ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคโนโมโฟเบียของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้สมาร์ตโฟน/แท็บเล็ต ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคโนโมโฟเบีย และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคโนโมโฟเบียของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 400 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ t-test F-test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)
ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 94.30 ของตัวอย่างใช้สมาร์ตโฟน/แท็บเล็ตเป็นประจำในขณะที่อยู่คนเดียว โดยโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟน/แท็บเล็ตที่นักศึกษาใช้เป็นประจำมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ Facebook ร้อยละ 95.50 รองลงมาเป็น Line ร้อยละ 86.0 และ Messenger ร้อยละ 80.30 เมื่อพิจารณาถึงระยะเวลาในการใช้งานสมาร์ตโฟน/แท็บเล็ตต่อวัน พบว่า ร้อยละ 33.00 ของตัวอย่างมีระยะเวลาในการใช้งานสมาร์ตโฟน/แท็บเล็ตต่อวันตั้งแต่ 10 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพื่อสนทนาออนไลน์ รองลงมาจะใช้เพื่อฟังเพลง พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคโนโมโฟเบียมากที่สุด 2 อันดับแรก คือ การใช้สมาร์ตโฟน/แท็บเล็ตนานกว่าที่ได้ตั้งใจไว้ รองลงมา คือ การนำสมาร์ตโฟน/แท็บเล็ตติดตัวไปทุกที่แม้กระทั่งเข้าห้องน้ำ ซึ่งร้อยละ 49.00 ของตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคโนโมโฟเบียระดับปานกลาง สำหรับข้อมูลทั่วไปที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคโนโมโฟเบียที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ ชั้นปี คณะ เกรดเฉลี่ย (GPA) ในภาคเรียนล่าสุด การใช้สมาร์ตโฟน/แท็บเล็ตเป็นประจำขณะรับประทานอาหาร ความถี่ในการใช้สมาร์ตโฟน/แท็บเล็ต เพื่อโทรศัพท์ออกต่อวัน และระยะเวลาในการใช้สมาร์ตโฟน/แท็บเล็ตต่อวัน และมี 5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคโนโมโฟเบียของนักศึกษาที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านวัตถุประสงค์การใช้สมาร์ตโฟน/แท็บเล็ต (r=0.30, p<0.05) ปัจจัยด้านครอบครัว (r=0.20, p<0.05) ปัจจัยด้านเพื่อน (r=0.28, P<0.05) ปัจจัยด้านค่านิยม (r=0.55, p<0.05) และปัจจัยด้านเทคโนโลยี (r=0.34, p<0.05)
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
เขมินต์ธารากรณ์ บัวเพ็ชร. (2559). พฤติกรรมเสี่ยงและแนวทางการป้องกันการเกิดโรคโนโมโฟเบียของวัยรุ่นในเขตจังหวัดสงขลา. หาดใหญ่: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
เฉลิมพงษ์ จันทร์สุขา. (2559). พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนกับสังคมก้มหน้า: กรณีศึกษานักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และ SAS. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชานนท์ ศิริธร. (2558). การศึกษาการบริโภคสมาร์ตโฟนของกลุ่มวัยรุ่นด้วยทฤษฎีวิพากษ์. สืบค้นจาก http://www.gscm.nida.ac.th/public-action/Journal/Vol.3-58/8.pdf
ชีวรัตน์ ปราสาร, สรันยา เฮงพระพรหม, ณภัควรรต บัวทอง, และธนภูมิ รัตนานุพงศ์. (2560). ความชุกของภาวะ monophobia ในกลุ่มนิสิตนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรีที่ใช้สมาร์ตโฟนในมหาวิทยาลัยภาครัฐ. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 61(2), 251-259.
พิจิตรา จิตจำนงค์. (2557). การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ตโฟนกับการปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสารกับบุคคลรอบข้างของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภิสสรา ขันตระกูล. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงเป็นโรคโนโมโฟเบียของผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟนกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ. (2562). รู้จักโรคโนโมโฟเบีย (nomophobia) โรคสุดฮิตของคนใช้สมาร์ตโฟน. สืบค้นจาก http://www.bangkokhealth.com/health/article
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). แพทย์เตือนสังคมก้มหน้าระวังโรคโนโมโฟเบีย. สืบค้นจาก http://www.thaihealth.or.th
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). รายงานพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยปี 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สิริกานต์ แก่นเพชร. (2559). การเสพติดสมาร์ตโฟนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2561). การวิจัยทางการศึกษา: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ Educational research: concepts and applications. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
AAP. (2013). Specific phobia In: American Psychiatric Association. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-V). (5th ed.). The Association of American Psychiatric, Washington DC.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Hinkle, D. E., & William, W., & Stephen, G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.
Holmes, L. (2017). 19 Signs you need to unplug from your amartphone. Retrieved from http://www.huffingtonpost.com/2013/11/23/signs-you-need-to-unplug_n_4268822.html? utm_hp_ref=healty-living
YouGov. (2008). Nomophobia is the fear of being out of mobile phone contact and it’s the plague of our 24/7 age. Retrieved from http://www.standard.co.uk/news/nomophobia-is-the-fear-of-being-out-of-mobile-phone-contact-and-its- the-plague-of- our-247-age-6634478.html