การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์โควิด 19 กรณีศึกษาตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

วรรณา วัดโคกสูง
ฤทธิรงค์ จังโกฏิ
อุไรวรรณ อินทร์ม่วง
สุทิน ชนะบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนจากการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์โควิด 19 ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถามมาจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 4,240 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกนและทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิได้กลุ่มตัวอย่าง 207 คน ผู้ร่วมการสนทนากลุ่ม จำนวน 25 คน คัดเลือกจากผู้แทนชุมชนที่สามารถให้ข้อมูลได้ เครื่องมืองานวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม (IOC=0.67-1.00) และทำการตรวจสอบความเที่ยงโดยรวมมีค่า 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยการเผา ณ จุดที่พบและทิ้งรวมกับมูลฝอยทั่วไป หน่วยงานที่รับผิดชอบรณรงค์ให้ประชาชนคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อตั้งแต่ต้นทาง ประชาชนมีความรู้ระดับดี ร้อยละ 39.13 ทัศนคติระดับดี ร้อยละ 49.76 และพฤติกรรมระดับปานกลาง ร้อยละ 85.51 โดยรวมประชาชนได้รับผลกระทบด้านสุขภาพระดับปานกลาง (x̅ = 3.35, S.D. = 1.14) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ได้รับผลกระทบระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านสุขภาวะทางกาย (x̅ = 4.04, S.D. = 0.90) และด้านสุขภาวะทางสังคม (x̅ = 3.53, S.D. = 0.90) ได้รับผลกระทบระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านสุขภาวะทางจิตใจ (x̅= 3.35, S.D. = 1.20) และด้านสุขภาวะทางจิตวิญญาณหรือปัญญา (x̅= 2.69, S.D. = 1.40) จากการสนทนากลุ่มร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มาซึ่งมาตรการป้องกันและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ ประชาชนทุกคนคัดแยกมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางทุกครัวเรือนและนำไปทิ้ง ณ จุดรับทิ้งที่กำหนดไว้ ควรมีการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนและประชาชนเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และตั้งคณะทำงานในชุมชนที่สามารถทำงานได้จริงและมีการมอบหมายหน้าที่ชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการนำเข้าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ สำหรับบุคลากรในกิจการของตนเพื่อใช้ในกรณีการติดเชื้อ SARS-C0V-2 (เชื้อก่อโรค COVID-19) ที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 27 (8) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551. สืบค้นจาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/098/T_0031.PDF

กรรณิการ์ บุตรเอก, สุวิมล แก้วเงา, และปิยะดา วชิระวงศกร. (2554). สถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 12(2), 1-17.

กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์ โควิด-19. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=main.

กรมอนามัย. (2564). คำแนะนำการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดจากการแยกกักตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19. สืบค้นจาก https://env.anamai.moph.go.th/th/covid-19/205970.

บุศรา ทัศนวิจิตร. (2551). ผลกระทบทางสุขภาพของประชาชนจากขยะมูลฝอยในเขต เทศบาลนครลำปาง จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประจวบ แสงดาว. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน พื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 กรณีศึกษาจังหวัดสระบุรี. รายงานการวิจัย, ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี.

ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์, และอำพรรณ ไชยบุญชู. (2564). การศึกษาปริมาณขยะในครัวเรือน ช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 41(2), 1–17.

ศุภกิจ ศรีสำราญ, และคณะ. (2565). พฤติกรรมและปัจจัยเชิงสาเหตุในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชน. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(2), 1-14.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2563). ฮาวทูทิ้ง: ทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างไรให้ปลอดภัยกับสังคมและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2020/04/how-to-dispose-of-used-face-mask/.

สวรรยา ธรรมอภิพล, จารุมนต์ ดิษฐประพัตร์, และปภาอร กลิ่นศรีสุข. (2564). ความรู้และพฤติกรรมในการจัดการขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยของชุมชน บ้านกลาง-ไผ่ขาด จังหวัดนครปฐม ในช่วงวิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19). วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 6(1), 1-14.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (2565). สถานการ์โควิด-19 จังหวัดชัยภูมิ. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/ssjchaiyaphum/?locale=th_TH.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000

Sangkham, S. (2020). Face mask and medical waste disposal during the novel COVID-19 pandemic in Asia. Case Studies in Chemical and Environmental Engineering, 2(1), 1-9. https://doi.org/10.1016/j.cscee.2020.100052

Silpjaru, T. (2007). Research and analysis of statistical data with SPSS. Bangkok: SEEDU-CATION.