การพัฒนาระบบควบคุมการชุบฮาร์ดโครมแบบอัตโนมัติโดยใช้ พีแอลซีและเอชเอ็มไอ : กรณีศึกษา บริษัท ไตรภพกลการ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบควบคุมการชุบฮาร์ดโครมแบบอัตโนมัติ โดยใช้พีแอลซี และเอชเอ็มไอ: กรณีศึกษา บริษัท ไตรภพกลการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบควบคุมการชุบฮาร์ดโครมแบบอัตโนมัติ โดยใช้พีแอลซีและเอชเอ็มไอ: กรณีศึกษา บริษัท ไตรภพกลการ จำกัด อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบควบคุมและทดสอบประสิทธิภาพ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารจัดการกับระบบควบคุมการชุบฮาร์ดโครมแบบอัตโนมัติ โดยใช้พีแอลซีและเอชเอ็มไอในโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีขั้นตอนการศึกษา คือ การพัฒนาระบบควบคุมการชุบโลหะอัตโนมัติ โดยใช้พีแอลซีและเอชเอ็มไอ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ขนานกับระบบการชุบฮาร์ดโครมแบบเดิมของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดนครปฐม พร้อมทั้งหาประสิทธิภาพของระบบเทียบกับระบบเดิม และศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารจัดการกับระบบ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบควบคุมการชุบฮาร์ดโครมแบบอัตโนมัติ โดยใช้พีแอลซี และเอชเอ็มไอ ชุดปรับแรงดันอัตโนมัติ บ่อชุบและแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้า ของโรงงานและแบบวัดความพึงพอใจของผู้บริหารจัดการกับระบบชุบในโรงงานอุตสาหกรรมที่พัฒนาขึ้น การวิจัยพบว่า 1) ระบบระบบควบคุมการชุบฮาร์ดโครมแบบอัตโนมัติ โดยใช้พีแอลซี และเอชเอ็มไอ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ตู้ควบคุมอัตโนมัติ ที่ประกอบด้วย พีแอลซี เอชเอ็มไอ อุปกรณ์ขับมอเตอร์ อุปกรณ์แปลงสัญณาณและแสดงผล และชุดปรับแรงดันอัตโนมัติซึ่งประกอบด้วยมอเตอร์และเฟืองทด และระบบที่พัฒนาขึ้นไม่มีความแตกต่างจากระบบการชุบแบบเดิมทั้งด้านเวลาและระดับแรงดันที่ใช้ในการชุบ และคุณภาพการชุบฮาร์ดโครมของระบบที่พัฒนาขึ้นกับระบบการชุบแบบเดิมไม่แตกต่างกันในด้านความหนาผิวฮาร์ดโครมและความแข็งของผิวแต่ขนาดมีความแตกต่างกันแบบไม่มีนัยสำคัญ 2) ระบบมีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับร้อยละ 99.58 3) ความพึงพอใจของผู้ร่วมพัฒนาระบบ และผู้ใช้ระบบการชุบฮาร์ดโครมที่มีต่อระบบชุบที่พัฒนาขึ้นทั้งด้านการพัฒนาระบบควบคุม การชุบฮาร์ดโครม ประสิทธิภาพ และความพึงพอใจโดยรวมต่อระบบชุบฮาร์ดโครมอยู่ในระดับดี
DEVELOPMENT OF AUTOMATIC HARD CHROME PLATING CONTROL SYSTEM BY USING PLC AND HMI EQUIPMENTS: A CASE STUDY OF TRIPOP MACHINERY CO., LTD., DONTUM DISTRICT, NAKHON PATHOM PROVINCE
The purposes of this research were to develop and to test efficiency of the hard chrome plating by using PLC and HMI, as well as to find the satisfaction of control system managers with hard chrome plating by using PLC and HMI. The research procedure were the development of automatic control system for metal plating by using PLC and HMI which was applied in parallel with the traditional plating in the industries in Nakhon Pathom area; the efficiency comparison of the developed system with the traditional system; and the study of system control managers’ satisfaction. The research instruments were the control system of hard chrome plating by using PLC and HMI, automatic voltage adjusting set, plating pools, power supply and a questionnaire about system control managers’ satisfaction with the developed system.The research showed that: 1) the automatic control system of hard chrome plating by using PLC and HMI developed consisted of automatic control and the automatic voltage adjusting set. The automatic control comprised PLC, HMI, motor driver, signal conversion device and display; while the automatic voltage adjusting set included motor and gears. The developed system showed no difference from the traditional system in the aspects of time and voltage levels used in plating. As for the quality of the plating, there was no difference between the developed system and the traditional one in the aspect of thickness and hardness of hard chrome surface. However, they showed the difference in size aspect but with no significant difference. 2) The overall efficiency was equal to 99.58%. 3) The satisfaction of both the co-system developers and the system operators with the developed system in the aspects of control system development, hard chrome plating, system performance, including overall satisfaction were at the good level.
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์