ผลของสารสกัดหยาบจากหางไหลต่อควบคุมหนอนกระทู้ผัก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการกําจัดหนอนกระทู้ผักโดยวิธีการสัมผัส และวิธีการกินสารสกัดจากราก ใบ และลำต้นหางไหล ที่สกัดด้วยเอทานอลในแต่ละความเข้มข้น (0.5, 1, 4, 8 และ 10 % w/v) พบว่า การสัมผัสสารสกัดหยาบจากรากหางไหลที่ความเข้มข้น 10 % w/v ทำให้หนอนกระทู้ผักตายมากที่สุดภายใน 7 วัน ถึง 40% รองลงมา คือ สารสกัดหยาบจากใบ และลำต้นหางไหล ที่ 30% และ 20% ตามลำดับ ส่วนการทดสอบโดยวิธีการกิน พบว่า สารสกัดหยาบจากรากหางไหลมีฤทธิ์ในการยับยั้งการกินของหนอนกระทู้ผักในปริมาณสูง มีค่า percent antifeedant index (% AFI) เท่ากับ 16.22 รองลงมาคือสารสกัดหยาบจากใบหางไหล และสารสกัดหยาบจากลำต้นหางไหลมีค่า % AFI เท่ากับ 20.56 และ 21.35 ตามลำดับ จากผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดหยาบจากราก ใบ และลำต้นหางไหลที่ความเข้มข้น 10% w/v ทำให้หนอนกระทู้ผักตายมากที่สุดได้ภายใน 7 วัน และสามารถนำสารสกัดหยาบมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีในการเกษตรได้
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กุลชาติ บูรณะ, และประกายจันทร์ นิ่มกิ่งรัตน์. (2563). พฤติกรรมการใช้สารฆ่าแมลงเพื่อควบคุมแมลงศัตรูดาวเรืองของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและมหาสารคาม. วารสารแก่นเกษตร, 48(4),
-726.
จักรพงษ์ สุภาวรรณ์, ดาวพระศุกร์ เอกชัยวีรกูล, ศราวดี แสนศรี, และณัฐดนัย ลิขิตตระการ. (2564).
ความเป็นพิษของสารสกัดหยาบจากพืชที่มีผลต่อหนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura Fabricius). วารสารผลิตกรรมการเกษตร, 3(1), 1-11.
วาสนา สอนเพ็ง, สุภาณี พิมพ์สมาน, และฉันทนา อารมณ์ดี. (2552). ฤทธิ์ฆ่าแมลงของสารสกัดจากหนอนตายหยาก (Stemona tuberosa Lour). วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 112-122.
สมบูรณ์ แสงมณีเดช, ขวัญเกศ กนิษฐานนท์, ตรองรัก บุญเติม, ทศพล จุฬาลักษณานุกูล, ทินกร แสงงาม, ทิพย์วรรณ สอนง่ายดี, และธนิดา วังคำ. (2547). ประสิทธิภาพของรากหางไหลสดและสารสกัดในการควบคุมลูกน้ำยุง. วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(1), 87-93.
สมบูรณ์ แสงมณีเดช, ขวัญเกศ กนิษฐานนท์, พิทยา ภาภิรมย์, และธานี เทศศิร. (2548). การใช้พืชสมุนไพร(หางไหล) ควบคุมประชากรหนอนแมลงวันและการประยุกต์ใช้รักษาภาวะไมเอียซิสผิวหนังในสัตว์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(1), 22-30.
สาโรจ เจริญศักดิ์, และจรงค์ศักดิ์ พุมนวน. (2550). ประสิทธิภาพของสรสกัดจากพืชสมุนไพรพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการควบคุมหนอนกระทู้ผัก Spodopetera litula (F.). รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
สุขสม ศรีจักรวาฬ, อรนุช เกษประเสริฐ, ปราโมทย์ เกิดศิริ, และนพรัตน์ หยีดจันทร์. (2536). การเจริญเติบโตและปริมาณสารพิษในต้นหางไหล (โล่ติ๊น) เมื่ออายุต่างๆกัน. รายงานการสัมมนาการใช้สารจากพืชเพื่อป้องกัน กำจัดศัตรูทางการเกษตร. ขอนแก่นการพิมพ์. (หน้า 25-35).
