การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบเชิงเส้นและ แบบลำดับชั้น เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบเชิงเส้นและแบบลำดับชั้น เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบเชิงเส้นและแบบลำดับชั้น เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบเชิงเส้นและแบบลำดับชั้น และศึกษาความพึงพอใจจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบเชิงเส้นและแบบลำดับชั้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดอัยยิการาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยใช้วิธีการจับสลาก โดยจับสลากจาก 4 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คนจำนวน 2 ห้องเรียน รวม 60 คน ห้องเรียนที่ 1 เป็นกลุ่มทดลองเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบเชิงเส้นและห้องเรียนที่ เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบลำดับชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบเชิงเส้นและแบบลำดับชั้น โดยใช้เนื้อหาเรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้คือ ค่าทดสอบ t-test แบบ Independent และ หาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (E1/E2 )
ผลการวิจับพบว่า 1) การหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบเชิงเส้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.11/81.00 และแบบลำดับชั้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.56/83.00 ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบเชิงเส้นและแบบลำดับชั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบเชิงเส้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบลำดับชั้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบเชิงเส้นอยู่ในระดับมาก ( = 4.10 , S.D. = 0.26) และแบบลำดับชั้น อยู่ในระดับมาก ( = 4.67, S.D. = 19.43 )
COMPARISON ACHIEVEMENT LEARNING ABOUT BASIC FOOD 5 GROUPS FROM ELECTRONIC BOOK BETWEEN LINEAR AND HIERARCHICAL MODELS FOR GRADE 1
This research aims to 1) study the efficiency of the students’ e-Learning through Linear electronic books and Hierarchical electronic books based on the criteria of 80/80 2) compare achievement e-Learning through Linear electronic books and Hierarchical electronic books 3) compare the pre-test and post-test scores of the students’ achievement of Linear electronic books and Hierarchical electronic books 4) study the students’ satisfaction of the e-Learning through Linear electronic books and Hierarchical electronic books.
The samples were Grade 1 (Pratomsuksu 1) students from Wat Aiyikaram School in Pathum Thani in the 2nd semester year 2553. There were 60 students and divided into two groups. 30 students in each. The first group used Linear electronic books and the second used Hierarchical electronic books Data were analyzed by using simple statistic models and t-test. The results were shown in the following.
1) The efficiency of the e-Learning through Linear electronic books and Hierarchical electronic books based on the criteria of 80/80, the content is the basic food 5 groups. That is the efficiency of the Linear electronic books is 82.11/81.00 and with Hierarchical electronic books is 84.56/83.00.
2) The efficiency of the e-Learning through Linear electronic books and Hierarchical electronic books were almost the same with statistic scores at .01.
3) The students’ posttest scores using Linear electronic books were higher than their pretest scores at the significance level at .05.
4) The students’ posttest scores using Hierarchical electronic books were higher than their pretest scores at the significance level at .05.
5) The students’ satisfaction towards Linear electronic books was at a high level ( = 4.10, S.D. = 0.26) and towards Hierarchical electronic books was at a high level also ( = 4.67, S.D. = 19.43).
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์