลอง 84 วัน (แบ่งการเก็บข้อมูลเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 28 วัน) ผลการทดลอง พบว่า การเสริมกวาวเครือขาวและเปลือกหอยในระดับที่ทดลองไม่ทำให้ปริมาณแคลเซียมและฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) อิทธิพลร่วมระหว่างกวาวเครือขาวและเปลือกหอยมีผลต่ออัตราการไข่ มวลไข่ ค่าสีแดงของไข่แดงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การเสริมกวาวเครือขาวมีผลต่อความหนาเปลือกไข่และดัชนีไข่แดงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และการเสริมเปลือกหอยมีผลต่อค่าความสว่างของไข่แดงและค่าสีแดงของไข่แดง (p<0.05) และมีแนวโน้มส่งผลต่อดัชนีรูปทรงไข่ (p=0.09) ดังนั้นการเสริมกวาวเครือขาว 50 พีพีเอ็มถึง 100 พีพีเอ็มร่วมกับเปลือกหอย 1% ในอาหารไก่ระยะปลดไข่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพเปลือกไข่
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ประภัสรา กันภัย. (2546). ผลของไฟโตเอสโตรเจนในกวาวเครือขาวต่อระดับโคเลสเตอรอลในไข่แดงและประสิทธิภาพการให้ผลผลิตไข่ในไก่ไข่. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยุวดี มานะเกษมพันธุ์, และศุจิรัตน์ สงวนรังศิริกุล. (2553). สารออกฤทธิ์สำคัญ และผลของสารสำคัญในกวาวเครือขาว. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
รณัชย์ รามเดชะ. (2531). ผลของระดับ แหล่ง และขนาดของอนุภาคของแคลเซียม การเสริมเทอร์รามัยซิน และไวตามินซีในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตไข่และความหนาของเปลือกไข่ในฤดูร้อน. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รัตญาพร นากใจ, และศรีน้อย ชุ่มคำ. (2561). ผลการเสริมกวาวเครือขาวในอาหารไก่ไข่ต่อคุณภาพเปลือกไข่และคุณภาพภายในของไข่. 6 มิถุนายน 2561. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบันครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. สมุทรปราการ.
ศรีน้อย ชุ่มคำ, อรพินท์ จินตสถาพร, และอรทัย ไตรวุฒานนท์. (2545). อิทธิพลของกวาวเครือขาวต่อระดับฮอร์โมนบางชนิด กลิ่นเพศและเซลล์ในอัณฑะของสุกรเพศผู้. 4-7 กุมภาพันธ์ 2545. การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 40 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ศรีน้อย ชุ่มคำ, อรพินท์ จินตสถาพร, และอรทัย ไตรวุฒานนท์. (2548). อิทธิพลกวาวเครือขาวต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต ลักษณะซาก และระดับฮอร์โมนบางชนิดในไก่เนื้อ. วารสารสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. 37:37-50.
สมโภชน์ ทับเจริญ, พัลลพ ตั้งตระกูลทรัพย์, เกรียงไกร สะอาดรักษ์, และสุชาติ สงวนพันธุ์. (2546). ผลของกวาวเครือขาวในอาหารไก่ไข่ระยะให้ไข่สูงสุดถึงสิ้นสุดการไข่. 3-7 กุมภาพันธ์ 2546. การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 41 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
อรทัย ไตรวุฒานนท์, สมโภชน์ ทับเจริญ, อรประพันธ์ ส่งเสริม, เสาวลักษณ์ ผ่องลําเจียก, สุชาติ สงวนพันธุ์ , มณฑาทิพย์ ยุ่นฉลาด, ประนอม เดชวิศิษฎ์สกุล, และดาราวรรณ ปิ่นทอง. (2549). การใช้อาหารผสมผงกวาวเครือขาวในการเลี้ยงไก่เนื้อตอน 1: ระยะเวลาและระดับที่เหมาะสมในการใช้ผงกวาวเครือขาวในอาหาร ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และคุณภาพซาก. 24 มกราคม 2549. การประชุมวิชาการสัตวศาสตร์ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
อุทัย คันโธ. (2529). อาหารและการผลิตอาหารเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม.
