ผลของสารละลายโซเดียมไฮโพคลอไรต์ ชนิดบรรจุภัณฑ์ และอุณหภูมิเก็บรักษาต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักน้ำเบตง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารละลายโซเดียมไฮโพคลอไรต์ในการลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดของผักน้ำเบตง (Nasturtium officinale W.T. Aiton) รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ วิธีการบรรจุ และการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของผักน้ำที่เหมาะสม เบื้องต้นมีการศึกษาวิธีการล้างผักน้ำด้วยการจุ่มแช่ในสารละลายโซเดียมไฮโพคลอไรต์ (Sodium hypochlorite 6% w/w, Clorox) 1, 1.5 และ 2% w/v เปรียบเทียบกับการล้างด้วยน้ำประปา เป็นเวลา 1, 5 และ 10 นาที ผลการทดลอง พบว่า การใช้ Clorox 1% w/v นาน 10 นาที สามารถลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับการล้างด้วยน้ำประปา การใช้ Clorox ทุกความเข้มข้นไม่สามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดได้ โดยการล้างด้วยน้ำประปานาน 10 นาที ถูกคัดเลือกใช้ในการเตรียมผักน้ำหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อบรรจุในถุงพลาสติก 2 ชนิด ได้แก่ ถุงพอลิโพรพีลีน (Polypropylene, PP) และถุงหายใจได้ Active PAKTM (AP) เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25±2°C และ 12±2°C เป็นเวลา 6 วัน พบว่า การใช้ถุง PP เปรียบเทียบกับถุง AP ที่อุณหภูมิ 12±2°C ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงค่าความแตกต่างสีโดยรวม (∆E*) แต่การเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) และเก็บรักษาได้นานเพียง 2 วัน เมื่อจำลองสภาวะขนส่งทางไกลโดยการบรรจุผักน้ำในกล่อง 2 ชนิด ได้แก่ กล่องกระดาษ (กล่องไปรษณีย์) และกล่องโฟมร่วมกับน้ำแข็ง แล้วนำผักน้ำมาเก็บรักษาต่อที่อุณหภูมิ 25±2°C และ 5±2°C พบว่า การขนส่งผักน้ำด้วยการบรรจุในกล่องโฟมร่วมกับน้ำแข็ง ทำให้เมื่อนำผักน้ำมาเก็บรักษาต่อที่อุณหภูมิ 5±2°C ผักน้ำคงความสดและมีสีเขียวในระดับคะแนนเท่ากับ 3 คะแนน ซึ่งยอมรับได้และสามารถซื้อขายได้นาน 6 วัน
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2555). คู่มืออาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เบญจมาศ กรส่งแก้ว. (2549). ผลของการลดอุณหภูมิด้วยน้ำเย็นและบรรจุภัณฑ์ บรรยากาศดัดแปลงต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาผักคะน้าแปรรูปพร้อมบริโภค. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
เบญจมาศ จันทร์ฉวี, สถาพร พฤฒิพรรลาย, และปฤษณา เรืองรัตน์. (2556). ผลของผักน้ำเบตงสดและผักน้ำเบตงปรุงสุกต่อแอคติวิตีของไซโทโครม พี450 1เอ2 ในหนูขาวผ่านปฏิกิริยาเอ็น-ดีเมทิเลชันของคาเฟอีน. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นจาก https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/11140/1/415890-abstract.pdf
สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร. (2560). เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560). กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธรณสุข จังหวัดนนทบุรี. สืบค้นจาก http://bqsf.dmsc.moph.go.th/bqsfWeb/index.php/bio/
AOAC. (2000). Official method of analysis of AOAC international. (17th ed.). Washington, D.C.: A.O.A.C.
Artés, F., Gómez, P. Aguayo, E., Escalona, V., & Artés-Hernández, F. (2009). Sustainable sanitation techniques for keeping quality and safety of fresh-cut plant commodities. Postharvest Biology and Technology, 51(3), 287-296.
Beuchat, L .R. (2000). Surface decontamination of fruits and vegetables eaten raw: a review. Center for Food Safety and Quality Enhancement. Retrieved from https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/64435/WHO_FSF_FOS_98.2.pdf?sequence=1
Buchanan-Wollaston, V. (1997). The molecular biology of leaf senescence. Journal of Experimental Botany, 48(2), 181-199.
de São José, J. F. B., & Vanetti, M. C. D. (2015). Application of ultrasound and chemical sanitizers to watercress, parsley and strawberry: microbiological and physicochemical quality. LWT-Food Science and Technology, 63(2), 946-952.
Fahmy, K., & Nakano, K. (2013). Influence of relative humidity on development of chilling injury of cucumber fruits during low temperature storage. Asia Pacific Journal of Sustainable Agriculture Food and Energy, 1(1), 1-5.
Gu, G., Zhou, B., Mendes-Oliveira, G., Redding, M., Luo, Y., Millner, P., & Nou, X. (2023). Impact of sanitizer application on Salmonella mitigation and microbiome shift on diced tomato during washing and storage. Postharvest Biology and Technology, 198, 1-12.
Hecht, S. S., Chung, F. L., Richie Jr, J. P., Akerkar, S. A., Borukhova, A., Skowronski, L., & Carmella, S. G. (1995). Effect of watercress consumption on metabolism of a tobacco-specific lung carcinogen in smokers. Cancer Epidemiology, Biomarkers & Prevention, 4(8), 877-884.
Klimek-Szczykutowicz, M., Szopa, A., & Ekiert, H. (2018). Chemical composition, traditional and professional use in medicine, application in environmental protection, position in food and cosmetics of Nasturtium officinale (watercress)- a review. Fitoterapia, 129, 283-292.
Quirino, B. F., Noh, Y. S., Himelblau, E., & Amasino, R. M. (2000). Molecular aspects of leaf senescence. Trends in Plant Science, 5(7), 278-282.
Rico, D., Martín-Diana, A. B., Barat, J. M., & Barry-Ryan, C. (2007). Extending and measuring the quality of fresh-cut fruit and vegetables: a review. Trends in Food Science & Technology, 18(7), 373-386.
Shi, J. Gao, L., Zuo, J., Wang, Q., Wang, Q., & Fan, L. (2016). Exogenous sodium nitroprusside treatment of broccoli florets extends shelf life, enhances antioxidant enzyme activity, and inhibits chlorophyll-degradation. Postharvest Biology and Technology, 116, 98-104.
Sun, Y., & Li, W. (2017). Effects the mechanism of micro-vacuum storage on broccoli chlorophyll degradation and builds prediction model of chlorophyll content based on the color parameter changes. Scientia Horticulturae, 224, 206-214.
Wiley, R. C., & Yildiz, F. (1994). Minimally processed refrigerated fruits and vegetables. U.S.A.: Chapman & Hall.
Zhang, C., Hou, W., Zhao, W., Zhao, S., Wang, P., Zhao X., & Wang, D. (2023). Effect of ultrasound combinated with sodium hypochlorite treatment on microbial inhibition and quality of fresh-cut cucumber. Foods, 12(4), 1-17.