การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสินค้าภายในคลังสินค้าโดยใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสินค้าภายในคลังสินค้าโดยใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบปรับปรุงพื้นที่ของคลังสินค้าโดยการสร้างแบบจำลองสถานการณ์ และเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดสินค้าตามใบขอโอนสินค้า จากการศึกษารวบรวมข้อมูลพบปัญหาการส่งสินค้าไปยังสาขาต่าง ๆ นั้นมีปริมาณไม่ถูกต้อง สินค้าผิดขนาด คุณลักษณะไม่ตรงตามความต้องการ ทำให้ต้องมีการส่งสินค้ากลับไปยังคลังสินค้าและรอสินค้าส่งกลับมาทดแทนซึ่งเป็นการสูญเสียต้นทุนและเวลา จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาการจัดสินค้าผิดพลาดด้วยแผนภาพสาเหตุและผล หามาตรฐานแก้ไขปัญหา นำเอาการวิเคราะห์แบบเอบีซีมาแบ่งประเภทของสินค้าเพื่อออกแบบพื้นที่ของคลังสินค้า นำเสนอแนวทางของการหยิบจัดสินค้าเพื่อลดเวลาและระยะทางของการจัดหยิบสินค้าตามใบขอโอนสินค้า การสร้างจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม Flexsim เพื่อการออกแบบปรับปรุงพื้นที่คลังสินค้าและทดสอบประมวลผลโปรแกรมการจัดสินค้าตามใบขอโอนตามโมเดลที่นำเสนอ พบว่าประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานแบบเดิมของพนักงาน ผลการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานด้านเวลาของโมเดล 1 และโมเดล 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.97 และร้อยละ 48.97 ตามลำดับ ประสิทธิภาพการทำงานด้านระยะทางของโมเดล 1 และโมเดล 2 เพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 23.98 และร้อยละ 32.36 ตามลำดับ ผลการดำเนินงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้จริงกับการบริหารจัดการคลังสินค้าของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ. (2547). ระบบการควบคุมคุณภาพที่หน้างาน : คิวซีเซอร์เคิล. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ส.เอเซียเพรส จำกัด.
จารุพงษ์ บรรเทา, รุจินี แคลนกระโทก, และรพิพันธ์ แก้วกลาง. (2560). การจำลองสถานการณ์แถวคอย ณ จุดจ่ายยา กรณีศึกษาโรงพยาบาลโชคชัย. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2560, 12 - 15 กรกฎาคม 2560 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เจนรตชา แสงจันทร์. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าโดยประยุกต์ใช้วิธีการจัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมการพิมพ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ชยุตม์ บันเทิงจิตร. (2561). การประยุกต์ใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์ในการออกแบบผังคลังสินค้าเพื่อลดเวลาในการขนถ่ายวัสดุ. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 8(3), 1-14.
พจมาน เตียวัฒนรัฐติกาล. (2550). การบริหารและการจัดการองค์กรอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2552). การศึกษางานอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.
ดุสิตพล ชมพุฒ, กานอธิป โภคสวัสดิ์, ภาณุทัต ย่ำแท่น, และภาณุพงษ์ ศรีมุงคุล. (2564). การหาหน่วยบริการที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม Flexsim กรณีศึกษาศูนย์บริการ AIS สาขาเซ็นทรัลขอนแก่น. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 16 ประจำปี 2564, 27 ตุลาคม 2564 ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ภาณุพงษ์ ศรีมุงคุล, และรักน้อย อัครรุ่งเรืองกุล. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าโดยใช้โปรแกรมอารีน่า: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ปี พ.ศ.2563, 20 – 21 พฤษภาคม 2563 ณ สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
ภักดี ใจซื่อ, และไพฑูรย์ ศิริโอฬาร. (2565). การลดเวลาการหยิบวัตถุดิบภายในคลังสินค้าไปยังแผนการผลิต โดยวิธีจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม Flexsim. Education and Business Transformation in the Virtual World: Opportunities and Challenges of the Metaverse. The 12th National and the 7th International PIM Conference 2022, 7 July 2022. Panyapiwat Institute of Management.
Marek, k. (2021). Personnel Management on the Production Line Using the Flexsim Simulation Environment. Manufacturing Technology, 21(5), 657-667.
Melynia, N.P., Lina, G., Frans, J.D., & Venny V. (2022). Raw Material Warehouse Layout Design Using Class-Based Storage Method with ProModel and FlexSim Simulation at Automotive Assembling Company. International Conference on Industrial Engineering and Operations Management, 7-10 March 2022. Istanbul, Turkey.