ความรู้และทัศนคติต่อระบบการผลิตแบบลีนของพนักงานบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคนิคแบบลีนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ภาณุทัตต์ หมุดธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความรู้และระดับทัศนคติต่อระบบการผลิตแบบลีนของพนักงานบริษัทที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคนิคแบบลีน ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ  (2)เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคนิคแบบลีน ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ กับความรู้และทัศนคติ ต่อระบบการผลิตแบบลีน และ (3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับทัศนคติ ต่อระบบการผลิตแบบลีนของพนักงานของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคนิคแบบลีน ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากพนักงานของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยเทคนิคแบบลีน ในเขตจังหวัดสมุทรปราการจำนวน 153 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 249 คน ผลการศึกษาพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 73.20  มีอายุ 25-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 41.83 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 81.05 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 41.18 และมีอายุงานในองค์กรปัจจุบัน 3-6 ปี คิดเป็นร้อยละ 63.40 พนักงานส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตแบบลีน อยู่ในระดับปานกลาง และพนักงานมีทัศนคติต่อระบบการผลิตแบบลีน ภาพรวมค่อนข้างดี พนักงานที่มีอายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอายุงานในองค์กรปัจจุบันที่แตกต่างกัน มีความรู้และทัศนคติต่อระบบการผลิตแบบลีน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพนักงานที่เพศที่แตกต่างกันมีความความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับระบบการผลิตแบบลีนไม่แตกต่างกัน และความรู้เกี่ยวกับระบบการผลิตแบบลีนและทัศนคติต่อระบบการผลิตแบบลีนของพนักงานของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคนิคแบบลีน
ในเขตจังหวัดสมุทรปราการมีความสัมพันธ์กันในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

KNOWLEDGE AND ATTITUDE TOWARDS LEAN MANUFACTURING SYSTEM OF STAFF OF COMPANY THAT PARTICIPATE WITH THE LEAN IMPROVEMENT PROJECT IN SAMUTPRAKARN PROVINCE AREA

The purposes of this research were : (1) to study level of knowledge and attitude towards Lean Manufacturing System of staff of company that participate with the Lean  Improvement Project in Samutprakarn Province Area. (2) to study influence of personal factor : gender, age, highest level education, salary and work experience of staff of company that participate with the Lean Improvement Project in Samutprakarn Province Area. (3) to study relationship between knowledge and attitude toward Lean Manufacturing System of staff. The research instrument for collection data were questionnaires and test. The sample includes 153 person. The results were as follow: The majority of the sample were male i.e., 73.20%, aged 25-30 years old i.e., 41.83%. They were graduates i.e., 81.05%. with average monthly incomes of 20,001-30,000 Bath i.e., 41.18%. They have 3-6 years of work experience i.e., 63.40%. Average staff’s knowledge about Lean Manufacturing System was at a middle level. Average staff’s attitude toward Lean Manufacturing System was at a moderately good level. Considering the result of comparison staff’s knowledge and attitude, it was found that staff in different groups or level of following factor: age, highest level of education, salary and work experience were statistically significant differences in their knowledge and attitude about Lean Manufacturing System adoption at 0.05. The relationship between knowledge and attitude showed statistically significant correlation was at a moderately high level adopted at 0.05.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย