การพัฒนาระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง 2) ประเมินประสิทธิภาพระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง และ 3) ประเมินความพึงพอใจผู้ใช้ระบบที่มีต่อระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนา จำนวน 5 คน และผู้ใช้ระบบจำนวน 124 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง 2) แบบประเมินประสิทธิภาพระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติงมีองค์ประกอบดังนี้ กลุ่มผู้ใช้ระบบ อุปกรณ์ เว็บเบราเซอร์ การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ สารสนเทศ การจัดการ ฐานข้อมูล และเว็บไซต์
2) ประสิทธิภาพของระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.44, S.D. = 0.62) และ 3) กลุ่มผู้ใช้ระบบจำนวน 124 คน
มีความพึงพอใจต่อระบบจัดการศูนย์ข้อมูลเว็บไซต์บนเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = 0.14)
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). แผนยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี พ.ศ.2560-2579 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. สืบค้นจาก http://202.29.39.5/link-information/vru-strategy-Plan-60-64.pdf
เกรียงศักดิ์ จันทีนอก, และรัตนาวดี สนธิประสาท. (2564). การประเมินผลระบบสารสนเทศสำหรับการเข้าเรียนออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดผ่านระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ 17(1), 12-22.
ซีเอส ล็อกซอินโฟ. (2560). รู้จักเทคโนโลยี Cloud Computing. สืบค้นจากhttp://dccloud.csloxinfo.com/th/wecloud01/
ดาวรถา วีระพันธ์. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชัน. วารสารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 145-154.
ทัศนีย์ รอดมั่นคง. (2558). การพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศผ่านคลาวด์คอมพิวติง ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
นพรัตน์ ประทุมนอก, ชัยอนันต์ กิจชัยรัตน์, สราวุฒิ อุบลหอม, และกิตติศักดิ์ สิงห์สูงเนิน. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแพลตฟอร์มแอปชีต. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 3(2), 17-28.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2563). ศาสตร์การวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ. (2557). ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆในงานทางการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1), 149-157.
สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2563). แผนกลยุทธ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นจาก https://plan.vru.ac.th/wp-content/uploads/2020/10/แผนกลยุทธ์-ปี-60-64-คณะวิทย์-ตุลาคม-63.pdf
Akande, Akinlolu, Van Belle & Jean-Paul. (2014). Cloud computing in higher education: A snapshot of software as a service. Adaptive Science & Technology (ICAST), 2014 IEEE 6th International Conference. 10.1109/ICASTECH.2014.7068111.