ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ของประชากรกลุ่มอายุ 15-29 ปี ในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

เฌอลินญ์ สิริเศรษฐ์ภพ
สมคิด ตันเก็ง
จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย
รัฐพล ศิลปรัศมี

บทคัดย่อ

ปัจจุบันรัฐบาลได้มีการส่งเสริมการใช้ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรไทย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเกี่ยวกับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ โดยมีรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 15-29 ปี ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Spearman’s correlation


ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 21.31 ปี แบ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 57.25 (229 คน) เพศชายร้อยละ 42.75 (171 คน) มีความรู้เกี่ยวกับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณในระดับปานกลาง ทัศนคติเกี่ยวกับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณอยู่ในระดับดี และพฤติกรรมการใช้ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณอยู่ในระดับต่ำ เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับทัศนคติเกี่ยวกับยาแผนโบราณ และความรู้กับพฤติกรรมที่มีต่อยาแผนโบราณ พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านพฤติกรรมการใช้ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณพบว่า เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกลุ่มตัวอย่างเลือกไปพบแพทย์/สถานบริการสาธารณสุขมากที่สุด ร้อยละ 61.50 (246 คน) ส่วนการซื้อยาสมุนไพร/ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณมาใช้เอง พบว่า มีเพียงร้อยละ 2.75 (11 คน) สอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่าพฤติกรรมการใช้ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณอยู่ในระดับต่ำ จึงควรส่งเสริมให้มีการใช้ยาสมุนไพร ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณตั้งแต่ระดับครอบครัว เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐาน คุณภาพและเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรไทย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลธิดา อิ่นแก้ว. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลไทยชนะศึก. งานประชุมวิชาการสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2 ปีงบประมาณ 2564 “พัฒนานวัตกรรมสุขภาพสู่ Smart Service ภายใต้วิถีชีวิตแบบ New Normal”, วันที่ 24 – 25 มีนาคม 2564 ณ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์.

เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์. (2563). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรคของประชาชน บ้านในลุ่ม อำเภอย่านซื่อ จังหวัดตรัง. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(1), 1-16.

จิรานุช มีสุวรรณ์, กนกนาฎ อภัยภักดิ์, อารีญา หึกขุนทด, และวัฒนา ชยธวัช. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนบ้านซับตารีจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา, 1(2), 1-13.

ปรารถนา อเนกปัญญากุล, สุภินดา ศิริลักษณ์, และภัทรวีร์ ดามี. (2564). พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่มารับบริการในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิชาการ ปขมท, 9(2), 76-90.

ปิยพรรณ รัตนพิกุล, และพีรพงษ์ ฟูศิริ. (2555). แรงจูงใจในการเลือกใช้ยาแผนโบราณของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก http://thaiejournal.com/journal/2555volumes2/Piyapan.pdf

ปัทมา ศิริวรรณ. (2559). ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ และการใช้ยาสมุนไพรของผู้ให้บริการและผู้รับบริการในโรงพยาบาลแม่ทา อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. สืบค้นจาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5817035073_6137_4382.pdf

เพลินตา สุขเจริญชัยกุล. (2557). ทัศนคติของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่มีต่อการใช้สมุนไพรไทย. สืบค้นจาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/1212/1/TP%20MM.064%202557.pdf

ภิษณี วิจันทึก. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประชาชนบ้านหนองบัวศาลา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 31(1), 12-21.

ภัทรลภา บุตรดาเลิศ. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการใช้พืชสมุนไพรท้องถิ่นเพื่อหาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ใช้ในงานสปาไทยของกลุ่ม อสม. อาสาสมัครชุมชน ตำบลถนนโพธิ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 32(104), 83-98.

ระบบรายงานมาตรฐาน(HDC). (2566ก). มูลค่าการใช้ยาสมุนไพร. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=30bc6364fc06a33a7802e16bc596ac3b&id=18576644ee6ec12c24b8d307535fa140.

ระบบรายงานมาตรฐาน(HDC). (2566ข). การจ่ายยาสมุนไพรจำแนกตามอายุและเพศ. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=30bc6364fc06a33a7802e16bc596ac3b&id=daa4f09de05917f530445267a017e1c4.

ระบบรายงานมาตรฐาน(HDC). (2566ค). ปริมาณการจ่ายยาสมุนไพร. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=30bc6364fc06a33a7802e16bc596ac3b&id=65a9f9496401d91402b3cb38805bb4d6.

ระบบรายงานมาตรฐาน(HDC). (2564ง). ประชากรทะเบียนราษฎร์ จำแนกรายอายุและเพศ. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pop/pop_sex_agemoph.php&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=f83d0cd8b830706dab4cd3cb09afa584#.

โรสนานี เหมตระกูลวงศ์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, และจีราพัชร์ พลอยนิลเพชร. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรในการ ดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในเขตเทศบาลนครยะลา ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11, วันที่ 17 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.

วิริญญา เมืองช้าง. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สภาเภสัชกรรม. (2565). พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม. สืบค้นจาก https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&menuid=70&itemid=2514&catid=0

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์สุขภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก https://plan.fda.moph.go.th/media.php?id=532740216239300608&name=binder18237.pdf

สำนักยา. (2556). สถิติจำนวนการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณในแต่ละปีตั้งแต่ ปี 2552-2555. สืบค้นจาก https://dmsic.moph.go.th/index/detail/1341

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.