การพัฒนาแผ่นแปะผิวหนังจากสารสกัดลูกประคบสมุนไพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผ่นแปะผิวหนังจากสารสกัดลูกประคบสมุนไพรให้สามารถนำไปใช้ได้ง่าย เพิ่มความสะดวกกับผู้บริโภคและเพิ่มมูลค่าลูกประคบสมุนไพร รวมทั้งมีการใช้สารก่อฟิล์มจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการสลายตัวได้ดีและไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง โดยทำการเตรียมและสกัดสารสำคัญจากลูกประคบสมุนไพร จากนั้นนำสารสกัดมาตรวจหาสารสำคัญของสมุนไพรด้วยวิธีโครมาโตกราฟีแบบผิวบาง (Thin Layer Chromatography, TLC) โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานที่พบในสมุนไพรแต่ละชนิดการพัฒนาแผ่นแปะผิวหนังจะใช้โซเดียมอัลจิเนต ที่ได้จากสาหร่ายสีน้ำตาลเป็นสารก่อฟิล์ม ส่วนสารเพิ่มความยืดหยุ่นจะใช้โพรพิลีนไกลคอล ซึ่งการออกแบบสูตรจะทำการทดลองในอัตราส่วนที่หลากหลาย เพื่อให้ได้สูตรตำรับแผ่นแปะที่ดีและเหมาะสมที่สุด จากการศึกษาพบว่าในลูกประคบสมุนไพร 1 ลูก น้ำหนัก 200 กรัม จะได้สารสกัดเอทานอล 16.87 กรัม คิดปริมาณผลผลิตร้อยละ 8.43 และสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบของลูกประคบสมุนไพรสูตรนี้มีองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญที่ได้จากสมุนไพรทุกตัว จากการพัฒนาแผ่นแปะผิวหนังพบว่าสูตรตำรับที่ใช้สารก่อฟิล์ม 5% โดยมวลต่อปริมาตร โพรพิลีน ไกลคอล 7% โดยน้ำหนัก และสารสกัดลูกประคบสมุนไพร 3% โดยน้ำหนัก มีความเหมาะสมในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แผ่นแปะจากสารสกัดลูกประคบสมุนไพร ซึ่งแผ่นแปะที่ได้สามารถลอกออกจากถาดขึ้นรูป แผ่นมีความเรียบและพื้นผิวสม่ำเสมอเมื่อทดสอบความคงตัวของแผ่นแปะที่สภาวะเร่ง พบว่ามีความแตกต่างที่สภาวะเร่งน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับแผ่นแปะที่เตรียมเสร็จใหม่ และทดสอบในสภาวะการเก็บรักษาจริง หลังจากนำไปเก็บไว้ในโถดูดความชื้นเป็นเวลา 2 เดือน พบว่าลักษณะทางกายภาพของแผ่นแปะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2551). สมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ซูฟียา เลาะมะ, ยัสมี โต๊ะรี, ฟาตีมะห์ ดาซอตาราแด, และรัตติภรณ์ บุญทัศน์. (2565). ประสิทธิผลของการใช้ลูกประคบสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดของกลุ่มออฟฟิศซินโดรม ศูนย์การเรียนรู้ด้านการแพทย์วิถีไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ ครั้งที่ 7 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 583-596.
ดวงกมล ศรีราจันทร์, และเตชิษฐ์ ประสิทธิ์วุฒิเวชช์. (2549). การพัฒนาตำรับพญายอสำหรับใช้ภายนอก. หลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ดาราพร พรมแสนปัง, และอมรรัตน์ แสนศิริวงศ์. (2553). การพัฒนาแผ่นแปะแก้ปวดจากสารสกัดลูกประคบสมุนไพร. หลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
เถวียน บัวตุ่ม, สมฤทัย จิตภักดีบดินทร์, และอมราวดี จางวาง. (2549). การศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในรูปแบบแผ่นแปะผิวหนังจากเปคติน. โครงการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา, เครือข่ายการวิจัยภาคใต้ตอนล่าง.
ประณีต โอปณะโสภิต. (2557). ระบบนำส่งยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ และคณะ. (2546). ประสิทธิผลเบื้องต้นของการประคบสมุนไพร. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์แผนไทย.
ปิยะนุช สุวรรณรัตน์, แสงระวี สุทธิปริญญานนท์, และผดุงขวัญ จิตโรภาส. (2557). ผลของสารก่อฟิล์มร่วมและสารเพิ่มความยืดหยุ่นต่อคุณสมบัติทางกายภาพและเชิงกลของแผ่นฟิล์มเนื้อเมล็ดมะขาม.
การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1522-1532.
พรพิมพ์ แซ่เตียว, และสุชีลา บุญจันทร์. (2555). การพัฒนาวิธีการตรวจสอบ Markers ในสารสกัดลูกประคบสมุนไพร. หลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิชิต อู่อ้น. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภกาน ศรีเพ็ชร. (2560). การควบคุมคุณภาพแผ่นแปะผิวหนังนำส่งยา. สืบค้นจาก https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=324
สถาบันการแพทย์แผนไทย. (2538). คู่มือการอบรมการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
Chotikamas, S., Cheenkachorn, K., Wongpanit, B., Tantayotai, P., & Sriariyanun, M. (2018). Chemical profiling analysis and identification the bioactivities of herbal compress extracts. MATEC Web of Conferences 187(2018), 01001.
Jani, G. K., Shah, D. P., Prajapati, V. D., & Jain, V. C. (2009). Gums and mucilages: versatile excipients for pharmaceutical formulations. Asian J Pharm Sci, 4(5), 309-323.
Ngohcharoen, M. S. (2001). Development and evaluation of Ketoprofen transdermal patch (Doctoral dissertation, Chulalongkorn University).
Panakkal, E. J., Tantayotai, P., Adediran, A. A., Phusantisampan, T., & Sriariyanun, M. (2021). Chemical Profiles of Herbal Compress and Their Persistence Affected by Steaming and Storage Time. Journal of Chemistry, 2021, 1-10.