การออกแบบระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับกล้องวงจรปิดด้วยทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม กรณีศึกษาพื้นที่เกษตรสวนมังคุด จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

อรุณรักษ์ ตันพานิช
คฑาวุธ ชุมขวัญ
ศุภกร แก้วละเอียด
อรสา มั่งสกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อประเมินความต้องการสำหรับการออกแบบระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับกล้องวงจรปิด ด้วยทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม  โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน 51 คน สำหรับสถิติที่ใช้ประกอบด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีลำดับความสำคัญจำเป็น (PNI Modified)  ผลการวิจัยพบว่าผลประเมินความต้องการสำหรับพัฒนากล้องวงจรปิดพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับพื้นที่เกษตรพบว่ามีความต้องการด้านเทคโนโลยีกล้องวงจรปิดภายในพื้นที่ สวนมังคุดอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.40, S.D. = .064) ซึ่งกล้องวงจรปิดพลังงานแสงอาทิตย์ต้องบันทึกวีดีโอตลอดทั้งกลางวันและกลางคืนและพลังงานสำรองภายแบตเตอรี่ในเวลาแสงน้อย
หรือเวลากลางคืน ผู้วิจัยได้พัฒนากล้องวงจรปิดพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 12 โวลต์ 10 วัตต์ จัดเก็บพลังงานผ่านคอนโทรลชาร์จเจอร์ในแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมขนาด 12 โวลต์ กระแสไม่ต่ำกว่า 20 แอมแปร์-ชั่วโมง เพื่อให้กล้องวงจรปิดบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งสำหรับสังเกตการในพื้นที่ทางการเกษตรที่ห่างไกลระบบส่งจ่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองพัน อารีรักษ์, และปทุมพร วงค์ใหญ่. (2560). กล่องควบคุมพลังงานแสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงสำหรับแปลงเกษตรกรรม. กองทุนนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดดาฯ สยามบรมราชกุมารี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

โซล่า โซลูชั่น. (2563). ศัพท์ทางเทคนิค ที่เกี่ยวข้องกับระบบโซล่าเซลล์ (ปรับปรุง ปี 2563) หัวข้อที่ 1. สืบค้นจาก https://www.solarhub.co.th/solar-solutions/ 486-technical-term-2020-ep1

ณิชาภัทร วิสุทธิปราณี. (2560). แนวทางการจัดการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

บัญชา หิรัญสิงห์, เฉลิมชนม์ ตั้งวิชรพันธ์, และโยษิตา เจริญศิริ. (2565) . การออกแบบอินเวอร์เตอร์แหล่งจ่ายอิมพีแดนซ์แบบสองอินพุตสำหรับแหล่งจ่ายพลังงานทดแทน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 17(2), 141-155.

โรเบิร์ต บอช จีเอ็มบีเอช. (2560). ระบบกล้องวงจรปิดและตรวจสอบใบหน้า. อนุสิทธิบัตรประเทศไทย, อนุสิทธิบัตรเลขที่ 7921 (1203001494): มีนาคม 23, 2560.

วิเชียร หทัยรัตน์ศิริ, สุวัฒน์กิจเจริญวัฒน์, และสายชล ชุดเจือจีน. (2561). วงจรคอนเวอร์เรโซแนนซ์แบบสองทิศทางด้วยการควบคุมแรงดันแบบปรับดิวตี้ไซเคิลสำหรับกล้องวงจรปิดพลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, 12(1), 64-76.

ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล, และกฤษณะ จันทสิทธิ์. (2564). ระบบสาธิตผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับชุมชนฐานรากระดับครัวเรือน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(1), 87-102.

สมชาย เจียจิตต์สวัสดิ์, และณัฐวงศ์ โพธิ์ศุภานันท์. (2565). การทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับแบตเตอรี่ไฮบริด. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ ประจำปี 2565, หน้า 81-87.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2562). ฐานข้อมูลเกษตรรายสินค้า พ.ศ. 2562 จังหวัดนครศรีธรรมราช. หน้า 65 นครศรีธรรมราช ประเทศไทย.

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. (2563). คู่มือโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตรฉบับ4ชาวบ้าน. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.

Chachee, V. (2011). TRIZ: Theory of Inventive Problem Solving. The Far Eastern University, 5(2).

Shenzhen Bainian Lile Tech co.ltd. (2021). Solar Camera. International Patent Application Publication. Publich No. WO 2021/098009 A1: November 27, 2021.

Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. New Jersey: Prentice-Hall.Inc.

Worester Polytechnic Institute. (2018). Irradiance Based Solar Panel Power Point Tracking United State Patent Application Publication. Publich No.US 2018/0198285 A1: July 12, 2018.