ถ่านอัดแท่งจากเศษถ่านไม้โกงกางที่ใช้ในการย่างไก่

Main Article Content

วราพร พึ่งพรหม
สิริรัตน์ สุวณิชย์เจริญ
อภิรดี ศรีโอภาส
กุณฑลีย์ บังคะดานรา
สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างเศษถ่านไม้โกงกางที่เหลือจากกระบวนการย่างไก่กับแป้งมันสำปะหลัง การผลิตถ่านอัดแท่งดำเนินการโดยนำเศษถ่านไม้โกงกางที่ใช้ในกระบวนการย่างไก่ มาตากแดดและนำมาร่อนด้วยตะแกรงขนาด 4 มิลลิเมตร เพื่อนำเศษขี้เถ้าออก หลังจากนั้นนำมาเข้าเครื่องบดถ่านเพื่อให้ถ่านมีความละเอียด นำเศษถ่านที่บดแล้วมาผสมกับแป้งมันสำปะหลัง ในอัตราส่วนต่าง ๆ คือ อัตราส่วน 5%, 10%, 20%  นำถ่านที่ผสมแล้วเข้าครื่องอัดถ่านเพื่อให้ถ่านเกิดการอัดตัวเป็นก้อน และนำไปตากแดด เพื่อนำไปทดสอบคุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิง คือ ค่าความร้อน ใช้วิธีวิเคราะห์ ASTM D 5865, ค่าความชื้น ASTM D 7582, สารระเหย ASTM D 7582, คาร์บอนคงตัว ASTM D 3176, เถ้า ASTM D 7582


ผลการวิจัย พบว่า เศษถ่านจากกระบวนการย่างไก่ สามารถนำมาทำเป็นถ่านอัดแท่งสำหรับนำกลับไปย่างไก่ได้ โดยจากการทดสอบ ค่าความร้อน อัตราส่วน 5%, 10%, 20% สามารถให้ค่าสูงสุดอยู่ที่ 6,403 , 6,140, 5,963 กิโลแคลอรี/กก.) สารระเหย 25.62%, 28.10% , 28.81% ถ่านคงตัว 60.18%, 55.50%, 55.19% และเถ้า 3.95%, 3.68%, 3.36% ผลการทดสอบดังกล่าว พบว่า ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของถ่านอัดแท่งของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (2555)  แต่ผลการทดสอบความชื้น มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานเล็กน้อย จากการทดลองสามารถสรุปอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อการนำมาทำถ่านอัดแท่ง คือ อัตราส่วน 5% เพราะเป็นอัตราส่วนที่ให้ค่าความร้อนที่สูง และประหยัดต้นทุนในการผลิต เพราะเป็นอัตราส่วนที่ใช้แป้งมันสำปะหลังน้อยกว่าอัตราส่วนอื่น ๆ การนำเศษถ่านที่ใช้แล้วมาทำการอัดแท่งใหม่ยังเป็นการช่วยลดปัญหาด้านการจัดการของเสียเหลือทิ้ง ช่วยลดการตัดไม้และมลภาวะจากการผลิตถ่านไม้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2555). คู่มือและแนวทางเกณฑ์คุณสมบัติของเสียเพื่อการแปรรูปเป็นแท่ง เชื้อเพลิงและบล็อกประสาน. กรุงเทพฯ: กรมโรงงานอุตสาหกรรม.

กัณมณี แสงสุข. (2554). การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษเยื่อไม้ ขี้เลื่อย และด้าย. วิทยานิพนธ์ปริญญา

วิทยาศาสาตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กานต์ วิรุณพันธ์, ธนารักษ์ สายเปลี่ยน, และสนธยา ทองอรุณศรี. (2560). การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือใช้ในการผลิตข้าวหลาม. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 2(1), 1 – 15.

ณัฐพล วิชาญ, กันยาพร ไชยวงศ์, พรพิมล พรมรักษา, และอภินันท์ กาน้อย. (2562). การผลิตถ่านอัดแท่งด้วยเศษถ่านที่เหลือจากกระบวนการผลิตกล้วยทอดกรอบ. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 3(2), 11-22.

ดวงกมล บุญบำรุง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อสมบัติของถ่านเปลือกไม้โกงกางอัดแท่งในกระบวนการไพโรไลซิสแบบช้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ธนิยา เกาศล, วัฒนา ศรีเกตุ, และวิชัยรัตน์ แก้วเจือ. (2562). ถ่ านอัดแท่งจากเถ้าหนักของโรงไฟฟ้าชีวมวลจากรากไม้ ยางพารา. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ,10 - 12 กรกฎาคม 2562 จังหวัดอุดรธานี (หน้า 2770 – 2776).

ปฐมศก วิไลพล, ปิยะนันท์ เจริญสวรรค์, นพรัตน์ สีหะวงษ์, จิรานุวัฒน์ เม่นเกิด, ปรากรณ์ ประกอบกสิกรณ์ และปิยะวัต คำบุญ. (2562). การวิเคราะห์อัตราส่วนผสมสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงถ่านอัดแท่งจาก เศษถ่านของกระบวนการเผาอิฐมอญ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีล้านนา, 4(1), 43 – 50.

วีระ พันอินทร์. (2561). การพัฒนาเชื้อเพลิงอัดแท่งจากการผลิตร่วมถ่านซังข้าวโพดกับถ่านหินลิกไนต์เหลือทิ้งคุณภาพต่ำ. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 23(1),146 – 163.

หาญณรงค์ บำรุงศิริ. (2553). สมบัติทางกลและทางกายภาพของถ่านไม้อัดก้อนที่ผลิตจากเศษถ่านไม้. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

Kristensen, E., Bouillon, S., Dittmar, T., & Marchand, C. (2008). Organic Carbon Dynamics in Mangrove Ecosystems: A Review. Aquatic Botany, 89 (2008), 201 – 219.

Obi, O.F., Pecenka, R. & Clifford, M. (2022). A Review of Biomass Briquette Binders and Quality Parameters. Energies 2022, 15, 2426, 1 – 22.