พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

นัชชา ยันติ
ธธิธา เวียงปฏิ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างคือประชาชน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 381 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองภาพรวมในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.4 (S.D. = 0.42)  โดยมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง ด้านการรับประทานอาหารอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.6 (S.D. = 0.62) พฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.0 (S.D. = 0.65) และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพจิตอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.6 (S.D. = 0.37) พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.3 (S.D. = 0.53) ปัจจัยพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p – value = <0.001 และ p – value = <0.001 ตามลำดับ) ดังนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรดำเนินการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในเรื่องของการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเพื่อให้ประชาชนมีการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2564ก). กรมควบคุมโรค แนะประชาชนที่กำลังทยอยเดินทางกลับหลังปีใหม่ ยึดหลัก D-M-H-T-T เพื่อป้องกันตนเองจากโรคโควิด 19. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/brc/news. php?news=16434&deptcode=brc

กรมควบคุมโรค. (2564ข). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. สืบค้นจาก https://ddc. moph.go.th/ viralpneumonia/file/int_protection/int_ protection_030164.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน. สืบค้นจาก https://ddc. moph.go.th/covid19-dashboard/

จิราพร บาริศรี, เจนรบ พละเดช, ผ่องพรรณ มุริกานนท์, รินดา พันธ์กาฬสินธ, และสมทรง พละเดช. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันโรคโควิด-2019 (COVID -2019) ตําบลเกาะแก้ว อําเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 33-45.

เทศบาลเมืองคลองหลวง. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561 – 2565). สืบค้นจาก https://www. khlongluang.go.th/public/list/data/index/menu/1144

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, และทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารวิจัยพยาบาลและสุขภาพ, 21(2), 29-39.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

ปุณยนุช นิลแสง, วีระวัฒน์ อุ่นเสน่หา, ปวิช เรียงศิริ, กุลชาติ พันธุวรกุล, เมษา นวลศรี, ณัฐสิมา โทขันธ์, คณิต เรืองขจร, เฉลิมพงษ์ จันทร์สุขา, ทัศพร ชูศักดิ์, และชูศักดิ์ ขันธชาติ. (2564). โครงการสำรวจการปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

รอบีอาห์ นาวะกานิง, นาปีชะห์ เจะเล็ง, ฮูไดบะห์ สาและ, ทวีพร เพ็งมาก, ทิพยวรรณ นิลทยา, และ พัชราวดี ทองเนื่อง. (2564). พฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส ของผู้สูงอายุในจังหวัดนราธิวาสภายใต้สถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19). วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 31(2), 68-80.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2563). วิจัยเฉพาะกิจหยุดCOVID-19. สืบค้นจาก https://www.hsri.or.th /people/media/forum/detail/12619

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี. (2564). การเฝ้าระวังโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) จังหวัดปทุมธานี. สืบค้นจาก http://203.157.108.3/ptepho/covid19/

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, มิ่งขวัญ ศิริโชติ, ปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์, และศุภอัฑฒ์ สัตยเทวา. (2564). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนมัธยามศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 9(1), 36-49.

Best, John. (1977). Research in Education. New Jersey:Prentice Hall, Inc.1977.

Nudelman, G., Peleg, S., & Shiloh, S. (2021). The association between healthy lifestyle behaviours and coronavirus protective behaviours. International journal of behavioral medicine, 28(6), 779-787.

World Health organization. (2021). WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard. Retrieved from https://covid19.who.int/