การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2

Main Article Content

ญาดา เรียมริมมะดัน
วัลลภ ใจดี
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มสำคัญในการให้บริการสุขภาพต่อผู้สูงอายุ รวมถึงผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ การนำเอาข้อมูล กิจกรรมและคำแนะนำในการปฏิบัติตัวตามแนวคิดทางสุขภาพมานำเสนอผ่านสมาร์ทโฟน ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุเข้าถึงข้อมูลที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ สามารถเรียนรู้และนำไปใช้ในการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม ส่งผลให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 2) ประเมินความสมบูรณ์ของเว็บแอปพลิเคชัน และ 3) ประเมินความพึงพอใจของเว็บแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จากผู้เชี่ยวชาญ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 ท่าน และผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) เว็บแอปพลิเคชันควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ใช้โปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache ประมวลผลด้วยภาษา PHP ฐานข้อมูล MySQL และใช้โปรแกรม Visual studio code สำหรับสร้างเว็บแอปพลิเคชัน 2) แบบประเมินความสมบูรณ์ของเว็บแอปพลิเคชัน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.76 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.87 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


            ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินความสมบูรณ์เว็บแอปพลิเคชันมีค่าเฉลี่ยระดับอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 98 (gif.latex?\bar{X}= 19.60, S.D. = 0.547) และผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความพึงพอใจต่อเว็บ
แอปพลิเคชันโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.66, S.D. = 0.546) ดังนั้นเว็บแอปพลิชั่นจึงมีความพร้อมที่จะนำไปใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในวงกว้างต่อไป ซึ่งจะนำไปสู่การลดภาวะแทรกซ้อนและช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2565). กรมอนามัยเผย ผู้สูงวัยป่วยเบาหวานเป็นอันดับ 2 รองจากความดัน แนะคุมอาหารน้ำตาล ออกกำลังกาย. สืบค้นจาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/141165.

กษมา ดอกดวง, บุญมี โททำ, และปิยภัทร โกษาพันธุ์. (2564). การพัฒนาแอ็ปพลิเคชันช่วยดูแลสุขภาพผู้ป่วย โรคเบาหวาน สำหรับผู้สูงอายุ ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11(2), 53–65.

กองสุขศึกษา. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์.

พรเทพ ด่านน้อย, อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา, และไพศาล สิมาเลาเต่า. (2562). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้บริการผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 11 – 12 กรกฎาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

นัชชา เธอจันทึก, ไพศาล สิมาเลาเต่า, และอุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา. (2565). การพัฒนาต้นแบบระบบให้คำปรึกษาแบบโต้ตอบโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยเว็บโมบายและเว็บแอปพลิเคชัน. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 7 – 8 กรกฎาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มนศภรณ์ สมหมาย, ชนัญญา จิระพรกุล, และเนาวรัตน์ มณีนิล. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมไม่ได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร : การศึกษาแบบจับคู่ย้อนหลัง. วารสารควบคุมโรค, 47(2), 289-299.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์, ประภากร ศรีสว่างวงศ์, ปภาวี รัตนธรรม, และพัชระ นาเสงี่ยม. (2562). นวัตกรรมโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลสำหรับผู้สูงอายุ. (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิลาสินี หงสนันทน์, และศุภชัย อินสุข. (2562). การพัฒนาแบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชันทางสุขภาพของไทย. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11(1), 181-193.

วุฒิพงศ์ ชินศิริ, และศิริวรรณ วาสุกรี. (2558). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการวิเคราะห์ข้อสอบปรนัย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1), 1-17.

ศิริพล แสนบุญส่ง. (2559). การพัฒนาเว็บไซต์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาด้วยระบบบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 117-128.

อมีนา ฉายสุวรณ, และชุมพล จันทร์ฉลอง. (2566). การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันพจนานุกรมคำศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 18(2), 29-44.

อังศินันท์ อินทรกำแหง, และแม็คก้าสกิล แอน. (2562). การประเมินและการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและสุขภาวะครอบครัวกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง: การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุทาง

วัฒนธรรมของพฤติกรรมสุขภาพและโปรแกรมจิตวิทยาเชิงบวกและความรอบรู้ด้านสุขภาพ: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.

Karuranga, S., Fernandes, J. d. R., Huang, Y., & Malanda, B. (2017). IDF Diabetes Atlas. Brussels, Belgium: International Diabetes Federation.

King, A. C., et al. (2016). Effects of three motivationally targeted mobile device applications on initial physical activity and sedentary behavior change in midlife and older adults: a randomized trial. PloS one, 11(6), e0156370. doi:10.1371/journal.pone.0156370

Orem, D. E. (2001). Nursing: Concepts of practice. (6th ed.). St.Louis, MO: Mosby.

Reamrimmadun Y.,Jaidee W., Wattanaburanon A. (2024). A Causal Relationship Model of Health Literacy, Self-Efficacy Perception, Self-Care Behaviors on Blood Sugar Levels among Elderly people with Type 2 Diabetes. Journal of Health Sciences, 14(1).

Sun, H., Saeedi, P. et al. (2022). IDF Diabetes Atlas: Global, regional and country-level diabetes prevalence estimates for 2021 and projections for 2045. Diabetes research and clinical practice, 183, 109119. https://doi.org/10.1016/j.diabres.2021.109119

Yangchen T., & Chintakovid T. (2014). Mobile phone Applications design Quideline for the future generation of elderly users. International Conference on Trends in Multidisciplinary Business and Economics Research, 27-28 March 2014, Bangkok, Thailand.