ระบบติดตามคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาในกระชังด้วยเทคโนโลยี NB-IoT โดยใช้ดัชนีวัดทางกายภาพ

Main Article Content

พิมรินทร์ คีรินทร์
เสกสรรค์ ศิวิลัย
อรอุมา พร้าโมต

บทคัดย่อ

               ระบบติดตามคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาในกระชังด้วยเทคโนโลยี NB-IoT โดยใช้ดัชนีวัดทางกายภาพ การทำงานของระบบใช้แหล่งพลังงานจากแผงโซล่าเซลล์ขนาดเล็กจ่ายไฟฟ้าไปยังบอร์ด NB-IoT เพื่ออ่านค่าจากเซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพน้ำ จำนวน 6 ค่า ได้แก่ ค่าอุณภูมิน้ำ ค่าความเป็นกรดด่าง ค่าออกซิเจนละลายน้ำ ค่าความนำไฟฟ้า ค่าความขุ่นใส และระดับน้ำ การจัดเก็บข้อมูลส่งค่าผ่านระบบ AIS Magellan แสดงผลคุณภาพน้ำผ่านทางเว็บแอปพลิเคชันและสามารถเรียกดูผลย้อนหลัง อีกทั้งยังแจ้งผลการตรวจวัดค่าคุณภาพน้ำประจำวันผ่านทาง LINE Notify ในการประเมินประสิทธิภาพของระบบใช้วิธีการเปรียบเทียบความแตกต่างการตรวจวัดค่าระหว่างระบบที่พัฒนากับผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ค่าทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ


            ผลจากการวิจัยพบว่า ระบบติดตามคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาในกระชังด้วยเทคโนโลยี NB-IoT โดยใช้ดัชนีวัดทางกายภาพสามารถตรวจวัดและแสดงผลได้ ประเมินประสิทธิภาพของระบบเมื่อเปรียบเทียบค่าความแตกต่าง พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจากการทดสอบใช้งานจริงพบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้เป็นแนวทางการประเมินเบื้องต้นได้ ซึ่งมีความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบมีค่าเท่ากับ 4.46 ซึ่งอยู่ในระดับมาก  

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2553). คู่มือการเลี้ยงปลาในกระชังที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. กรมควบคุมมลพิษ, กรุงเทพฯ.

ชัดชัย แก้วตา, ชัชวาล ขันติคเชนชาติ, และยุทธศักดิ์ ทองแสน. (2561). การพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวเพื่อ ตรวจวัดคุณภาพน้ำผ่าน ระบบเครือข่ายระยะไกลแบบอัตโนมัติ. วารสารวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 30(3), 73-89.

จิรเดช ศรีพรงาม, สุธีรา พึ่งสวัสดิ์, ณัฐพร นันทจิระพงศ์, และศิลา เต็มศิริฤกษ์กุล. (2563). แพลตฟอร์มการส่ง สัญญาณขอความ ช่วยเหลือภายในโดยใช้เทคโนโลยี Narrowband-Internet of Thing (NB-IoT). ว.วิทย. เทคโน. หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 6(1), 27-37.

จันทนา ปัญญาวราภรณ์, ธีระพัฒน์ หายเคราะห์, ณัฐพล นิจชิน, และสวิชญ์ กิจพาณิชย์เจริญ. (2564). ระบบติดตามและประเมินคุณภาพน้ำบนพื้นฐาน IoT. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม: เทพสตรี I-TECH, 16(2), 87-96.

นฤมล นาคมี, อารีระ ภัคมาตร์, พิสิษฐ์ ศรีกัลยานิวาท, เดชา งานนิกุลชลิน, อนุภาพ ทิพย์นพคุณ, และสุขสมาน สังโยคะ. (2560). ผลกระทบจากการเลี้ยงปลาในกระชังต่อคุณภาพน้ำในลำน้ำน่าน จังหวัด พิษณุโลก. Life Sciences and Environment Journal, 12(2), 18–31.

พรวนา รัตนชูโชค. (2562). การพัฒนาระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยใช้ IoT เพื่อติดตามคุณภาพน้ำผ่านแอปพลิเคชัน. วารสารศรีประทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11,78-92.

พันธ์ทิพย์ กล่อมเจ๊ก และเดชา นาวานุเคราะห์. (2556). คุณภาพน้ำบริเวณพื้นที่เลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก. แก่นเกษตร, 41(4), 445-456.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์นพนิดา

สาธิต บ้านใหม่, อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา, และ ไพศาล สิมาเลาเต่า. (2565). การพัฒนาต้นแบบระบบแจ้งเตือนระดับน้ำในแหล่งน้ำบนแผนที่ภูมิศาสตร์ร่วมกับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. การประชุมวิชาการ ระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, วันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์. 841-851.

สำนักงานประมงจังหวัดพิษณุโลก. (2564). การขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผู้ประกอบการด้านการประมง. สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/fpo-phitsanulok

Thongleam, T., Cheunta, W., Dinsakul, H. and Charernpun, B. (2014). Automatic Water Quality Measurement and Processing for Krachang-Taptim Fish. ECTI-CARD Processings 2014, 21-23 May 2014 at Rajamangala University of Technology Lanna Chiang Mai, 1-4.

Mamun, K. A., F. R. Islam, R. Haque, M. G. M. Khan, A. N. Prasad, H. Haqva, R. R. Mudliar, and F. S. Mani. (2019). Smart Water Quality Monitoring System Design and KPIs Analysis: Case Sites of Fiji Surface Water. Sustainability, 11(24), 7110.