การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน กรณีศึกษาตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

เบญญาภา ไชยเมือง
ฤทธิรงค์ จังโกฏิ
กาญนิถา ครองธรรมชาติ
สุทิน ชนะบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน               2) วิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพของนักเรียนจากการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 3) สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการลดผลกระทบด้านสุขภาพจากการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ตามคู่มือของกรมอนามัยและแบบสอบถามการได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจากการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 4 มิติ ประกอบด้วย มิติด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณหรือปัญญา จากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 จำนวน 100 คน คัดเลือกด้วยวิธีแบบเจาะจง มีการสนทนากลุ่ม จำนวน 36 คน คัดเลือกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนตามรูปแบบคณะกรรมการบริหารโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาในการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า การจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนไม่ผ่านมาตรฐานคือ การจัดการมูลฝอย การจัดการส้วมและสิ่งปฏิกูล สุขาภิบาลอาหารน้ำบริโภค การจัดการสาธารณภัย ผลการศึกษาด้านผลกระทบด้านสุขภาพจากการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 4 มิติ พบว่า นักเรียนได้รับผลกระทบจากการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนโดยรวมระดับน้อยที่สุด (gif.latex?\bar{X}=0.68, S.D.=0.07) เมื่อจำแนกรายมิติ พบว่า ผลกระทบในมิติทางด้านร่างกายระดับน้อยที่สุด (gif.latex?\bar{X}=0.90, S.D.=0.32) มิติด้านจิตใจ พบว่า ได้รับผลกระทบอยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X}=1.02, S.D.=0.24) มิติด้านสังคมรวมถึงมิติทางจิตวิณญาณหรือปัญญา พบว่า นักเรียนในโรงเรียนได้รับผลกระทบด้านสุขภาพระดับน้อยที่สุด (gif.latex?\bar{X}=0.26, S.D.=0.17) และ (gif.latex?\bar{X}=0.5, S.D.=0.31) ตามลำดับ ข้อเสนอ   เชิงนโยบายจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการนำไปปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบด้านสุขภาพในด้านความปลอดภัยการจราจรในโรงเรียน โดยการจัดทำช่องทางจราจรในบริเวณโรงเรียนให้ชัดเจนและจัดอบรมการปฏิบัติตาม  วินัยจราจรให้กับนักเรียนในโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติศักดิ์ ไกรจันทร์. (2559). การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากนโยบายยกระดับความปลอดภัยทางถนนของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชนในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์ โควิด-19. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=main.

เนืองนิมมาน รักษ์มณี. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานอนามัยในโรงเรียนประถมศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุเวช พิมน้ำเย็น. (2562). การประเมินการจัดสภาพแวดล้อมและการจัดบริการด้านความปลอดภัยในโรงเรียนสันติคีรีวิทยาคม อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 25-31.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2562). คู่มือการเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษตะกั่ว. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2564). หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ. นนทบุรี: ศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9. (2565). สถานการณ์โรคสำคัญที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 สัปดาห์ที่ 36 ปี พ.ศ. 2565 (วันที่ 4-10 กันยายน 2565). สืบค้นจาก http://odpc9.ddc.moph.go.th/hot/65-situation-36.pdf