การดูดซับตะกั่ว (II) และสังกะสี (II) ไอออนในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยถ่านกัมมันต์ ที่ได้จากเปลือกและเมล็ดมะขาม

Main Article Content

เอื้อมพร รัตนสิงห์
โชคชัย แจ่มอำพร
อภิชาติ จิณแพทย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการสังเคราะห์ถ่านกัมมันต์จากเปลือกและเมล็ดมะขามด้วยวิธีการกระตุ้นทางเคมีและกระบวนการคาร์บอไนซ์  โดยนำเปลือกและเมล็ดมะขามที่มีค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นเท่ากับ 11.69 และ 7.20 มาเผาที่  400 องศาเซียลเซล เป็นเวลา  2 ชั่วโมง พบว่า ค่าเปอร์เซ็นต์ถ่านเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ  37.29 และ  31.37 ตามลำดับ จากนั้นกระตุ้นด้วยกรด H3PO4 และเผาที่  500 และ  600 องศาเซียลเซล เป็นเวลา  2 ชั่วโมง พบว่า ถ่านกัมมันต์ทั้ง 4 ชนิด ที่สังเคราะห์ได้ประกอบด้วย เปลือกมะขามเผาที่  500 องศาเซียลเซล  (AC-1)  เปลือกมะขามเผาที่  600 องศาเซียลเซล  (AC-2)  เมล็ดมะขามเผาที่  500 องศาเซียลเซล  (AC-3) และเมล็ดมะขามเผาที่  600 องศาเซียลเซล  (AC-4)  มีค่าร้อยละเท่ากับ  28.77,  27.16,  28.68 และ  28.00 ตามลำดับ แล้วนำมาหาค่าการดูดซับไอโอดีน (Iodine Number) พบว่า ถ่านกัมมันต์ AC-3 และ AC-4  มีค่าการดูดซับไอโอดีนมากกว่า  600 mg/g  (643 และ 717 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ)  จากนั้นนำถ่านกัมมันต์ทั้ง  4 ชนิด มาศึกษาการดูดซับตะกั่ว (II) และสังกะสี (II) ไอออนในน้ำเสียสังเคราะห์ พบว่า ถ่านกัมมันต์ชนิด AC-2, AC-3 และ AC-4 มีประสิทธิภาพในการดูดซับตะกั่ว (II) ไอออนได้ใกล้เคียงกันทุกความเข้มข้น  และถ่านกัมมันต์ชนิด AC-4 มีประสิทธิภาพในการดูดซับสังกะสี (II) ไอออนได้มากที่สุด รองลงมาเป็นถ่านกัมมันต์ชนิด AC-3 AC-2  และ AC-1 ตามลำดับ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ พบว่า ถ่านกัมมันต์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการดูดซับตะกั่ว (II) และสังกะสี (II) ไอออนในน้ำเสียสังเคราะห์ คือ ถ่านกัมมันต์ (AC-4) ที่ได้จากเมล็ดมะขามที่ถูกกระตุ้นด้วยกรด H3PO4 และเผาที่อุณหภูมิ 600 องศาเซียลเซล เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และถ่านกัมมันต์ 
AC-3 และ AC-4  ใช้เป็นถ่านกัมมันต์ชนิดผงในระดับอุตสาหกรรมได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). รายงานสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพฯ: หจก.ส.มงคลการพิมพ์.

กองทัพอากาศ. (2563). ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563). กรุงเทพฯ: กองทัพอากาศ.

คณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. (2558). แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. กรุงเทพฯ: สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ.

จักริน นักไร่. (2549). การกำจัดสีจากน้ำชะขยะมูลฝอยโดยใช้ถ่านกัมมันต์จากเมล็ดมะขาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณิชนันท์ คำนวณสินธุ์, สมชาย มณีวรรณ, และอนุสรณ์ วรสิงห์. (2551). การผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือก มะขามเพื่อนำปประยุกต์ใช้เป็นตัวกรองอากาศในโรงเรียนอุตสาหกรรมพ่นสีรถยนต์. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์งบประมาณรายได้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีงบประมาณ 2551. พิษณุโลก.

ธัญญาลักษณ์ เกียรติธนาสกุล. (2552). การเตรียมถ่านกัมมันต์จากเปลือกไม้ยูคาลิปตัสด้วยวิธีทางกายภาพเพื่อกำจัดตะกั่ว (II). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 900-2547 ถ่านกัมมันต์. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

อภิปรียา คงสุวรรณ์. (2552). การคืนสภาพทองแดงจากสารละลายผสมของทองแดงและตะกั่ว (II). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Jutakridsada P., Prajaksud C., Kuboonya-Aruk L., Theerakulpisut S., & Kamwilaisak. K. (2016). Adsorption characteristics of activated carbon prepared from spent ground coffee. Clean Technologies and Environmental Policy, 18, 639-645.

Nguyen T.A.H., Ngo H.H., Guo W.S., Zhang J., Liang S., Yue Q.Y., & Nguyen T.V. (2013). Applicability of agricultural waste and by-products for adsorptive removal of heavy metals from wastewater. Bioresource Technology, 148, 574-585.

Muzenda E., Kabuba J., Ntuli F., Mollagee M., & Mulaba A.F. (2011). Cu (II) removal from synthetic waste water by ion exchange process. Proceedings of the World Congress on Engineering and Computer Science 2011, 19-21 october 2011 University of California, San Francisco: Newswood Limited.

Suhas, P.J.M. C., & Ribeiro M.M.L. C. (2007). Lignin-from natural adsorbent to activates carbon: A review. Bioresource Technology, 98(12), 2301-2312.