การผลิตวัสดุทดแทนไม้อัดจากธูปฤาษีผสมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

Main Article Content

ธนากร เมียงอารมณ์
ธิติมา เกตุแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของธูปฤาษี และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในการผลิตวัสดุทดแทนไม้อัด 2) ศึกษาคุณสมบัติของวัสดุทดแทนไม้อัดจากธูปฤาษีและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และ 3) ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุทดแทนไม้อัดจากธูปฤาษีผสมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยศึกษาอัตราส่วนของธูปฤาษีและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในการผลิตวัสดุทดแทนไม้อัด  5 อัตราส่วน ได้แก่ 1) ธูปฤาษี 90 กรัม : กาวพีวีเอ 100 กรัม 2) ธูปฤาษี 50 กรัม : ฟางข้าว 30 กรัม : กาวพีวีเอ 100 กรัม 3) ธูปฤาษี 50 กรัม : ฟางข้าว 30 กรัม : แกลบ 10 กรัม : กาวพีวีเอ 100 กรัม 4) ธูปฤาษี 70 กรัม : ฟางข้าว 20กรัม : กาวพีวีเอ 100 กรัม และ 5) ธูปฤาษี 70 กรัม : ฟางข้าว 20 กรัม : แกลบ 10 กรัม : กาวพีวีเอ 100 กรัม ผลการวิจัย พบว่า วัสดุทดแทนไม้อัดจากธูปฤาษีผสมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทั้ง 5 อัตราส่วน มีลักษณะสีตาลอ่อนถึงเข้ม ผิวสัมผัสเรียบ มีการยึดติดแน่น ไม่มีเศษวัสดุหลุดออกมา ซึ่งอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด คืออัตราส่วนที่ 3 มีความหนาแน่น 605.21 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร ค่าความชื้นร้อยละ 12.78 การพองตัวตามความหนาร้อยละ 18.05 ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 966-2547 ส่วนความต้านทานแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้ามีค่ามากที่สุดที่ 0.37 เมกะปาสคาล และนำวัสดุทดแทนไม้อัดจากธูปฤาษีและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้แก่ ที่วางโทรศัพท์มือถือ กล่องใส่ของอเนกประสงค์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับธูปฤาษีและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร. (2563). สรุปผลการดำเนินงานโครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรม ราชาภิเษก กรมส่งเสริมการเกษตร. กรมส่งเสริมการเกษตร.

จารุณี เข็มพิลา, ชญานิศ นามไพร, และอลิษา แก้วใส. (2562). การผลิตไม้อัดจากตระไคร้และฟางข้าว. วารสารวิชาการปทุมวัน, 9(24), 1–15.

ณัชธกาภรณ์ จรัญจารพัฒน์, และสาลินี อาจารีย์. (2561). การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 28(2), 469–476.

ทศพร โพธิ์เนียม. (2559). การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากต้นธูปฤาษีและการประยุกต์ใช้สำหรับงานประดิษฐ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ไมมูน อินตัน, มัรณี เล็ง, อาฟีซา คามิ, อดุลย์สมาน สุขแก้ว, และดาริกา จาเอาะ. (2560). อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตแผ่นฟางอัดจากเส้นใยฟางข้าว. การประชุมราชภัฏวิชาการ 2560: รายงาน การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (น. 383-387), นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สุวภัทร ศรีสังข์. (2560). ศูนย์เรียนรู้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สมคเณ เกียรติก้อง, ศุภลักษณ์ ใจเรือง, วิวัฒน์ คลังวิจิตร. (2565). การศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของแผ่นซีเมนต์บอร์ดผสมเส้นใยพืชเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้างผนังอาคาร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 17(3), 113-125.

สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลผลิตป่าไม้. (2548). ไม้เนื้อแข็งของประเทศไทย. กรมป่าไม้.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2547). แผ่นใยอัดความหนาแน่นปานกลาง มอก.966-2547. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป. เล่มที่ 121 ตอนที่ 63ง, วันที่ 5 สิงหาคม 2547.

สำนักงานหอพรรณไม้. (2559). ธูปฤาษี. สืบค้นจาก https://www.dnp.go.th/Botany/detail.aspx?words=group.

Ramaraj, B. (2007). Crosslinked poly (vinyl alcohol) and starch composite films: physicochemical, thermal properties and swelling studies. Journal of Polymer Science, 103, 909-916.