การพัฒนาระบบติดตามและวิเคราะห์การเข้าชั้นเรียนโดยใช้การระบุตำแหน่งที่ตั้งแบบเรียลไทม์ ของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย

Main Article Content

ภัชราภรณ์ พิมพา
ณัฐพร เห็นเจริญเลิศ
นิติเศรษฐ์ หมวดทองอ่อน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบติดตามและวิเคราะห์การเข้าชั้นเรียนโดยใช้การระบุตำแหน่งที่ตั้งแบบเรียลไทม์ของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย
2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของระบบที่พัฒนาขึ้นสำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ ได้แก่ PHP JavaScript และสร้างฐานข้อมูลด้วย MySQL รวมถึง
แสดงสารสนเทศผ่านทาง Google Map API จากนั้นทำการพัฒนาระบบเป็นเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้สามารถทำงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ ระบบที่พัฒนาขึ้นจะทำการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานเบื้องต้น 4 ด้าน คือ 1) ด้านความต้องการของผู้ใช้ระบบ 2) ด้านหน้าที่ของระบบ 3) ด้านการใช้งานระบบ และ 4) ด้านความปลอดภัยของข้อมูลของระบบ เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบ
โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน จำนวน 5 คน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบจากกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ครูที่ทำหน้าที่ครูที่ปรึกษาจำนวน 4 คน และนักเรียนระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 2 จำนวน 50 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยระบบที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60 ส่วนความพึงพอใจในการใช้งานของระบบจากผู้ใช้งาน พบว่าระดับความพึงพอใจต่อระบบในทุก ๆ ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล, และพนิดา พานิชกุล. (2551) . การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.

เกรียงศักดิ์ รักภักดี, ปราโมทย์ นามวงศ์, ไมตรี ริมทอง, และวชิระ โมราชาติ. (2560) . ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานีผ่านระบบดาวเทียมบอกพิกัด. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12(2), 84-91.

ชำนาญ ปาณาวงษ์, กองแก้ว เมทา, ชวนพิศ เหล็กใหล, พจีพร ศรีแก้ว, และ วัชรีย์ บัวเพ็ง. (2559). รายงานวิจัยเรื่องสาเหตุและแนวทางในการป้องกันการออกกลางคันของนักเรียน กรณีศึกษา: โรงเรียนบ้านบางโพธิ์, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธิติพร ชาญศิริวัฒน์ (2564). การพัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าห้องเรียนด้วยคิวอาร์โค้ด กรณีศึกษาวิทยาลัยครูปากเซ, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นพรัตน์ ประทุมนอก, ชัยอนันต์ กิจชัยรัตน์, สราวุฒิ อุบลหอม, และกิตติศักดิ์ สิงห์สูงเนิน. (2565).

การพัฒนาแอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแพลตฟอร์มแอปชีต. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 3(2), 17-28.

ปฐมพงษ์ ฉับพลัน, และฐิมาพร เพชรแก้ว. (2010). การประยุกต์ใช้ Google Maps API ในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด. NCIT 2010, สำนักวิชาการสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช.

เสาวนี ศรีสุวรรณ, เอกรินทร์ เหลืองวิลัย, เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร, และธนัย ตันวานิช. (2561). การพัฒนาระบบระบุตำแหน่งอุปกรณ์บนทางพิเศษโดยใช้แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 43(1), 42-52.