ประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักจากมูลวัวและมูลแพะต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ของผักกาดกวางตุ้งฮ่องเต้

Main Article Content

ชินกร จิรขจรจริตกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของการใช้ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลวัวและมูลแพะเปรียบเทียบกับปุ๋ยยูรียต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของผักกาดกวางตุ้งฮ่องเต้ (Brassica chinensis L. var. chinensis Mansf) ที่ปลูกในกระถาง โดยได้รับปุ๋ยน้ำหมักจากมูลวัวและมูลแพะโดยให้ปุ๋ย 4 กรรมวิธี คือ 1. ไม่ใส่ปุ๋ย(ชุดควบคุม) 2. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 30 กรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร 3. ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลวัว  30 มิลลิลิตรต่อ   น้ำ 20  ลิตร และ 4. ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลแพะ 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20  ลิตร นำไปรด 500 มิลลิลิตรต่อกระถางทุก ๆ 7 วัน วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ทำการทดลองทั้งหมด 4 กรรมวิธี (Treatment) กรรมวิธีละ 4 ซ้ำๆ ละ 5 กระถาง ทั้งหมด 80 ต้น ผลการทดลอง พบว่า การให้ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลวัว ให้ผลดีกว่าการให้ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลแพะ แต่ยังคงมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการให้ปุ๋ยยูเรีย ที่อายุ 56 วัน หลังหยอดเมล็ดปลูก มีความสูง 20.94 เซนติเมตร ความกว้างทรงพุ่ม 23.82 เซนติเมตร มีจำนวนใบ 14.20 ใบต่อต้น ปริมาณคลอโรฟิลล์  44.88 SPAD-Reading น้ำหนักต้นสด 59.28 กรัมต่อต้น น้ำหนักต้นแห้ง 3.85 กรัมต่อต้น น้ำหนักรากสด น้ำหนักรากแห้ง 11.17 และ 1.82 กรัมต่อต้น โดยการให้ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลวัว ให้ผลดีกว่าการให้ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลแพะ อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.05) โดยการให้ปุ๋ยน้ำหมักจากมูลวัว มีผลให้ผักกาดกวางตุ้งฮ่องเต้ มีความสูง 18.17 เซนติเมตร ความกว้างทรงพุ่ม 19.30 เซนติเมตร มีจำนวนใบ 11.00 ใบต่อต้น น้ำหนักต้นสด 20.74 กรัมต่อต้น น้ำหนักต้นแห้ง 1.74 กรัมต่อต้น น้ำหนักรากสด น้ำหนักรากแห้ง 5.00 และ 0.76 กรัมต่อต้น ตามลำดับ และปริมาณคลอโรฟิลล์  40.55 SPAD-Reading  ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้น การใช้ปุ๋ยน้ำหมักมูลวัวสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตผักประเภทกินใบได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (2549). คู่มือปุ๋ยอินทรีย์ (ฉบับผู้บริหาร). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คริษฐ์สพล หนูพรหม, อมรรัตน์ ชุมทอง, พงษ์ศักดิ์ มานสุริวงศ์, และฝนทิพย์ ทองนุ้ย. (2560). ผลของมูลโคและน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของบร็อคโคลี. วารสารวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี, 25(4), 627-638.

จุไรรัตน์ คุรุโคตร. (2554). การทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการเกษตรปลอดสารพิษ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(1), 561-568.

ทัพไท หน่อสุวรรณ, กุหลาบ อุตสุข, ฐากูร ปัญญาใส, ฐานิต ศาลติกุลนุการ, รัตนาภรณ์ ใจมา, พงศกร ศุภกิจไพศาล, เอกชัย ใยพิมล, วิภาวี สุรินทร์เซ็ง, ณัทธ์ชวัล เจริญเลิศธนกิจ, และเทวินทร์แก้วเมืองมูล. (2565). การเกษตรในเมืองกับ BCG Economic Model Urban Agriculture and BCG Economic Model. Journal of Agri. Research & Extension, 38(3), 100-116.

บัญชา รัตนีทู. (2555). ปุ๋ยอินทรีย์กับการปรับปรุงดินเสื่อมคุณภาพ. Princess of Naradhiwas University

Journal, 4(2), 115-127.

บัญชา รัตนีทู. (2556). ผลของน้ำสกัดชีวภาพจากมูลวัวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดเขียวกวางตุ้งที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์. Princess of Naradhiwas University Journal, 5(2), 76-82.

เพชรดา อยู่สุข, ศิวาพร ธรรมดี, พชิญา บุญประสมพูลลาภ, และดนัย บุณยเกียรต. (2561). ผลของการลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศต่อคุณภาพของผักกาดฮ่องเต้อินทรีย์ที่ปลูกและเก็บเกี่ยวในฤดูแล้ง. วารสารเกษตร, 34(1), 11-20.

ยุทธนา พลศร, และศิริวรรณ แดงฉ่ำ. (2565). ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพน้ำสกัดจากมูลสัตว์ต่อการ เจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัดกรีนโอ๊คในระบบในโดรโพนิกส์. วิทยาศาสตร์และการจัดการ, 5(1), 27-33.

เสรี เลาเทาะ, และปริญญาวดี ศรีตนทิพย. (2557). การศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจนที่มีต่อการเจริญเติบโตความเขียวของใบและผลผลิตส่วนที่บริโภคได้ของผักเชียงดา. แก่นเกษตร 42(3), 789-794.

อานัฐ ตันโช. (2556). เกษตรธรรมชาติประยุกต์ 2556: หลักการ แนวคิด เทคนิคปฏิบัติในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์ทรีโอแอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย. เชียงใหม่.

Asami, D. K., Hong, Y. J., Barrett, D. M., & Mitchell, A. E. (2003). Comparison of the total phenolic and ascorbic acid content of freeze-dried and air-dried marionberry, strawberry, and corn grown using conventional, organic, and sustainable agricultural practices. Journal of Agricultural and food chemistry, 51(5), 1237-1241.

Buckland, K., Reeve, J. R., Alston, D., Nischwitz, C., & Drost, D. (2013). Effects of nitrogen fertility and crop rotation on onion growth and yield, thrips densities, Iris yellow spot virus, and soil properties. Agriculture, ecosystems & environment, 177, 63-74.

Butay, J. S. (2018). Growth and yield performance of lettuce (Lactuca sativa L.) applied with different concentrations of fermented goat manure as Bio-fertilizer. Journal of Biodiversity and Environmental Sciences (JBES), 13(1), 269-277.

Detpiratmongkol, S., Ubolkerd, T., & Yoosukyingstaporn, S. (2014). Effects of Chicken Pig and cow manures on growth and yield of Kalmegh (Andrographis paniculata ees). Journal of Agricultural Technology, 10(2), 475-482.

Kipkosgei, L. K., Akundabweni, L. S. M., & Hutchinson, M. J. (2003). The effect of farmyard manure and nitrogen fertilizer on vegetative growth, leaf yield and quality attributes of Solanum villosum (Black nightshade) in Keiyo district, rift valley. African Crop Science Conference Proceedings, 6, 514-518.