การศึกษาสมรรถนะเครื่องตัดหญ้าหางลากใบพัดแรงเหวี่ยงคู่ สำหรับเกษตรกรฐานรากในครัวเรือน

Main Article Content

ธีรวัฒน์ ชื่นอัศดงคต
ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล
อาทิตย์ คำต่าย

บทคัดย่อ

การทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการทำงานเครื่องตัดหญ้าหางลากใบพัดแรงเหวี่ยงคู่ และ2) วิเคราะห์สมรรถนะเครื่องตัดหญ้าหางลากใบพัดแรงเหวี่ยงคู่ในพื้นที่แปลงเกษตร โครงสร้างส่วนหางลากใบตัดมีขนาดความกว้าง 120 เซนติเมตร และความยาว 140 เซนติเมตร ประกอบด้วยเครื่องยนต์แก๊สโซลีนแบบ 4 จังหวะ ขนาดกำลังเครื่องยนต์ 6.3 กิโลวัตต์ ส่งกำลังผ่านไปยังสายพานชนิดร่อง B เบอร์ 47 และ 48 เพื่อไปหมุนใบตัดขนาดความกว้าง 42 เซนติเมตร ยาว 6 เซนติเมตร จำนวน 2 ใบ สามารถปรับระดับความสูงของใบมีดจากระดับพื้นระหว่าง 3-26 เซนติเมตร ล้อเคลื่อนที่จานประกบขนาด 6 นิ้ว ขนาดยาง 4.10/3.50-6 ทดสอบสมรรถนะการทำงาน โดยติดตั้งใช้งานร่วมกับรถเครื่องยนต์ขนาดเล็กขนาด 125 ซีซี ในพื้นที่ขนาด 1 ไร่ หาค่าเฉลี่ย 3 ครั้ง ด้วยการเคลื่อนที่ของรถลากความเร็วเฉลี่ย 5-7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงเท่ากับ 0.86 ลิตรต่อไร่ ระยะเวลาที่ใช้ในการตัดหญ้าเท่ากับ 21.52 นาทีต่อไร่ หรือทำงาน 1 ชั่วโมง จะสามารถตัดหญ้าได้พื้นที่ 2.79 ไร่ต่อชั่วโมง และเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องตัดหญ้าสะพายบ่ามีสมรรถนะการทำงานมากกว่าร้อยละ 52.18 ความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม เมื่อลงทุนจัดสร้างเครื่องตัดหญ้าหางลากใบพัดแรงเหวี่ยงคู่ 29,000 บาท เมื่อทำงาน 12 วันต่อปี จุดคุ้มทุนอยู่ที่ 9.09 ไร่ต่อปี และสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 1.80 ปี หรือประมาณ 1 ปี 9 เดือน 18 วัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกกัญญากรณ์ พรวราขจรกุล, ชาญวิททย์ ราชกระโทก, เตมีย์ วงษ์ศรี, และศุภวัชร นิยมพันธุ์. (2563). รถตัดหญ้าบังคับวิทยุ. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 5(2), 51-60.

กรมบัญชีกลาง. (2557). หลักเกณฑ์การคำนวณราคาสินทรัพย์ถาวรสำหรับหน่วยงานภาครัฐ. สืบค้นจาก http://med.swu.ac.th/supplies/images/V238.pdf

ไกรสร รวยป้อม, และสุรพงษ์ โซ่ทอง. (2557). เครื่องตัดหญ้าแบบใบมีดทรงกระรอกติดท้ายรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์คณะวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขต จันทบุรี.

คมกริช จิตตา, ศิวลักษณ์ ปฐวีรัตน์, และสิรินาฏ น้อยพิทักษ์. (2565). การพัฒนาเครื่องตัดหญ้าเดินตามขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าไร้สาย. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย, 28(1), 15-24.

ชนาธิป กาลจักร, และคณิศร ภูนิคม. (2562). การออกแบบการทดลองเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ประสิทธิภาพการตัดหญ้าเนเปียร์. วารสารเครือข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหกรรมไทย, 5(2), 20-26.

ชัยณรงค์ หล่มช่างคำ, จักรพันธ์ อบมา, และประสิทธิ์ โสภา. (2565). การออกแบบและพัฒนารถตัดหญ้า ควบคุมด้วยวิทยุบังคับ. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ, 8(1), 12-20.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.

ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์, และมณฑิตา วะชู. (2563). ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชบางชนิดต่อการควบคุมแห้วหมูและความเป็นพิษต่อข้าวโพด. วารสารเกษตรนเรศวร, 17(1), 48-57.

วรวุฒิ สุวรรณเรือง, จารุพล สุริยวนากุล, ณัญธิวัฒน์ พลดี, เกียรติฟ้า ตั้งใจจิต, และสุจินต์ บุรีรัตน์. (2564). เครื่องตัดตอซังข้าว. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(4), 157-170.

ศิริเจษฎ์ กองแก้ว, สิงห์รัญ ชารี, ประไพพรรณ สิทธิกูล, บัณฑิต ทองสร้อย, และกฤษณ์ ผลโพธิ์. (2564). การพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของเครื่องกำจัดวัชพืชในแปลงข้าวโพดหวาน. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย, 27(2), 12-18.

สุวิพงษ์ เหมะธุลิน. (2561). การพัฒนาเครื่องตัดใบข้าวแบบสะพายบ่าขนาดเล็ก. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุวิพงษ์ เหมะธุลิน และณัฐดนย์ พรรณุเจริญวงษ์. (2561). การพัฒนาเครื่องตัดใบข้าวเพื่อลดการสั่นสะเทือน. วารสารวิจัยราชมงคลกรุงเทพ, 12(2), 60-72.