องค์ประกอบทางพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของกะทกรก

Main Article Content

วัลย์ลิกา สุขสำราญ
กัณฐมณี โพธิวัฒน์
อรอนงค์ ประนนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสารพฤกษเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหยาบชั้นเมทานอลจากส่วนต่าง ๆ ของกะทกรก (Passiflora foetida L.) ทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ ใบ ดอก เปลือก และเมล็ดจากการศึกษาสารพฤกษเคมีจากสารสกัดหยาบชั้นเมทานอลจากส่วนต่าง ๆ ของกะทกรก สารพฤกษเคมี ของสารสกัดหยาบ พบคาร์ดิแอคไกลโคไซด์ คูมาริน ซาโปนิน แทนนิน ฟีนอลิก และ  ฟลาโวนอยด์ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม ปริมาณสารประกอบแทนนินรวมและปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์รวม มีปริมาณ 22.02 ± 0.04 ถึง 68.82 ± 0.08 mgGAE.g-1, 34.25 ± 0.09 ถึง 87.36 ± 0.04 mgTAE.g-1 และ 22.13±0.31 ถึง 148.33±2.92 mgRE.g-1 ตามลำดับ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH free radical scavenging assay ที่ความเข้มข้น 1395.00 ไมโครกรัมต่อลิตร สารสกัดหยาบชั้นเมทานอลจากใบกะทกรก มีฤทธิ์ของการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดเท่ากับร้อยละ 91.24 ± 0.19 รองลงมาคือ เปลือก (ร้อยละ 87.52 ± 0.65) เมล็ด (ร้อยละ 76.79 ± 0.54) และดอก (ร้อยละ 47.13 ± 0.36) ตามลำดับ และจากการศึกษาความเข้มข้นของสารที่มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระร้อยละ 50 () พบว่าสารสกัดหยาบชั้นเมทานอลจากใบกะทกรกมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 494.70 ไมโครกรัมต่อลิตร รองลงมาคือ เปลือก (629.08 ไมโครกรัมต่อลิตร) เมล็ด (897.90 ไมโครกรัมต่อลิตร) และดอก (1524.15 ไมโครกรัมต่อลิตร) จากผลข้างต้นพบว่าสามารถนำส่วนต่าง ๆ ของกะทกรกมาเป็นข้อมูลที่สนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรมาใช้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติยา ทิสยากร. (2562). ผลิตภัณฑ์สำหรับบรรเทาอาการจากโรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุ “PakinPas”. ในสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. Thailand tech show 2019. (น. 114). ปทุมธานี. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

ธีรยุทธ์ ศรียาเทพ, ขนิษฐา ศรีภูมราช, ชณันญา กัลยากาญจน์, และรุวัยดา หมีนพราน. (2563). องค์ประกอบทางพฤกษเคมีเบื้องต้นและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหยาบจากพลับพลา. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ ครั้งที่ 5 (น. 1-11). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

พาลาภ มะณีแนม, และศักดิ์ศรี แสนยาเจริญกุล. (2561). การสกัดสารและทดสอบพฤกษเคมีเบื้องต้นของพืชสมุนไพรบางชนิด. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 (น. 690-697). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

พิชญ์อร ไหมสุทธิสกุล. (2549). การใช้สารประกอบฟีนอลิกของพืชเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 26(3), 222-238.

พิสมัย เหล่าภัทรเกษม. (2548). บทบาทของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ในการป้องกันและรักษามะเร็ง. ศรีนครินทร์เวชสาร, 20(3), 180-189.

วาทินี เสล่ราษฎร์. (2559). การสกัด การตรวจสอบสารพฤกษเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อแบคทีเรียของทุเรียนเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา). http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/57920933.pdf.

ศรินรัตน์ ฉัตรธีระนันท์, วรางคณา สบายใจและสิริมาส นิยมไทย. (2556). การทดสอบองค์ประกอบทางพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของใบข่อยดำ. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 41(3), 723-730.

สุรพล พหลภาคย์, จุฑาทิพย์ พหลภาคย์, และสัณฐิตา ตังคจิวางกูร. (2556). การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรกะทกรก. การประชุมวิชาการประจำปี ภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา (HERP) ครั้งที่ 1 (น.196-203). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

Ajane, G., & Patil, A. S. (2019). Evaluation of antioxidant potential of Passiflora foetida extract and quantitative evaluation of its phytochemical content-a possible natural antioxidant. Pharmaceutical Chemistry Journal, 6, 14–24.

