การประเมินประสิทธิผลรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานและการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและประเมินประสิทธิผลรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานและการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
คือ 1) การศึกษาความต้องการการเรียนรู้จากผู้ใหญ่วัยทำงาน 2) การสร้างรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานและการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน และ 3) การประเมินประสิทธิผลรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานและการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาความต้องการเป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน จากภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 134 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง 3 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 จำนวน 3 คน ครั้งที่ 2 จำนวน
7 คน และครั้งที่ 3 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการจัดกิจกรรมสำหรับผู้วิจัยประกอบด้วย หลักสูตร แผนจัดการเรียนรู้ สื่อ (สไลด์, e-learning, คู่มือผู้เรียน) 2) แบบบันทึกการกำหนดวัตถุประสงค์ของผู้เรียน 3) แบบบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
5) แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียนรู้ 6) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบ t-test dependent ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานและการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน หรือ BL&FL Model ประกอบด้วย
1.1 องค์ประกอบ 8 ด้าน ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านการออกแบบ ต้องสื่อความหมายที่ง่ายและชัดเจน มีการนำเสนอที่ดีและจูงใจ ผู้เรียนสามารถบริหารตนเองและมีอิสระในการเรียนรู้ และมีทางเลือกในการเรียนรู้ผ่านสื่อต่างๆ 2) องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ ผู้เรียนสามารถ กำหนดเป้าหมาย ความต้องการ และ ขอบเขตในการเรียนรู้ 3) องค์ประกอบด้านการประเมินผล ต้องสามารถประเมินผลลัพธ์ที่วัดได้ มีกิจกรรมที่เป็นแบบฝึกหัดหรือการทบทวนความรู้ 4) องค์ประกอบด้านปรัชญาและแนวคิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ความพร้อมและความต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนเอง 5) องค์ประกอบด้านรูปแบบการเรียนรู้ 6) องค์ประกอบด้านวิธีการเรียน 7) องค์ประกอบด้านเนื้อหาหลักสูตร 8) องค์ประกอบด้านวิเคราะห์ผู้เรียน
1.2 ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบ ชื่อ ACBF Model ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนวิเคราะห์ผู้เรียน (Learner Analysis : A) 2) ขั้นตอนระบุประเด็นเนื้อหาหลักสูตร (Course content : C) 3) ขั้นตอนกำหนดรูปแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน (Blended Learning Model for Learner : B) 4) ขั้นตอนการจัดการเกี่ยวกับวิธีการเรียน (Flexible learning : F)
2. ผลการหาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานและการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตชองผู้ใหญ่วัยทำงาน พบว่า
2.1 หลังการใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบ E1/E2 เท่ากับ 83.85/85.22 ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 85/85 ± 2.5
2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ทางการเรียนของผู้เรียน มีค่าเท่ากับ 0.702 ซึ่งมากกว่า 0.50 ขึ้นไป จึงเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
2.3 ความพึงพอใจในการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานและการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
2.4 การประเมินทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน อยู่ในระดับดี
EVALUATE THE EFFECTIVENESS OF BLENDED LEARNING AND FLEXIBLE LEARNING MODEL TO PROMOTE LIFELONG LEARNING FOR WORKING-AGE ADULT
The purpose of this research was evaluate the effectiveness of blended learning and flexible learning model to promote lifelong learning for working-age adult by means of research development. The research included 3 stages: 1) studying of the learning needs of working-age adults; 2) constructing blended learning and flexible learning model to promote lifelong learning for working-age adult and 3) assessing this model. The samples used to study learning needs consisted of 134 working age adults from both government and non-government organizations . The samples used to verify the efficiency of the model were 3, 7 and 32 working-age adults. The instruments used in the study included 1) a manual guide for research activities comprising of curriculum, lesson plans, learning materials, slides, e-learning and learner’s manual, 2) a form to indicate learning objectives, 3) a form to record lesson learned, 4) pre and post learning tests, 5) an assessment questionnaire on learning satisfaction, and 6) an assessment questionnaire on learning skills. The statistics used were descriptive statistics and t-test dependent.
The research findings were as follows:
1. The model of blended learning and flexible learning to promote lifelong learning for working-age adult was called BL&FL Model, including
1.1 eight major components as follows: 1) Learning Design delivering of a clear, simple, reliable, and interested presentation, and enabling self-learning management and freedom to learn as well as to select to learn from a variety of media; 2) Learning Objective which each learner could targeted objectives, needs, , and scope of each learning lesson; 3) Evaluation including assessing measurable output and providing activities for learning practice; 4) Philosophy and Adult Learning Concept considering lifelong learning process, readiness, and needs to achieve self-highest potential development; 5) Learning Model; 6) Learning and Teaching; 7) Curriculum; and 8) Learner Analysis.
1.2 The model was developed in four steps: 1) Learner Analysis, 2) Course Content Analysis, 3) Learning and Teaching Design; and 4) Management procedures on how to study
2. The results of the effectiveness study of the model were:
2.1 After implementation the model to the three samples, the efficiency of blended learning and flexible learning model. E1/E2 values equal to 83.85/85.22 effectively met the criteria set 85/85 ± 2.5.
2.2 Achievement Higher posttest than pretest statistically significant at the .01 level. Effectiveness index (E.I.) of the students' learning is equal to 0.702 which was greater than 0.50, thus the effective value. According to the criteria set. Satisfaction in blended learning and flexible learning model was most satisfactory. Assess learning skills of the students is good level.
2.3 Satisfaction in blended learning and flexible learning model was most satisfactory.
2.4 Assess learning skills of the students is good level.
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์