อรรถวุฒิ พลายบุญ, และอรทัย จินตสถาพร. (2558). การใช้กวาวเครือขาวต่อการผลิตไข่และคุณภาพไข่ในแม่ไก่ไข่. 8-9 ธันวาคม การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 12. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม.
Abou-Elkhaira, R., Selim, S., & Hussein, E. (2018). Effect of supplementing layer hen diet with phytogenic feed additives on laying performance, egg quality, egg lipid peroxidation and blood biochemical constituents. Animal Nutrition. 4:394-400.
AOAC. (2000). Official method of analysis of association of official analytical chemists. AOAC, Washington, DC.
An, S. H., Kim, D. W., & An, B. K. (2016). Effects of dietary calcium levels on productive performance, eggshell quality and overall calcium status in aged laying hens. Asian Australas Journal of Animal Science. 29:1477-1482.
Beck, M. M., & Hansen, K. K. (2004). Role of estrogent in avain osteoporosis. Poultry Science. 8:200-206.
Ciftci, H. B. (2012). Effect of estradiol-17 β on follicle-stimulating hormone secretion and egg-laying performance of Japanese quail. Animal. 6:1955-1960.
DCP. (1997). Chemiluminescent immunoassay system model immulite. IEC publication.
Dojana, N., Cotor, G., Codreanu, I., & Balaceanu, R. (2015). The effect of experimental 17-beta estradiol administering on calcium metabolism regulation in young laying hens .Bulletin UASVM Veterinary Medicine. 72:90-92. DOI:10.15835/buasvmcn-vm:10854.
Duman, M., Sekeroglu, A., Yildraim, A., Eleroglu, H., & Camci, O. (2016). Relation between egg sharp index and egg quality characteristics. Europian Poultry Science. 80:117-120.
Hanusova, E., Hrncar, C., Hanus, A., & Oravacova, M. (2015). Effect of breed on some parameter of egg quality in laying hen. Acta fytotechnica et Zoootechnica. 18:20-24. DOI: 10.15414/afz.2015.18.01.20-24.
Kenneth Walker, H., Dallas Hall, W., & Willis Hurst, J. (1990). Clinical methods (3rd ed.). Boston: Butterworths.
McWatters, A. (2003). The importance of calcium in our Grey,s diets. Retrieved September 6, 2020, from http://www.africangreys. com/articles/nutrition/calcium.htm.
Nascimento, D. R., Murakami, A. E., Guerra, A. F. Q. M., Ospinas-Rojas, I. C., Ferreira, M. F. Z, & Fanhani. J. C. (2014). Effect of different vitamin D sources and calcium levels in the diet of layers in the second laying cycle. Brazilian Journal of Poultry Science. 16:37-42.
Pesti, G. M., Bakalli, R. I., Driver, I. P., Ateneio, A., & Foster, E. H. (2005). Poultry nutrition and feeding. Althens Inc., Georgia.
Pizzolante, C. C., Kakimoto, S. K., Saldanha, E. S. P. B., Lagana, C., Souza, H. B. A., & Moraea, J. E. (2011). Limestone and oyster shell for brown layers in their second egg production cycle. Revista brasileira de Ciecia Avicola. 13:1-11.
Roberts J.R. (2004). Factors affecting egg internal quality and egg shell quality in laying hen. The Journal of Poultry Science. 3:161-177.
Roush, W. B. (1981). T156 calculator program for Haugh unit calculator. Poultry Science. 60:1086-1088.
Saki, A. A., Iji, P. A., & Tivey, D. R. (2002). Intestinal function and reproductive capacity of Tegel pullets in response to exogenous oestrogen. Archive of Animal Nutrition. 56:237–244.
Stevens, L. (1996). Avian biochemistry and molecular biology. England: Combridge University Prss.
Vargas-Rodriguez, L. M., Morales-Barrera, J. E., Herrera-Haro, J. G., Antonio-Bautista, J., Lopez-Pozos, R., & Hernandez-Sanchez, D. (2016). Effect of citric acid, phytase and calcium levels on the calcium and phosphorus content in Egg: Yolk-albumen and shell, yolk color and egg quality in diets of laying hens. Food and Nutrition Sciences. 7: 1364-1374.
Wistedt, A., Ridderstråle, Y., Wall, H., & Holm, L. (2014). Exogenous estradiol improves shell strength inlaying hens at the end of the laying period. Acta Veterinaria Scandinavica. 56:34-45.