ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลไผ่ต่ำ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

ปัณณทัต ตันธนปัญญากร
อัษฎาวุฒิ โยธาสุภาพ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง
ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ในตำบลไผ่ต่ำ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 160 คน สุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


                 ผลการศึกษา พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงอยู่ในระดับดี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 71.9) สถานภาพสมรส
(ร้อยละ 63.1) การศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 73.8) โดยมีอายุเฉลี่ย 63.3 ปี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 6,028.9 บาท อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับภาวะไขมันในเส้นเลือด (ร้อยละ 49.4) ทัศนคติเกี่ยวกับภาวะไขมันในเส้นเลือด (ร้อยละ 81.9) และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกัน (ร้อยละ 54.4) เกี่ยวกับภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงอยู่ในระดับปานกลาง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยง (ร้อยละ 73.8) การรับรู้ความรุนแรง (ร้อยละ 88.8) อยู่ในระดับมาก และส่วนใหญ่มีแรงสนับสนุนทางสังคม (ร้อยละ 77.5) อยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง ได้แก่ อายุ น้ำหนัก ความรู้เกี่ยวกับภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดไขมันในเส้นเลือดสูง และแรงสนับสนุนทางสังคม (p -value = 0.003, p -value = 0.048, p -value = 0.022, p -value = 0.034, p -value < 0.001 ตามลำดับ) ผลการศึกษานี้สามารถประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมที่จะช่วยลดระดับไขมันในเลือดและส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดี 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครังที่ 2). สำนักงานพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทิดา ชุ่มวิเศษ. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะไขมันในเลือดของข้าราชการที่มาตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลสันป่าตอง. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 7(1), 25-38

นันธิกา สนแย้ม. (2560). การศึกษาความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง บริษัท ชีวาศรม อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ รีสอร์ท จำกัด. สารนิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นันทวัน ทรัพยประเสริฐดี. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูงของพยาบาลวิชาชีพวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล. ปริญญานิพนธ์. วท.ม. (สุขศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทัชนิดา ทรัพย์กรานนท์. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรพรรณ ทัศนศร, สุมัทนา กลางคาร, และพีรศักดิ์ ผลพฤกษา. (2555). รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพ ในบุคลากรที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน จังหวัด สุรินทร์. วารสารพยาบาลทหารบก, 13(2), 49-59.

วิชัย เอกพลากร. (บก.). (2557) รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สุปราณีย์ ฟูสุวรรณ. (2559). ปัจจัยทำนายระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในชุมชน. วารสารพยาบาลสาร, 43(2), 79 - 89

ยุภา โพผา, ชฏาภา ประเสริฐทรง, และวนิดา ดุรงฤทธิชัย. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน). มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ์

อรทิพย์ เทพทิตย์ และคณะ. (2554). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะไขมันสูงในเลือดของเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 4 ราชบุรี, สืบค้นจาก http://hpc4.anamai.moph.go.th/Articles/abstract/2544/hi%20fat.pdf

อารี บินทปัญญา. (2543). พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงที่มารับบริการแผนกอายุรกรรมผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม (สุขศึกษา) กรุงเทพฯ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bloom. (1971) Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York:McGraw-Hill.

Best, J. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc.

Cronbach, Lee J. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York : McGraw-Hill.

Coughlin, S. S. (2011). Post-traumatic stress disorder and cardiovascular disease. The Open Cardiovascular Medicine Journal, 5, 164-170.

Erem, C., Deger, O., Hacihasanoglu, A., Kocak, M., & Topbas, M. (2008). Prevalence of dyslipidemia and associated risk factors among Turkish adults: Trabzon lipid study. Endocrine, 34, 36-51.

Frohlich, J. J. (1996). Effects on alcohol on plasma lipoprotein metabolism. Clinica Chimica Acta, 246, 39-49.

Rosenstock, Irwin (1974). The health belief model and prevention health behavior. Health education monograph, 2(b). 355-385

National Cholesterol Educational Program. (2004). Implication of recent clinical trials for the national cholesterol education program adult treatment panel III guidelines. Circulation, 110, 227-239.

World Health Organization. (2011). Data and statistics. Retrieved from http://apps.who.int/ ghodata/?vid=2469