ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ของประชาชนในอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและหาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ระดับความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของประชาชนในอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 161 คน โดยมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่ 6 ตำบลท่าดินแดง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนเมษายน 2565 แบบสอบถามมีค่า IOC เท่ากับ 0.67-1.00 แบบสอบถามความรู้มีค่า KR-20 เท่ากับ 0.80 ส่วนแบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.78 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Chi-Square และสถิติ Pearson Product Moment Correlation
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ ระดับความเชื่อด้านสุขภาพ และระดับพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 67.10 ,91.30 และ 97.52 ตามลำดับ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ได้แก่ ความเชื่อด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.478, p<0.001) นอกจากนี้อายุ (X2 = 30.363, df=4) และอาชีพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 (X2 = 11.808, df=5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษา
ครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความเชื่อด้านสุขภาพส่งผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ดังนั้นการส่งเสริมให้ประชาชนมีการรับรู้ทางสุขภาพที่ดีและเหมาะสม รวมถึงการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมป้องกันโรคที่ถูกต้องจะทำให้ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคโควิด19 ต่อตนเองครอบครัวและชุมชน อีกทั้งข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนป้องกันโรคติดเชื้อในหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขต่อไป
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมควบคุมโรค. (2565). สถิติและรายงานจำนวนผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/covid19dashboard/dashboard/main.
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น. สืบค้นจาก https://dmsic.moph.go.th/index/detail/8962.
ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.
ธวัชชัย ยืนยาว, ไวยพร พรมวงศ์, และกัลยารัตน์ คาดสนิท. (2564). ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ของนักศึกษาพยาบาลในเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 29(2), 204-13.
ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, และทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการ ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุข และการศึกษา, 21(2), 29-39.
ปิยะนันท์ เรือนคำ, สุคนธา คงศีล, สุขุม เจียมตน, ยุวนุช สัตยสมบูรณ์, และเพ็ญพักตร์ อุทิศ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรผู้ใหญ่: กรณีศึกษาเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(2), 247-259.
พนัชญา ขันติจิตร, ไวยพร พรมวงค์, ชนุกร แก้วมณี ,และอภิรดี เจริญนุกูล. (2564). แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 5(2), 39-53.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าดินแดง. (2565). ข้อมูลจำนวนประชากร จำนวนยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิต. สืบค้นจาก https://healthserv.net/
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2565). ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (PH EOC) กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นจากhttps://ayo.moph.go.th /main/index.php
อัมมันดา ไชยกาญจน์ และปฏิภาณี ขันธโภค. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในประชาชนเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 17(2), 84-94
Becker, M. H., Maiman, L. A., Kirscht, J. P., Haefner, D. P., & Drachman, R. H. (1977). The health belief model and prediction of dietary compliance: A field experiment. Journal of Health and Social Behavior, 18(4), 348-366.
Best, J. W. (1971). Research in education (3rd ed). New Jersey: Prentice Hall.
Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill.
Daba, A., Yazew, T., Kibr, G., & Gebissa, B. (2022). Attitude and preventive practice (KAP) towards COVID-19 pandemic among the residents from Western Oromia, Ethiopia: Cross-sectional survey study. Journal of Biology and Today's World, 11(2), 1-4.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.