สุเทพ สหายา, และลักขณา บำรุงศรี. (2546). โรติโนนสารสกัดจากพืชที่มีต่อแมลง. วารสารกีฎและสัตววิทยา, 25(4), 295-298.
สุภาณี พิมพ์สมาน, รัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา, และสังวาล สมบูรณ์. (2546). สารสกัดจากหนอนตายอยาก (Stemona sp.) เพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืช. การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติครั้งที่ 6 โรงแรมโซฟิเทลราชาออคิดขอนแก่น วันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2546. (หน้า 22).
อภิชัย เปรมัษเฐียร, และสมสุข ศรีจักรวาฬ. (2542). โล่ติ๊นหรือหางไหล สมุนไพรพื้นบ้านในการกำจัดแมลงที่น่าสนใจ(2). วารสารเคหการเกษตร, 23(7), 156-158.
อารมณ์ แสงวนิชย์, และอุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ. (2542). โล่ติ๊นหรือหางไหล สมุนไพรพื้นบ้านในการกำจัดแมลงที่น่าสนใจ. วารสารเคหการเกษตร, 23(7), 184-188.
Abbott, W.S. (1925). A method of computing the effectiveness of an insecticide. Journal Economic Entomology, 18(2), 265-267.
Bomford, M.K., & Isman M.B. (1996). Desensitization of fifth instar Spodoptera litura (Lepidoptera Noctuidae) to azadirachtin and neem. Entomologia Experimentalis et. Applicata. 81, 307-313.
Cheraghi, N.M., Farzaei, M.H., Razkenari, E.K., Aamin, G., Khanavi, M., Akbarzadeh, T. & Shams-Ardekani, M.R. (2016). An evidence-based review on medicinal plants used as insecticide and insect repellent in traditional Iranian medicine An Evidence-Based Review on Medicinal Plants Used as Insecticide and Insect Repellent in Traditional Iranian Medicine. Iranian Red Crescent Medical Journal, 18(2), 1-8.
Dey, K.R., Choudhury, P., & Dutta, B.K. (2013). Impact of pesticide use on the health of farmers: A study in Barak Valley, Assam (India). Journal of Environmental Chemistry and Ecotoxicology, 5, 269-277.
Escoubas P., Lajide, L., & Mitzutani, J. (1993). An improved leaf-disk antifeedant bioassay and its application for the screening of Hokkaido plants. Entomological Experrimentalis et Applicata. 66(2), 99-107.
Huang, Y. H., Ho, S. H., Lee, H.C., & Yap, Y.L. (2002). Insecticidal properties of eugenol, isoeugenol and methyleugenol and their effects on nutrition of Sitophilus zeamais Motsch. (Coleoptera: Curculionidae) and Tribolium castaneum (Herbst) (Coleoptera: Tenebrionidae). Journal of Stored Products Research, 38, 403-412.
Hummelbrunner, L.A., & Isman, M.B. (2001). Acute, sublethal, antifeedant, and synergistic effects of monoterpenoid essential oil compounds on the tobacco cutworm, Spodoptera litura (Lepidoptera: Noctuidae). Journal of Agricultural and Food Chemistry, 49, 715-720.
Moon, Y., Lee, K.H., Park, J.H., Geum, D., & Kim, K. (2005). Mitochondrial membrane depolarization and the selective death of dopaminergic neurons by rotenone: protective effect of coenzyme Q10. Journal Neurochemistry, 93(5), 1199-1208.
Ware, G.W. (1983). Pesticides: theory and application. WH Freeman & Co. New York. (pp 53).