ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส-2019 ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

Main Article Content

ปัณณทัต ตันธนปัญญากร
กล้าณรงค์ วงศ์พิทักษ์
กุลภัสร์ชา มาอุ่น
พลอยณญารินทร์ ราวินิจ
อานันตยา ป้องกัน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของบุคลากรทางการแพทย์ ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส-2019 ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจำนวน 264 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถามด้วยรูปแบบออนไลน์ ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความชุกของความเครียดอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ45.5) รองลงมาคือ ความเครียดระดับรุนแรง และระดับปานกลาง (ร้ออยละ 38.6 และ 14.4 ตามลำดับ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของบุคลากรทางการแพทย์ ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส-2019 ได้แก่ เพศ ( = 3.333, df= 1, p=0.004) รายได้ต่อเดือน ( = 5.303, df= 3, p=0.001)  โรคประจำตัว ( = 3.347, df= 1, p<0.001) พฤติกรรมการป้องกันตนเอง ( = 6.615, df= 2, p=0.020) แรงสนับสนุนทางสังคม ( = 2.665, df= 2, p<0.001) ปัจจัยเอื้อต่อภาวะเครียด ( = 2.295, df= 2, p<0.001) และปัจจัยเสริมต่อภาวะเครียด ( = 2.295, df= 1, p<0.001) ผลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการลดความเครียดของบุคลากรทางการแพทย์โดยส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ควรลดความเสี่ยงสำหรับกลุ่มบุคลากรที่มีโรคประจำตัว และส่งเสริมให้การปฏิบัติหน้าที่เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). จำนวนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข สังกัดกรมการแพทย์. นนทบุรี.

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรสัโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(2), 138-148.

จารุวรรณ ประภาสอน. (2564). ความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(38), 469-483.

ชาริณี อิ่มนาง และคณะ. (2564). ความเครียดของบุคลากรด้านวิสัญญีในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในสถานการณ์ที่เกิดการระบาดของโรค Covid-19. ศรีนครินทร์เวชสาร, 36(3), 347-352.

ปภัชญา คุณะเพิ่มศิริ. (2560). การศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล สาเหตุของความเครียด การจัดการความเครียด และผลกระทบของความเครียดที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิผลของพนักงานระดับปฏิบัติการในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วราวุฒิ เกรียงบูรพา. (2564). สภาวะทางจิตใจ กลยุทธ์ในการเผชิญปัญหาและความรู้ของบุคลากรทางการแพทย์ต่อเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควิด-19. บูรพาเวชสาร, 8(1), 56-67.

วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล. (2563). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลนครปฐมในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารแพทย์ เขต 4-5, 39(4), 616-627.

ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019. (2564). สถานการณ์โควิค-19 ในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.moicovid.com.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2541). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. จิตเวชวิทยาสาร, 13(3), 1-20.

เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์ และสิรินรัตน์ แสงศิริรักษ์. (2563). ความเครียดและอารมณ์เศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 65(4), 400-408.

อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ. (2563). ความน่าเชื่อถือของชุดตรวจโควิด-19 แบบรวดเร็วในช่วงต้นของการติดเชื้อ. สืบค้นจาก http://www.tncathai.org/index.php/ncab.

Bloom. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.

Cheng, Z.J. & Shan, J. (2020). 2019 Novel coronavirus: where we are and what we know, Infection, 48(2), 155-163.

Daniel, W.W. (1995). B iostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons.

Green, L.W. & Krueter, M.W. (1991). Health Education Planning: A Diagnostic Approach. California Mayfield Publishing Company.

Liao, L., et al. (2021). Emergency stress management among nurses: A lesson from the COVID-19 outbreak in China-a cross-sectional study. Journal of clinical nursing, 30(3-4), 433-442.

World Health Organization. (2021). WHO Report on COVID-19. Retrieved from https://covid19.who.int?