ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยากับความเข้มข้นฝุ่นละออง PM2.5 จำแนกตามฤดูกาล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความเข้มข้นฝุ่นละออง PM2.5 และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยากับความเข้มข้นฝุ่นละออง PM2.5 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตาม ฤดูกาล ใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายวัน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2566 ของความเข้มข้นฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ สถานีตรวจวัดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (36T) จากกรมควบคุมมลพิษ และปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยา ได้แก่ ความเร็วลม ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ จากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ เตรียมข้อมูลก่อนการวิเคราะห์โดยตรวจสอบความสมบูรณ์ จัดการข้อมูลสูญหาย และแบ่งข้อมูล 4 กลุ่ม ดังนี้ 1) ข้อมูลตรวจวัดต่อเนื่อง 2) ข้อมูลตรวจวัดในฤดูฝน 3) ข้อมูลตรวจวัดในฤดูหนาว และ 4) ข้อมูลตรวจวัดในฤดูร้อน โดยแบ่งฤดูฝน (16 พฤษภาคม-15 ตุลาคม) ฤดูหนาว (16 ตุลาคม-15 กุมภาพันธ์) และฤดูร้อน (16 กุมภาพันธ์-15 พฤษภาคม) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Kruskal-Wallis Test สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอย ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นฝุ่นละออง PM2.5 ทุกฤดูมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 โดยฤดูร้อนมีค่าเฉลี่ยความเข้มข้นฝุ่นละออง PM2.5 มากที่สุด ซึ่งมีค่าเกินค่ามาตรฐาน ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน และความเร็วลมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเข้มข้นฝุ่นละออง PM2.5 อุณหภูมิมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเข้มข้นฝุ่นละออง PM2.5 ยกเว้นฤดูหนาว จากข้อมูลการตรวจวัดต่อเนื่อง ทุกปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยาร่วมกันคาดการณ์ความเข้มข้นฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 61.2%
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ประเทศไทย). (2561). รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศโลก พ.ศ. 2561
การจัดอันดับมลพิษ PM2.5 ของเมืองและภูมิภาคทั่วโลก. สืบค้นจาก https://www.greenpeace.or.th/s/right-to-clean-air/2018-world-air-quality-report.pdf
กรมควบคุมมลพิษ. (2563). รู้รอบทิศมลพิษทางอากาศ. สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th/publication/4720
กรมควบคุมมลพิษ. (2564). คู่มือปฏิบัติการในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5. สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th/publication/13479
กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2565. สืบค้นจาก https://www.pdcd.go.th/publication/30311
ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ, และณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ. (2563). แหล่งกำเนิด ผลกระทบและแนวทางจัดการฝุ่นละออง PM2.5 บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(1), 461-474.
ชาคริต โชติอมรศักดิ์, และดวงนภา ลาภใหญ่. (2561). ปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่สัมพันธ์ต่อการเกิดปัญหามลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 9(2), 237-249.
ชลธิดา เชิญขุนทด. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน(PM10) กับปัจจัยด้านภูมิอากาศบริเวณพื้นที่ 7 จังหวัดภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช.
ประชุม สุวัตถี, พาชิตชนัต ศิริพานิช, จิราวัลย์ จิตรถเวช, และสำรวม จงเจริญ. (2555). ระเบียบวิธีสถิติ 1. กรุงเทพฯ: โซดา แอดเวอร์ไทซิ่ง.
ประชุม สุวัตถี. (2554). ทฤษฎีการชักตัวอย่าง 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปรัชญา สิงหวรวงศ์. (2563). การพยากรณ์ฝุ่น PM2.5 ล่วงหน้าในจังหวัดเชียงใหม่โดยใช้แบบจำลองหน่วยความจำระยะสั้นแบบยาว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธิติยา ศรีนาราง, และรังสรรค์ เกตุอ๊อต. (2563). การประเมินปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ด้วยวิธีการประมาณค่าเชิงพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่, 1(2), 35-47.
มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2562). โครงการแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน. (รายงานวิจัย). นนทบุรี: มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.
วิรัชช พานิชวงศ์. (2549). การวิเคราะห์การถดถอย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ศุภลักษณ์ หาญสูงเนิน, และสามัคคี บุญยะวัฒน์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างฝุ่นละอองในบรรยากาศกับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย: ปริมาณรังสีสุทธิ อุณหภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วลม. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 3-5 กุมภาพันธ์ 2553 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2564). สุขภาพคนไทย 2564: COVID-19 มหันตภัยร้ายเขย่าโลก. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. (2565). บรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://www.chiangmai.go.th/managing/public/D8/8D17Jan2022133138.pdf
สุวิมล ติรกานันท์. (2553). สถิตินันพาราเมตริก. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
GBD 2019 Risk Factors Collaborators. (2020). Global burden of 87 risk factors in 204 countries and territories, 1990-2019: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2019. Lancet, 396(10258), 1223-1249.
Hinkle, D. E., & William, W., & Stephen, G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.
WHO. (2023). Air pollution: The invisible health threat. Retrieved from http://www.who.int/news-room/feature-stories/detail/air-pollution--the-invisible-health-threat