Beer, D., Joubert, E., Gelderblom, W.C.A., & Manley, M. (2002). Phenolic compounds: A review of their possible role as in vivo antioxidants of wine. South African

Journal of Enology and Viticulture, 23(2), 48-61.

Chiavaroli, A., Simone, S. C. D., Sinan, K. I., Ciferri, M. C., Flores, G. A., Zengin, G., Etienne, O. K., Ak, G., Mahomoodally, M. F., Jugreet, S., Cziáky, Z., Jekớ J., Recinella, L., Brunetti, L., Leone, S., Angelini, P., Venanzoni, R., Menghini, L., Ferrante, C., & Orlando, G. (2020). Pharmacological properties and chemical profiles of Passiflora foetida L. extracts: novel insights forpharmaceuticals and nutraceuticals. Processes, 8(1034), 1-23.

Elghobashy, K. A., Eldanasoury, M. M., Elhadary, A. A., & Farid, M., (2020). Phytochemical Constituent, HPLC Profiling and Antioxidant Activity of Passiflora incarnata and Arctium lappa Leaves Extracts. Int J Vet Sci, 9(1): 42-49.

Ghasemzadeh, A., Jaafar, H.Z.E., & Rahmat, A. (2010). Antioxidant activities, total phenolics and flavonoids content in two varieties of Malaysia young ginger

(Zingiber officianle Roscoe). Molecules, 15, 4324-4333.

Leite, L., & Dourado, L., (2013). Laboratory activities, science education and problem-solving skills. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 106, 1677-1686.

Lingkard, K., & Singlaton, V.L., (1977). Totalphenal analysis Automation and comparison with manual method. American Journal of Enology and Viticulture, 28, 49-55.

Melo Filho, A. A., Kamezaki, A.K., Estevam Ribeiro, P.R., Goncalves Reis De Melo, A.C., Montero Fernandez, I., Carvalho Dos Santos, R., Alves Chagas, E. & Cardoso Chagas, P. (2018). Chemical composition, antioxidant and biological activity of leaves Passiflora foetida. Chemical Engineering Transactions, 64, 241-246.

Ojha S., Raj, A., & Roy, S. (2018). Extraction of total phenolics, flavonoids and tannins from Paederia foetida L. leaves and their relation with antioxidant activity. Pharmacognosy Journal, 10(3), 541-547.

Paulraj, J. A., Subharamanian, H., Suriyamoorthy, P., & Kanakasabapathi, D. (2014). Phytochemical screening, GC-MS analysis and enzyme inhibitory activity of Passiflora foetida L. Indo American Journal of Pharmaceutical Research, 3526-3534.

Pham-Huy, L.A., He, H., & Pham-Huy, D. (2008). Free radicals, antioxidants in disease and heath. International Journal of Biomedical Science, 4(2), 89-96.

Pourmorad, F., Hosseinimehr, S.J., & Shahabimajd, N. (2006). Antioxidant activity, phenol and flavonoid contents of some selected Iranian medicinal plants. African Journal of Biotechnology, 5(11), 1142-1145

Revathy, S., & Sunilkumar. T. (2019). Phytochemical and nutritional studies on the fruit pulp extract of Passiflora foetida Linn. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry, 8(4), 732-734.

Sakulpanich, A., & Grissanapan, W. (2008). Extraction method for high content of anthraquinones from Cassia fistula pods. Journal of Health Research, 22(4),

-172.

Sharma, G.N., Dubey, S.K., Sati, N., & Sanadya, J. (2011). Anti-inflammatory activity and total phavonoid content of Aegle marmelos seeds. International Journal of Pharmaceutical Sciences and Drug Research, 3(3), 214-218

Tandoro, Y., Widyawati, P. S., Budianta, T. D. W., & Sumargo, G. (2020). Phytochemical identification and antioxidant activity of Passiflora foetida fruits and leaves extracts: A comparative study. International Journal of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences, 12(6), 55-58.

Trinovita, E., & Fatmaria, F. (2020). Evaluation of gastroprotective activity of Cemot leaves (Passiflora foetida L.) extracted by ultrasonic assisted extraction (UAE) against ethanol-induced gastric lesions in rats. Traditional Medicine Journal, 25(2), 110-117.