การใช้ประโยชน์จากเปลือกส้มโอสีขาวทดแทนเนื้อส้มบางส่วนในผลิตภัณฑ์แยม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสูตรพื้นฐานแยม 2) เพื่อศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของเปลือกขาวส้มโอในผลิตภัณฑ์แยม 3) เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางทางกายภาพ และเคมีของผลิตภัณฑ์แยม และ 4) เพื่อศึกษาการยอมรับของผู้ทดสอบที่มีต่อผลิตภัณฑ์แยมจากเปลือกขาวส้มโอ ผลการศึกษา พบว่า สูตรพื้นฐานจำนวน 4 สูตร ในส่วนของสูตรพื้นฐานของแยมส้ม พบว่า ผู้ชิมให้การยอมรับสูตรที่ 3 มากที่สุดในทุกด้าน ซึ่งสูตรที่ผู้ชิมให้การยอมรับมีปริมาณเนื้อส้ม และน้ำตาลทรายที่เหมาะสมในการทำแยม โดยที่ไม่ต้องมีความเปรี้ยวจากกรดซิตริกแต่ได้จากเนื้อส้มและน้ำตาลทรายที่ลงตัว เปลือกขาวส้มโอที่เหมะสมในผลิตภัณฑ์แยมผู้ชิมให้การยอมรับปริมาณเปลือกขาวส้มโอ อัตราส่วนระหว่างเปลือกขาวส้มโอต่อเนื้อส้มแมนดารินที่ 60:40 ในทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม อยู่ที่ 7.40, 7.15, 7.15, 7.20, 7.20 และ 7.50 ตามลำดับ อยู่ในระดับความชอบปานกลาง ซึ่งมีลักษณะของแยมมีทั้งความวาวข้นหนืดเวลาคนแตกตัวได้ดีทดแทนปริมาณเปลือกส้มโอขาวในแยมมากเกิดจะส่งผลให้ความข้นหนืดและความวาวลดลง องค์ประกอบทางเคมีของแยมจากเปลือกส้มโอขาวสูตรที่ 2 (60:40) พบว่า พลังงาน 157 Kcal. ไขมัน ร้อยละ 0.1 คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 38.9 น้ำตาล ร้อยละ 32.2 โซเดียม 120 มก. ความชื้น ร้อยละ 60.44 และ เถ้า ร้อยละ 0.34 คุณสมบัติทางกายภาพ พบว่า มีค่าความสว่าง (L*) 30.90 ค่าสีเขียว (a*) 5.50 และค่าสีเหลือง (b*) 32.99 การทดสอบผู้บริโภคที่มีผลต่อเปลือกขาวส้มโอทดแทนเนื้อส้มในผลิตภัณฑ์แยม พบว่า ในด้านความชอบที่มีต่อเปลือกขาวส้มโอทดแทนเนื้อส้มในผลิตภัณฑ์แยม ผู้บริโภคให้การยอมรับทางประสาทสัมผัสด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ ความชอบโดยรวมมีค่าเฉลี่ย 7.58 7.36 7.39 8.75 และ 8.28 ตามลำดับ อยู่ในระดับชอบปานกลางถึงชอบมาก ด้านการยอมรับปริมาณเปลือกขาวส้มโอทดแทนเนื้อส้มในผลิตภัณฑ์แยมผู้บริโภคให้การยอมรับแยมเปลือกขาวส้มโอทดแทนเนื้อส้มในผลิตภัณฑ์แยม ร้อยละ 82 และไม่ยอมรับร้อยละ 18
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ครัวพิศพิไร. (ม.ป.ป). แยมส้ม. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=wfpWRnJD7ko&ab_channel=ครัวพิศพิไร
จรรยา โท๊ะนาบุตร. (2564ก). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมโสมนัสเสริมใยอาหารจากเปลือกส้มโอ. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(1), 1-15.
จรรยา โท๊ะนาบุตร. (2564ข). การพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมกระเจี๊ยบผสมอินทผาลัมจากใบเครือหมาน้อย. วารสารวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม, 22(1), 97-111.
ณวรา เปลี่ยนบุญเลิศ. (2562). ศาสตร์แห่งแยมหวานและเปรี้ยว. สืบค้นจาก https://krua.co/cooking_post/sweetsourfruitjam
เบียร์ เลิฟทูอีทส์. (ม.ป.ป). แยมส้ม. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=ZCRjlg8KilI&ab_channel=Love2EatByMizaki
ผกามาศ ราชมนตรี, อิสราภรณ์ สมบุญวัฒนกุล, ญาณิศา บรรยง, ศิโรรัตน์ ศรีชื่น, และธิดารัตน์ แก้วเนตร. (2563). การผลิตแยมมะม่วงมหาชนกผสมมันแกว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(2), 75-87.
พิมพ์มี่ เทสตี้. (ม.ป.ป). แยมส้ม. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=ptQAuyam4-w&ab_channel=PIMMYTASTY
มาดามตวง. (ม.ป.ป). แยมส้ม. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=rQ9UjHdYm9w&ab_channel=MadameTuang
วันเพ็ญ แสงทองพินิจ. (2553). การเสริมใยอาหารจากเปลือกส้มโอในผลิตภัณฑ์หมูยอ. การประชุมวิชาการครั้งที่ 48 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่มที่ 8 สาขาอุตสาหกรรมเกษตร (หน้า 269-276),
-6 กุมภาพันธ์ 2553 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิศณี วรรณนิยม. (2552). การพัฒนาแยมเสาวรสโดยใช้เพกทินจากเปลือกเสาวรส. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมคิด เทียมรัศมี. (2548). การปลูกส้มโอ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: การพิมพ์อักษรสยาม.
สามารถ สายอุต, ลลิตา โชติพฤฒิพงศ์, จักรสุมา พงศ์เศรษฐ์กุล, นัฐวงค์ เฟื่องไพบูลย์, อภิรดี จันครา,
และสิริมา สินธุสำราญ. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมมันม่วงผสมหอมแดง. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 28(2), 1-15.
เสาวภา ไชยวงศ์, ธีรพงษ์ เทพกรณ์, สุจริต ส่วนไพโรจน์, โรมรัน ชูศรี, และอุไรวรรณ ขุนจันทร์. (2553). การประเมินสารออกฤทธิ์สำคัญในกลุ่ม Flavonoids และAnthocyanins ของส้มโอพันธุ์ทองดี พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง พันธุ์ขาวแตงกวา พันธุ์ขาวใหญ่ และพันธุ์ทับทิมสยามที่ปลูกในไทย. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
Adedeji, T. O. (2017). Development and quality evaluation of Jam from Watermelon (Citrullus Lanatus) and Pawpaw (Carica Papaya) juice. Agricultural and Food Sciences, 1(2), 63-71.
AOAC. (2016). Guidelines for Standard Method Performance Requirements. Retrieved from https://www.aoac.org/wp-content/uploads/2019/08/app_f.pdf
Cheong, M. W., Liu, S. Q., Zhou, W., Curran, P., & Yu, B. (2012). Chemical composition and sensory profile of pomelo (Citrus grandis (L.) Osbeck) juice. Food Chemistry, 135(4), 2505-2513.
Roy, M. C., Alam, M., Saeid, A., Das, B. C., Mia, M. B., Rahman, M. A., Eun, J. B., & Ahmed, M. (2018). Extraction and characterization of pectin from pomelo peel and its impact on nutritional properties of carrot jam during storage. Journal of Food Processing and Preservation, 42(1), 1-9.