ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้พืชกระท่อม ของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านกระแชง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ปัณณทัต ตันธนปัญญากร
ทัศนพรรณ เวชศาสตร์
นลพรรณ ขันติกุลานนท์
ศศิวิมล จันทร์มาลี
อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้พืชกระท่อม (Mitragyna speciosa (Korth.) Havil.) ของประชาชน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั้งเพศชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านกระแชง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 689 ราย คัดเลือกตัวอย่างโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถาม โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบลอจิสติค ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับพืชกระท่อมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 55.1) ทัศนคติต่อการใช้พืชกระท่อมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 66.0) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 59.9) และความเสี่ยงต่อการใช้พืชกระท่อมโดยใช้แบบประเมิน ASSIST อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 89.7) นอกจากนี้ความชุกของการใช้พืชกระท่อมของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 23.2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้พืชกระท่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศชาย (AOR= 2.98, 95% CI= 1.55-4.74, p=0.007) อายุ 25-59 ปี (AOR= 2.81, 95% CI= 1.16-6.76, p=0.021) ความรู้เกี่ยวกับพืชกระท่อม (AOR= 2.04, 95% CI= 1.06-3.98, p=0.007) ทัศนคติต่อการใช้พืชกระท่อม (AOR= 1.62, 95% CI= 1.06-2.94, p=0.030) และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (AOR= 2.89, 95% CI= 1.40-5.95, p=0.004) ผลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการป้องกัน และควบคุมในการใช้พืชกระท่อมให้เหมาะสมและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อร่างกาย จิตใจ ใช้เป็นข้อมูลเพื่อออกมาตรการ ข้อกำหนดทางสังคมเกี่ยวกับลดการใช้พืชน้ำกระท่อมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติวงค์ สาสวด. (2559). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่เทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารชุมชนวิจัย, 10(1), 116-124.

กิตติศักดิ์ เหมือนดาว. (2564). การทดสอบทางพฤษเคมีของพืชกระท่อมและการแยกไมทราไจนีนจากใบกระท่อมเพื่อใช้เป็นสาร มาตรฐาน และการศึกษาความเข้าใจและทัศนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อการถอดพืชกระท่อมออกจาก บัญชียาเสพติดประเภทที่ 5. มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

เครือข่ายพัฒนาวิชาการและข้อมูลสารเสพติด. (2562). รายงานผลการสำรวจครัวเรือนเพื่อคาดจำนวนประชากรผู้ใช้สารเสพติดของประเทศไทย ปี 2562. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เฉลิมชัย นาคคำ. (2560). การแพร่ระบาดของยาเสพติดประเภทใบพืชกระท่อมในชุมชนบ้านยาว หมู่ที่ 1 ตำบลราตาปันยัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.

ดาริกา ใสงาม (2564). แบบแผนการใช้พืชกระท่อมเป็นสารทดแทนในกลุ่มผู้ใชเ้ฮโรอีน ในจังหวัดสงขลา: การศึกษาระยะติดตามกลุ่มตัวอย่าง. ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ธนัช นาคะพันธ์. (2560). การศึกษาการใช้ประโยชน์จากกระท่อมในการรักษาโรคของหมอพื้นบ้านภาคใต้. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 14(3), 274-285.

ศุภกิตติ์ เลขวิจิตร์, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, พงศ์ประสิทธิ์ อ่อนจันทร์, และบุญยิ่ง ประทุม. (2563). พฤติกรรมของเยาวชนที่เสพติดน้ำกระท่อม: กรณีศึกษากลุ่มเยาวชนกลุ่มหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 3(1), 16-29.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย และนพพร ตันติรังสี. (2554). แบบคัดกรอง ASSIST V3.1. แผนงานวิชาการสารเสพติดชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข. (2564). กฎหมายเกี่ยวกับการใช้กระท่อม. สืบค้นจาก https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=6063.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกระแชง. (2565). สถิติจำนวนประชากรตำบลกระแชง. ปทุมธานี.

Assanangkornchai, S., Sainamg, D. (2020). Kratom in Local Traditional used. Summary of Kratom Plant, Centre for Addiction Studies. Songkhla.

Ahmad, K., Aziz, Z. (2012). Mitragyna speciosa use in the northern states of Malaysia: a cross-sectional study. J Ethnopharmacol, 141(1), 446-550.

Bloom, B.S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.

Best, J.W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall Inc.

Charoenratana, S. (2019). Kratom Plant and Thai Society. ONCB Journal, 35(1), 6–10.

Charoenratana, S., Anukul, C., Aramrattan, A. (2021). Attitudes towards Kratom use, decriminalization and the development of a community-based Kratom control mechanism in Southern Thailand. International Journal of Drug Policy, 95, 103197.

Daniel, W.W. (1995). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons.

Eastlack, S.C., Cornett, E.M., Kaye, A.D. (2020). Kratom-Pharmacology, Clinical Implications, and Outlook: A Comprehensive Review. Pain Ther, 9(1), 55-69.

Grundmann, O., Veltri, C.A., Morcos, D., Knightes, D., Smith, K.E., Singh D, et al. (2022). Exploring the self-reported motivations of kratom (Mitragyna speciosa Korth.) use: a cross-sectional investigation. Am J Drug Alcohol Abuse, 48(4), 433-444.

Grundmann, R. (2017). The Problem of Expertise in Knowledge Societies. Minerva, 55(1), 25-48.

Prozialeck, W.C., Avery, B.A., Boyer, E.W., Grundmann, O., Henningfield, J.E., Kruegel, A.C., et al. (2019). Kratom policy: The challenge of balancing therapeutic potential with public safety. International Journal of Drug Policy, 70, 70–77.

Schwartz, N.E. (1975). Nutritional knowledge, attitudes, and practices of high school graduates. J Am Diet Assoc, 66(1), 28-31.

Swogger, M.T., Smith, K.E., Garcia-Romeu, A., Grundmann, O., Veltri, C.A., Henningfield, J.E., et al. (2022). Understanding Kratom Use: A Guide for Healthcare Providers. Frontiers in Pharmacology, 13, 801855.

Talek, M., Cottler, L.B., Wichaidit, W., Assanangkornchai, S. (2021). Patterns of Kratom Use among Male Drug Users in the Deep South of Thailand. Thai Journal of Public Health, 51(1), 16-22.

WHO. (2002). The Alcohol, Smoking and Substance Involvement Screening Test (ASSIST): development, reliability and feasibility. Addiction, 97(9), 1183-1194.