การใช้ไบโอชาร์ปรับปรุงดินทรายจัดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ไบโอชาร์ปรับปรุงสมบัติของดินทราย และเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ไบโอชาร์ในการศึกษาครั้งนี้
ผลิตจากเศษข้าวโพด ผลการวิเคราะห์สมบัติพบว่า มีพื้นที่ผิว และรูพรุน 103.14 ตารางเมตร/กรัม มีค่าความเป็นกรดด่าง 7.69 มีค่าการแลกเปลี่ยนประจุบวก 56.14 เซ็นติโมล/กิโลกรัม โพแทสเซียมที่ใช้ได้ 21,146 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ปริมาณฟอสฟอรัสที่นำไปใช้ได้ 440 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีปริมาณคาร์บอน 55.11 %
การวิเคราะห์สมบัติของดิน พบว่า เป็นดินประเภทดินทรายจัด มีค่าความหนาแน่นรวม 1.51 กรัม/ลบ.ซม. ค่าความหนาแน่นของอนุภาคดิน 2.58 กรัม/ลบ.ซม และมีค่าความพรุนประมาณ 47 % มีค่าการแลกเปลี่ยนประจุบวกต่ำ เป็นกรดเล็กน้อย อินทรียวัตถุ และธาตุอาหารต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ การใช้ไบโอชาร์ปรับปรุงดินด้วยการผสมในอัตราส่วน 1,000 กิโลกรัม/ไร่ และเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่ปรับปรุงดินพบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าการนำไฟฟ้า ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และ แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน สูงกว่าดินแปลงควบคุม ผลการทดลองเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบว่า ไบโอชาร์สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ โดยผลผลิตเฉลี่ยของแปลงทดลองจำนวน 3 แปลงที่ปรับปรุงดินด้วยไบโอชาร์ในอัตราส่วน 1,000 กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ยที่ 52.6 กิโลกรัม มากกว่าค่าเฉลี่ยแปลงทดลองที่ไม่มีการปรับปรุงดินซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ยทั้ง 3 แปลงปริมาณ 46 กิโลกรัม ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มทดลองด้วย t-test พบว่า ทั้งสองกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการทดลองครั้งนี้จึงสามารถทำให้สรุปได้ว่า ไบโอชาร์ที่ผลิตจากเศษเหลือทิ้งของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน และสามารถปรับปรุงคุณสมบัติของดินให้เหมาะสมกับการเกษตร
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กัญจน์นรี ช่วงฉ่ำ. (2555). กลไกทางกายภาพ และ เคมี ของสารปรับปรุงบำรุงดินถ่านชีวมวลจากเศษวัสดุเหลือทิ้งข้าวโพดที่มีผลต่อผลผลิตและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในไร่ข้าวโพด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กรมพัฒนาที่ดิน. (2561). การจัดการพื้นที่ดินทราย. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมพัฒนาที่ดิน. (2540). การจัดการดินและพืชเพื่อปรับปรุงดินอินทรียวัตถุต่ำ. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
รัตถชล อ่างมณี. (2561). การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ดินทรายจัดด้วยเพอร์ไลต์ที่ปรับสภาพด้วยความร้อนและไบโอชาร์. ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
เอิบ เขียวรื่นรมย์. (2533). ดินของประเทศไทย ลักษณะ การกระจาย และการใช้. ภาควิชาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน. (2553). เอกสารวิชาการ เรื่อง ความเสื่อมโทรมของที่ดิน และการจัดการแก้ไข. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์บุรี บุญสมภพพันธ์. (2531). ดินทราย. วารสารพัฒนาที่ดิน, 25, 19-23.
Abel, S., Peters, A., Trinks, S., Schonsky, H., Facklam, M., & Wessolek, G. (2013). Impact of biochar and hydrochar addition on water retention and water repellency of sandy soil. Geoderma, 202, 183-191.
Asai, H., Samson, B. K., Stephan, H. M., Songyikhangsuthor, K., Homma, K., Kiyono, Y., & Horie, T. (2009). Biochar amendment techniques for upland rice production in Northern Laos: 1. Soil physical properties. leaf SPAD and grain yield. Field Crops Research, 111(1–2), 81-84.
Borchard, N., Wolf, A., Laabs, V., Aeckersberg, R., Scherer, H. W., Moeller, A., & Amelung, W. (2012). Physical activation of biochar and its meaning for soil fertility and nutrient leaching - a greenhouse experiment. Soil Use and Management, 28(2), 177-184.
Cao, X., & Harris, W. (2010). Properties of dairy-manure-derived biochar pertinent to its potential use in remediation. Bioresource Technology, 101(14), 5222-5228.
Eykelbosh, A. J., Johnson, M. S., de Queiroz, E. S., Dalmagro, H. J., & Couto, E. G. (2014). Biochar from Sugarcane Filtercake Reduces Soil CO2 Emissions Relative to Raw Residue and Improves Water Retention and Nutrient Availability in a Highly-Weathered Tropical Soil. PLoS ONE, 9(6).
Fang, Y., Singh, B., Singh, B. P., & Krull, E. (2014) . Biochar carbon stability in four contrasting soils. European Journal of Soil Science, 65(1), 60-71.
Farrell, M., Macdonald, L. M., Butler, G., Chirino-Valle, I., & Condron, L. M. (2014) . Biochar and fertiliser applications influence phosphorus fractionation and wheat yield. Biology and Fertility of Soils, 50(1), 169-178.
Glaser, B., Haumaier, L., Guggenberger, G., & Zech, W. (2001). The 'Terra Preta' phenomenon: a model for sustainable agriculture in the humid tropics. Naturwissenschaften, 88(1), 37-41.
Kumar Mishra, R., Jaya Prasanna Kumar, D., Narula, A., Minnat Chistie, S., & Ullhas Naik, S. (2023). Production and beneficial impact of biochar for environmental application: A review on types of feedstocks, chemical compositions, operating parameters, techno-economic study, and life cycle assessment. Fuel, 343, 127968.
Lehmann, J., Gaunt, J., & Rondon, M. (2006). Bio-char Sequestration in Terrestrial Ecosystems – A Review. Mitigation and Adaptation Strategies for Global Change, 11(2), 395-419.
Spokas, K. A., Novak, J. M., & Venterea, R. T. (2012). Biochar's role as an alternative N-fertilizer: ammonia capture. Plant and Soil, 350(1-2), 35-42.
Zhao, X.-r., Li, D., Kong, J., & Lin, Q.-m. (2014). Does Biochar Addition Influence the Change Points of Soil Phosphorus Leaching?. Journal of Integrative Agriculture, 13(3), 499-506.