การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาเปลือกกล้วยหอมทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และศึกษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชาเปลือกกล้วยหอมทอง ที่ผลิตจากกล้วยหอมทองที่ปลูกในจังหวัดเพชรบุรี ผลการศึกษาคุณภาพของชาเปลือกกล้วยหอมทองที่ถูกเตรียมด้วยวิธีการอบแห้ง โดยใช้ตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง พบว่า มีค่ากิจกรรมของน้ำ (aw) เท่ากับ 0.33 ปริมาณสารปนเปื้อนโลหะหนักและจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 426) พ.ศ. 2564 ชาจากพืช และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เรื่องชา (มผช.120/2558) โดยไม่พบจุลินทรีย์ก่อโรคทั้งในส่วนของเชื้อ Salmonella spp. Staphylococcus aureus และ Clostridium spp. และจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดยังอยู่ในเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนด นอกจากนั้นยังไม่พบการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซิน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาเปลือกกล้วยหอมทองมีความปลอดภัยต่อการบริโภค การศึกษาปริมาณการบรรจุชาที่เหมาะสม ในปริมาณที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 3, 5 และ 7 กรัม โดยการทดสอบทางประสาทสัมผัสด้านความชอบกับผู้บริโภคทั่วไปจำนวน 100 คน ด้วยแบบทดสอบแบบ 9 - Point hedonic scale พบว่า น้ำชาที่ชงจากชาที่บรรจุปริมาณ 5 กรัมได้รับคะแนนความชอบในทุกด้านสูงกว่าสูตรอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในส่วนของการศึกษาการยอมรับและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค พบว่าผู้บริโภคร้อยละ 98 ยอมรับ และผู้บริโภคร้อยละ 94 ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชาเปลือกกล้วยหอมทอง จากผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาต่อยอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาเปลือกกล้วยหอมทองในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 414 พ.ศ. 2563 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน. ราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศ, 137 (ตอน พิเศษที่ 118 ง).
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 426 พ.ศ. 2564 เรื่อง ชาจากพืช. ราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศ, 138 (ตอน พิเศษที่ 102 ง).
ณัฐวุฒิ จั่นทอง, และพหล ศักดิ์คะทัศน์. (2559). การยอมรับการผลิตมะม่วงตามหลักเกษตรที่ดีและเหมาะสมของเกษตรกรในอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. วารสารเกษตร, 32(1), 19-27.
นันทนา แฮวอู. (2548). สถานการณ์ กระบวนการผลิตและการส่งออกกล้วยหอมทองปลอดสารพิษ: ศึกษาเฉพาะกรณี "สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด จังหวัดเพชรบุรี". วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
นันทวดี เนียมนุ้ย, และคณะ. (2565). การศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อปรสิตในผัก ที่จำหน่ายในตลาดสดและห้างสรรพสินค้าในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(1), 5-13.
บดินทร์ บุตรอินทร์. (2555). สารพิษจากเชื้อรา: อะฟลาทอกซิน. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่, 45(2), 1-8.
เบญจางค์ อัจฉริยะโพธา, ชลธิษา คณะนา, และนรินรัตน์ แก่นสุข. (2565). การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรไทยและใบหญ้าหวานอบแห้งสำหรับการผลิตชาชงดื่ม. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 3(2), 1-16.
มาดีนา น้อยทับทิม, วรรษมน วัฑฒนายน, สิรินาถ ชูประจง, ตัซนีม สมวงค์, และวุฒิชัย ศรีช่วย. (2566). ผลของอุณหภูมิ ต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในชาใบหม่อน และการผลิตชาใบหม่อนผง. วารสารผลิตกรรมการเกษตร, 5(2), 1-9.
วิไล รังสาดทอง. (2543). เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม. (ม.ป.ป). อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin ). สืบค้นจาก https:// fic.nfi.or.th/foodsafety/upload/damage/pdf/aflatoxin-2.pdf
สิริพร หลอดเงิน. (2548). ชาเขียวเครื่องดื่มยอดฮิต. วารสารสุทธิปริทัศน์, 19(59), 28-36.
สุนันทา คะเนนอก. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาเปลือกล้วยน้ำว้าเพื่อสุขภาพ (รายงานวิจัย). คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา.
สุรชัย อุตมอ่าง, นิรมล อุตมอ่าง, และรัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2558). การยอมรับและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(13), 187-199.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2558). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ชา มผช.120/2558.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2556). การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร. มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ. 9001-2556).
ศิริลักษณ์ ผกามาศ, เสาวภา โชกระโทก, จิรายุส วรรัตน์โภคา, และศศิธร อินทร์นอก. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาย่านางผสมสมุนไพร. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 23(3), 1682- 1695.
อรทัย บุญทะวงศ์. (2547). กรรมวิธีและลักษณะคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะเกี๋ยง ผงชาละลายที่ผลิตโดยวิธีเคลือบผิวน้ำตาลและวิธีอบแห้งแบบโฟม-แมท. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อธิสิทธิ์ นุชเนตร, และสุภาพร เพชรัตน์กูล. (2556). กล้วยหอมทองบ้านลาด : ต้นทุนการผลิตกับความคุ้มค่าในการลงทุน. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 6(2), 1-8.
Anonymous. (2017). EN ISO 6579-1 Microbiology of the food chain – Horizontal method for the detection, enumeration and serotyping of Salmonella – Part 1: Detection of Salmonella spp. International Organization for Standardization. Geneva. Switzerland.
AOAC. (2019). Offcial methods of analysis of AOAC international. Gaithersburg, MD, USA.
Baskar, R., Shrisakthi, S., Sathyapriya, B., Shyampriya, R., Nithya, R., & Poongodi, P. (2011). Antioxidant potential of peel extracts of banana varieties (Musa sapientum).
Food and Nutrition Sciences, 2, 1128-1133.
Maturin, L., & Peeler, J. T. (2001). Bacteriological analytical manual. Chapter 3: Aerobic Plate Count. Retrieved from https://www.fda.gov/food/laboratory-methods-food/bam-chapter-3-aerobic-plate-count
Okolie, J. A., Henry, O. E., & Epelle, E. I. (2016). Determination of the antioxidant potentials of two different varieties of banana peels in two different solvents. Food and Nutrition Sciences, 7(13), 1253-1261.
Rodriguez, R., Jimenez, A., Fernandez-Bolanos, J., Guillen, R., & Heredia, A. (2006). Dietary fiber from vegetable products as source of functional ingredients. Trends in Food Science and Technology, 17(1), 3-15.
Soltani, M., Alimardani, R., & Omid, M. (2011). Evaluating banana ripening status from measuring dielectric properties. Journal of Food Engineering, 105(4), 625-631.
Solomon, H. M., & Lilly, J. R. T. (2001). Bacteriological analytical manual. Chapter 17: Clostridium botulinum. Retrieved from https://www.fda.gov/food/laboratory-methods-food/bam-chapter-17-clostridium-botulinum
Tallent, S., Hait, J., Bennett, R. W., & Lancette, G. A. (2016). Bacteriological analytical manual. Chapter 12: Staphylococcus aureus. Retrieved from https://www.fda.gov/food/laboratory-methods-food/bam-chapter-12-staphylococcus-aureus
Wachirasiri, P., Julakarangka, S., & Wanlapa, S. (2009). The effects of banana peel preparations on the properties of banana peel dietary fiber concentrate. Songklanakarin Journal of Science & Technology, 31(6), 605-611.