ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากตำรับยาตรีธาตุ

Main Article Content

รัฐศาสตร์ เด่นชัย
สุรพงศ์ รัตนะ

บทคัดย่อ

ตรีธาตุ ประกอบด้วยสมุนไพร 3 ชนิด คือ เปลือกอบเชย (Cinnamomum  verum J. Presl.) เมล็ดกระวาน (Amomum testaceum Ridl.) และดอกจันทน์เทศ (Myristica fragrans Houtt.) ในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 มีสรรพคุณ แก้ธาตุพิการ แก้ลม แก้เสมหะ แก้ไข้ บำรุงดวงจิต แก้ปวดมดลูก ปลุกธาตุอันดับให้เจริญ งานวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากตำรับยาตรีธาตุ ทำการสกัดด้วยตัวทำละลาย 4 ชนิด คือน้ำ เอทานอลร้อยละ 50 เอทานอลร้อยละ 80 และเอทานอลร้อยละ 95 นำสารสกัดมาศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) วิธี Ferric reducing antioxidant power (FRAP) และหาปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดจากตำรับ
ยาตรีธาตุ พบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 95 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดในวิธี DPPH โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 10.72±0.20 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานกรดแอสคอบิก (p<0.05) และวิธี FRAP สารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 95 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด มีค่าไมโครโมลาร์สมมูลของเฟอร์รัสไอออนต่อกรัมสารสกัดเท่ากับ 1.79±0.05 มิลลิโมลาร์สมมูลของเฟอร์รัสไอออนต่อกรัมของสารสกัด มีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานคือกรดแอสคอบิกและแอลฟ่าโทโคฟีรอล (p<0.05) และการศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด พบว่า สารสกัดด้วยน้ำ มีปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 2.62±0.32 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมสารสกัด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560–2564. ทีเอส อินเตอร์พริ้นท:กรุงเทพมหานคร.

จักรรินทร์ ศรีวิไล, และพิพรรธพงศ์ จบมะรุม. (2551). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาชนิดของตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดและทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากผลมะแขว่น (Zanthoxylum limonella (Dennst) Alston). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จาตุรงค์ จงจีน. (2557). รายงานการวิจัยเรื่อง ผลของสารสกัดจากสาบเสือต่อการ เจริญของเชื้อรา Pyricularia grisea Sacc. สาเหตุโรคใบไหม้ของข้าว. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี.

จิราภรณ์ บุราคร, และเรือนแก้ว ประพฤติ. (2555). ผลของสารสกัดสมุนไพรพื้นบ้านไทย จำนวน 7 ชนิดต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 10, 11-22.

นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, และนงลักษณ์ เรืองวิเศษ. (2551). วิเคราะห์ วิจัย คุณภาพเครื่องยาไทย.

คอนเซ็พท์ เมดิคัส จำกัด: กรุงเทพมหานคร.

พัชรินทร์ บุญหล้า, เมธิน ผดุงกิจ, อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์, และธิดารัตน์ สมดี. (2557). ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดใบชะพลู. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 10(3), 283–294.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์). (2548). ตำราเภสัชกรรมไทย.

ed. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

รัฐศาสตร์ เด่นชัย, ณลิตา ไพบูลย์, นพวรรณ์ พรศิริ, และสุรพงศ์ รัตนะ. (2564). ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ สารฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในสารสกัดมะหวด (Lepisanthes rubiginosa). วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น, 43(2), 1-9.

รัตนา อินทรานุปกรณ์. (2547). การตรวจสอบและการสกัดแยกสารสำคัญจากสมุนไพร. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2559). พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

โอภา วัชระคุปต์. (2550). สารต้านอนุมูลอิสระ = Radical scavenging agents. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.

อรพิน เกิดชูชื่น, ณัฏฐา เลาหกุลจิตต์, และมณฑกาญจน์ ชนะภัย. (2553). คุณลักษณะสารสกัดจากพืชวงศ์ Apiaceae และ Piperaceae จำนวน 4 ชนิด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 3, 35-44.

Benzie, I. F. F., & Strain, J.J. (1996). The Feric Reducing Abillity of Plasma (FRAP) as a Measure of “Antioxidant Power”: The FRAP Assay. Analytical Biochemistry, 239(1), 70-76. https://doi.org/10.1006/abio.1996.0292.

Gong, Y., Liu, X., He, W. -H., Xu, H. -G., Yuan, F., & Gao, Y. -X. (2012). Investigation into the antioxidant activity and chemical composition of alcoholic extracts from defatted marigold (Tagetes erecta L.) residue. Fitoterapia, 83(3), 481-489. https://doi.org/

1016/j.fitote.2011.12.013.

Gomes de Melo, J., De Sousa Araújo, T. A., Thijan Nobre de Almeida e Castro, V., Lyra de Vasconcelos Cabral, D., Do Desterro Rodrigues, M., Carneiro do Nascimento, S., Cavalcanti de Amorim, E. L., et al. (2010). Antiproliferative activity, antioxidant capacity and tannin content in plants of Semi-Arid Northeastern Brazil. Molecules, 15(12), 8534–8542. http://dx.doi.org/10.3390/molecules15128534.

Kim J. S. (2013). Preliminary evaluation for comparative antioxidant activity in the water and ethanol extracts of dried citrus fruit (Citrus unshiu) peel using chemical and biochemical in Vitro assays. Food and Nutrition Sciences, 4(2), 177-188.

Saeed, M., Erwa, I., Ahmed, H., Ramadhani, A., & Ishag, O. (2020). Phytochemical Screening, Chemical Composition and Antimicrobial Activity of Cinnamon verum Bark. International Research Journal of Pure and Applied Chemistry, 21, 36-43.

Sindhe, M. A., Yadav, D. B., & Chandrashekar A. (2013). Antioxidant and In Vivo anti-hyperglycemic activity of Muntingia calabura leaves extracts. Der Pharmacia Lettre, 5, 427-435.