การพัฒนาเจลลดปวดเข่าตำรับสมุนไพรป้าป้อสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อการพัฒนาเจลลดปวดเข่าตำรับสมุนไพรป้าป้อสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งถูกพัฒนามาจากผงพอกเข่าที่ผู้บริโภคไม่พึงพอใจต่อกลิ่น เนื้อสัมผัสและบรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนการพัฒนาเจลประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) ศึกษาสารประกอบรวมฟินอล (Total Phenolic Compound) ของสมุนไพรแต่ละชนิดด้วยวิธี Folin-Ciocalteau Method และศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสมุนไพรตำรับ และสมุนไพรเดี่ยวแต่ละชนิด โดยวิธี DPPH Assay 2) พัฒนาเจลลดปวดเข่าจากตำรับสมุนไพรป้าป้อ 3) ทดสอบการออกฤทธิ์ของเจลลดปวดเข่าจากตำรับสมุนไพรป้าป้อกับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในตำบลดงเจน จังหวัดพะเยา จำนวน 120 คน และ 4) ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่วิสาหกิจชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลดงเจน จำนวน 20 คน
ผลการศึกษา พบว่า ตำรับสมุนไพรป้าป้อสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีลดปวดและลดอักเสบ รวมทั้งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ มีคุณสมบัติเหมาะในการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ลดปวด เจลสมุนไพรลดปวดเข่า ถูกพัฒนามาจากผงพอกเข่าสูตรป้าป้อ โดยนำสมุนไพรสกัดน้ำร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก มาทำเป็นรูปแบบเจล เนื่องจากมีลักษณะเนื้อเจลใส สีน้ำตาล มีความหนืดพอดี ไม่แยกชั้น มีค่า pH เฉลี่ย 6.5 เมื่อทำการทดสอบอาการระคายเคืองในอาสามัคร พบว่า อาสาสมัครทั้งหมด ไม่พบอาการระคายเคือง นอกจากนี้ร้อยละ 100.0 ของอาสาสมัครพึงพอใจต่อเจลสมุนไพรระดับมากที่สุด ผลการวิจัยในครั้งนี้นำไปสู่การพัฒนาวิสาหกิจเพื่อเพิ่มรายได้ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเน้นให้ วิสาหกิจชุมชนปรับปรุงบรรจุภัณฑ์เพื่อสะดวกต่อการพกพาของผู้บริโภค และเป็นที่น่าดึงดูดต่อการใช้งาน
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรกนก เอกโยธินวงศ์, นิรมล ศากยวงศ์, สมจิต ดาริห์อนันต์, และวรนันต์ นาคบรรพต. (2563). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดกะเม็ง. Thai Journal of Science and Technology, 9(1), 45-57.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ชุดข้อมูลอัตราการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป สิทธิ UC ของโรงพยาบาลที่ให้บริการ. สืบค้นจาก https://data.go.th/dataset/dataset-ip_21_03
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). แบบประเมินความรุนแรงโรคข้อเข่าเสื่อม. สืบค้นจาก https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/160105145198009251.doc
จักรแก้ว นามเมือง, และมงคลกิตต์ โวหารเสาวภาคย์. (2562). บันทึกพับสาแพทย์พื้นบ้าน ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา. วารสารบัณฑิตแสงโสมคำ, 4(1), 77-88.
ธีรยุทธ เกษมาลี, และสินีนาฏ ชาวตระการ. (2561). ประสิทธิผลของการเผายาสมุนไพรเปรียบเทียบกับการทำกายภาพบำบัดในการรักษาข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิ. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 62(6), 975-985.
นิภาพร ปัญญา, และดวงฤทัย นิคมรัฐ. (2564). การตลาดออนไลน์ของสารสกัดจากหญ้าเอ็นยืดหมัก เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจยั่งยืนในชุมชน วิสาหกิจเกษตรปลอดภัย บ้านม่วงเจริญราษฎร์ ตําบลบ่อสวก จังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
บุษบา ยินดีสุข, หทัยชนก บุญปก, กนกวรรณ แรงราย, ประภาวรรณ สำราญกิจ, เกวลิน ยะถาคาร, วันดี ญาณไพศาล, มณฑกา ธีรชัยสกุล, และกฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์. (2564). ยาพอกสมุนไพรสูตรลุงวินัยต่อการลดปวดเข่า: ความปลอดภัยและผลเบื้องต้น. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 19(3), 617-624.
ปภาวี พรหมสูงวงษ์, สุริยนต์ โคตรชมภู, วิราศิณี อึ้งสำราญ, และธรรมรัตน์ ศรีหะมงคล. (2563). ผลของแผ่นแปะเจลจากสมุนไพรขิงและขมิ้น บรรเทาอาการปวดข้อเข่าในผู้สูงอายุ ในพื้นที่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11, 27 มีนาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสนันทา กรุงเทพมหานคร.
ปัทมา ทองธรรมชาติ, ศุภะลักษณ์ ฟักคํา, อรุณี ยันตรปกรณ์, และเบญจวรรณ พูนธนานิวัฒน์. (2564).
