การพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเก็บเมล็ดกาแฟ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น สำหรับโรงเก็บเมล็ดกาแฟ โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และประเมินประสิทธิภาพระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น สำหรับโรงเก็บเมล็ดกาแฟ การออกแบบและพัฒนาระบบประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์ดังนี้ 1) บอร์ด NodeMCU ESP8266 ทำหน้าที่เป็นคอนโทรลเลอร์ 2) เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น 3) จอแสดงผลแอลซีดีขนาด 16x2 4) รีเลย์ และ 5) พัดลมระบายอากาศ ส่วนของซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย 1) โปรแกรม Arduino IDE สำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานของบอร์ด 2) ภาษา C/C++ สำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานในบอร์ด 3) โปรแกรม MySQL ใช้ในการสร้างและจัดเก็บข้อมูลอุณหภูมิและความชื้น 4) โปรแกรม Apache Web Server ใช้ในการจัดทำเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อรับข้อมูลที่ส่งมาจากบอร์ดคอนโทรลเลอร์ และ 6) แอปพลิเคชัน Blynk ใช้ในการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน โดยทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดและเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์เพื่อพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเก็บเมล็ดกาแฟ ระบบจะทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในโรงเก็บเกิน 30 องศาเซลเซียส หรือมีความชื้นเกิน 68 เปอร์เซ็นต์ โดยการสั่งให้พัดลมระบายอากาศทำงาน และหยุดทำงานเมื่ออุณหภูมิหรือความชื้นอยู่ในระดับปกติ นอกจากนี้ระบบสามารถ
การบันทึกข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นลงฐานข้อมูล ระบบสามารถแจ้งเตือนเมื่ออุณหภูมิ หรือความชื้นเกินค่าที่กำหนดไว้ผ่านแอปพลิเคชัน LINE และผู้ใช้งานสามารถสั่งให้ระบบทำงานแบบอัตโนมัติ หรือต้องการควบคุมระบบด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน Blynk การประเมินประสิทธิภาพของระบบ ใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาระบบจำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง และใช้แบบสอบถามในการประเมินผล ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบพบว่า ในภาพรวมประสิทธิภาพของระบบอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = 0.57)
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560). ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร. สืบค้นจาก http://www.agriinfo.doae.go.th/year60/plant/rortor/perennial/coffee.pdf
ธีรวัฒน์ ชื่นอัศดงคต, และศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล. (2565). การศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมความชื้นและอุณหภูมิผ่านสมาร์ทโฟนสำหรับโรงเรือนปลูกผักสลัด. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ใน พระบรมราชูปถัมภ์, 17(3), 33-46.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปาริชาติ เทียนจุมพล, ดนัย บุณยเกียรติ, ณัฏฐวัฒณ์ หมื่นมาณี และสุภาวดี ศรีวงค์เพ็ชร. (2560). กระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวกาแฟอะราบิกาและโรบัสตาในประเทศไทยกับการปนเปื้อนสารโอคราทอกซิน. สืบค้นจาก https://www.phtnet.org/2016/12/334/?fbclid=IwAR3OZk- ubqcKF_xwWfPEhrLQ2iR9SE7mBABNa6s7zvpH7V9LDIgBJPdgkho
ปริยากร บัวทอง. (2564). อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งเพื่อควบคุมระบบในโรงเพาะชำอัตโนมัติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 1(2), 8-18.
สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์, กาญจนา ดงสงคราม, ศศิธร อ่อนเหลา, กฤตภาส ยุทธอาจ, และอุดมศักดิ์ พิมพ์พาศรี. (2564). การพัฒนาระบบควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติผ่านเซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยคั้นน้ำ.วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(12), 17-29.
Błaszkiewicz J., Nowakowska-Bogdan E., Barabosz K., Kulesza R., Dresler E., Woszczyński P., Biłos Ł., Matuszek D.B. & Szkutnik K. (2023). Effect of green and roasted coffee storage conditions on selected characteristic quality parameters. Scientific Reports, 13, 6447.
Bucheli, P., Meyer, I., Pittet, A., Vuataz, Viani, G. & Vianis, R. (1998). Industrial Storage of
Green Robusta Coffee under Tropical Conditions and Its Impact on Raw Material Quality and Ochratoxin A Content. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 46(11), 4507-4511.