ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 4 ปี โรงพยาบาลบางปะหัน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ปกครองเด็กอายุ 0–4 ปี ในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของเด็กอายุ 0–4 ปี ที่มาใช้บริการ ณ กลุ่มงานปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลบางปะหัน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 59 คน ที่มาใช้บริการเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ.2565 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แบบสอบถามทัศนคติที่มีต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 และแบบสอบถามการตัดสินใจของผู้ปกครองเด็กอายุ 0–4 ปี ในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.944 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-4 ปี มีความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ100.0 มีทัศนคติอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100.0 และมีการตัดสินใจให้เด็กอายุ 0–4 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อยู่ในระดับสูง
ร้อยละ 100.0 ปัจจัยส่วนบุคคลด้านความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเด็กมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ปกครองเด็กอายุ 0–4 ปี ในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ปกครองเด็กอายุ 0–4 ปี ในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ซึ่งความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเด็กคือผู้ปกครองที่เป็นผู้ดูแลเด็กและทัศนคติในระดับสูงเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจให้เด็กฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยจึงเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับประโยชน์ของวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มผู้ปกครองที่เป็นผู้ดูแลเด็ก เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันการป่วยรุนแรงให้เด็กต่อไป
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมควบคุมโรค. (2565). รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/pages/94-19.
กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19. สืบค้นจาก
https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/1620107182946.pdf.
ขนิษฐา ชื่นใจ, และบุฏกา ปัณฑุรอัมพร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (Covid-19) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ของสาขาวิชาบริหารธุรกิจการเงินการ ธนาคารรามคำแหง, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.
ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอบางปะหัน. (2565). สถานการณ์ COVID-19 อำเภอบางปะหัน. สืบค้นจาก https://ms-my.facebook.com/permalink.php?story_fbid=373211684585693&id=119755083264689.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐ. (2565). COVID-19 Vaccines for Children and Teens. สืบค้นจาก https://www.cdc.gov/coronavirus/2019ncov/vaccines/recommendations/children-teens.html.
เสน่ห์ เจียสกุล. (2565). เด็กกับโรคโควิด-19. สืบค้นจาก https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail.
Best, J. W. (1978). Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.
Bloom, B. S., Hastings, T., & Madaus, G. F. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.
Yamane, T. (1970). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd Ed). New York: Harper and Row.