การพัฒนาแผ่นแปะไฮโดรเจลสมุนไพรพอกเข่าบรรเทาอาการปวดเข่าสำหรับผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบางแม่นาง จังหวัดนนทบุรี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(3), 67-79.
พิมพ์ทรัพย์ พิมพิสุทธิ์. (2561). บทบาทหมอเมืองในการส่งเสริมให้ชุมชนพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ตำบลดงมะดะ จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 10(5), 392-403.
ภรดี อัครสุต, สุรศักดิ์ ลิ้มสุวรรณ, และกรกช วิจิตรสวงน เจ็ดวรรณะ. (2563). การเปรียบเทียบผลของตำรับยาจับโปงแห้งเข่า กับเจลพริกในการเสริมการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(2), 270-280.
มะลิวัลย์ บริคุต, และอังคณา อินตา. (2562). พฤกษศาสตร์พื้นบ้านลัวะ ในบ้านน้ำแพะ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. วารสารวิทยาศาสตร์ มข, 42(2), 273-259.
รติรัตน์ ทรัพย์อเนก. (2565). การศึกษาประสิทธิผลของยาสมุนไพรพอกเข่าตำรับที่ใช้ในวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตาโล่ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา : การศึกษาแบบสุ่มไม่ปกปิดทุกฝ่ายและควบคุมด้วยการรักษามาตรฐาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการแพทย์แผนตะวันออก, มหาวิทยาลัยรังสิต.
รุ่งนภา จนัทรา, ชลิตา สุดจันทร์, ชุติกาญจน์ ตั้งรุ่งเจริญ, ญานิกา ทองปา, ฐิติมา นุชยา, ฐิติมา ปานไว, ณฏัฐณิชา ทองแช่ม, ณัฐฑิกา เกลี้ยงขำ, ณัฐธิดา ชำนาญ, จรรยา กำเหนิดเกาะ, และฉลวย เหลือบรรจง. (2564). ผลของการใช้สมุนไพรพอกเข่าลดอาการปวดในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 13(1), 165-173.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2552). การวิจัยและพัฒนา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 1(2), 1-12.
สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ภัณฑิรชา เฟื่องทอง, และผุสดี สระทอง. (2562). การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารวิชาการแพทย์เขต, 33(2), 197-210.
อำพล บุญเพียร, ปฐมา จันทรพล, ปัญจพร หงสะมัต, กรชนก ใจใหญ่, กานติมา ธาตุวิสัย, จันทร์ทิพย์ คล่องเชิงสาร, และจิราภรณ์ สิงหัส. (2563). การพัฒนาสไลม์พอกเข่าสำหรับผู้ป่วยโรคลมจับโปงเข่า โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร. Advance Science Journal, 20(2), 101-117.
Ahmad, W., Jantan, I., Haque, M.A., & Arsyad, L. (2022). Magnoflorine from Tinospora crispa upregulates innate and adaptive immune responses in Balb/c mice. International Immunopharmacology, 111, 109081.
Boonyarikpunchai, W., Sukrong, S., & Towiwat, P. (2014). Antinociceptive and anti-inflammatory effects of rosmarinic acid isolated from Thunbergia laurifolia Lindl. Pharmacology Biochemistry and Behavior, 124, 67-73.
Bindua,S., Mazumderb, S., & Bandyopadhyay,U. (2020). Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) and organ damage: A current perspective. Biochemical Pharmacology, 180, 114117.
Cui, A., Li, H., Wang, D., Zhong, J., Chen, Y., & Lu, H. (2020). Global, regional prevalence, incidence and risk factors of knee osteoarthritis in population-based studies. E -ClinicalMedicine, 26, 100587.
Kang, Y.M., Kim, H.M., Lee, M., Lee, D.S., & Jin An,H. (2020). Anti-inflammatory effects of Eclipta prostrata Linné on house dust mite-induced atopic dermatitis in vivo and in vitro. Journal of Ethnopharmacology, 292, 115233.
Long, H., Liu, Q., Yin, H., Wang, K., Diao, N., Zhang, Y., Lin, J., & Guo, A. (2022). Prevalence Trends of Site-Specific Osteoarthritis from 1990 to 2019: Findings from the Global Burden of Disease Study 2019. Arthritis and Rheumatology, 74(7), 1172-1183.
Sharma, B., Vasudeva, N. & Sharma, S. (2020). Phytopharmacological review on Crinum asiaticum: a potential medicinal herb. The Natural Products Journal, 10(4), 342-354.
Steinmeyer, J., Bock, F., Stöve, J., Jerosch, J., & Flechtenmacher, J. (2018). Pharmacological treatment of knee osteoarthritis: Special considerations of the new German guideline. Frontiers in Psychology, 10, 1-11.
Triastuti, A., Pradana, D.A., Saputra, D.E., Lianika, N, Wicaksono, H.R., Anisari, T.D., & Widyarini, S. (2022). Anti-rheumatoid activity of a hexane-insoluble fraction from Plantago major in female Wistar rats induced by Complete Freund's Adjuvant. Journal of Traditional and Complementary Medicine, 12(3), 219-224.