การพัฒนาแผ่นไม้เทียมจากพลาสติกชีวภาพรีไซเคิลผสมผงกะลามะพร้าว

Main Article Content

ภควัต เกอะประสิทธิ์
อดิศร จรัลวรกูลวงศ์
อิทธิ ผลิตศิริ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผ่นไม้เทียมจากพลาสติกชีวภาพรีไซเคิลผสมผงกะลามะพร้าวสำหรับปัญหาปริมาณขยะในชุมชน ซึ่งแผ่นไม้เทียมจะมีส่วนประกอบของพลาสติกโพลีแลกติกแอซิด (PLA)
ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพผสมกับผงกะลามะพร้าว วัสดุเชิงประกอบนี้เป็นช่องทางที่มีศักยภาพในการนำขยะพลาสติกชีวภาพกลับมาใช้ใหม่ โดยเฉพาะ PLA และกะลามะพร้าวที่เหลือจากชุมชนและการเกษตรกรรมมาเป็นวัสดุผสม กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการบดและการอัดวัสดุเชิงประกอบด้วยความร้อน โดยใช้เครื่องอัดขึ้นรูปร้อน อัตราส่วนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี 5 อัตราส่วน ได้แก่ 90:10 80:20 70:30 60:40 และ 50:50 ต่อจากนั้น แผ่นจะถูกทำให้เป็นเม็ดและฉีดขึ้นรูปเป็นชิ้นงานทดสอบโดยใช้เครื่องฉีดที่อุณหภูมิ 260 องศาเซลเซียส สำหรับการทดสอบทางกลและทางกายภาพ ผลการทดลองระบุว่าปริมาณผงกะลามะพร้าวในส่วนผสมมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติของวัสดุเชิงประกอบ ส่งผลให้มีความแข็งและความหนาแน่นเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็เพิ่มปริมาณความชื้นและการดูดซึมน้ำด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ความต้านทานแรงดึงและความต้านทานแรงกระแทกลดลง การวิจัยนี้ได้เลือกอัตราส่วนการผสม 90:10 สำหรับการผลิตเป็นไม้เทียมเพื่อใช้ประโยชน์ ทางด้านการก่อสร้าง และสถาปัตยกรรม เนื่องจากอัตราส่วนดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.2998-2562) นอกจากนี้ยังช่วยลดขยะที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและวัสดุเหลือใช้จากกะลามะพร้าวอันเป็นปัญหาสำหรับบุคคลในชุมชนอีกด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2566). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กิตติพันธ์ บุญโตสิตระกูล, อิทธิ ผลิตศิริ, ปราโมทย์ วีรานุกูล, และกิตติพงษ์ สุวีโร. (2566). การพัฒนาแผ่นชิ้นไม้อัด จากเศษกิ่งไม้ต้นมะยงชิดเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนท้องถิ่นและส่งเสริมแนวคิดขยะเหลือศูนย์.

วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 18(3), 121-135.

จันทิมา ชั่งสิริพร, พฤกระยา พงศ์ยี่หล้า, และนิรณา ชัยฤกษ์. (2566). ศึกษาการเตรียมพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้จากฟางข้าวและไคโตซาน. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 51(1), 69-77.

ตรีรัตน์ เจริญกุล. (2561). ผลกระทบของอัตราการเติมและอุณหภูมิของอากาศที่เข้าต่อประสิทธิภาพการย่อย สลายของเปลือกผลไม้ในถังหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

นิพนธ์ ตันไพบูลย์กุล, ธรพร บุศย์น้ำเพชร, กนกวรรณ ศุกรนันทน์, และพิมผกา โพธิลังกา. (2565).

กระถางชีวภาพ จากผักตบชวาโดยใช้แป้งมันสำปะหลังและกากมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน. วารสารวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 8(1), 56-69.

พนุชศดี เย็นใจ, ทรงกลด จารุสมบัติ, และธีระ วีณิน. (2559). การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษเหลือทิ้งของไม้เสม็ดขาว. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 131-140.

ภควัต เกอะประสิทธิ์, ปราโมทย์ วีรานุกูล, อิทธิ วีรานุกูล, กิตติพงษ์ สุวีโร, และกิติวร ม่วงพรับ. (2564). การพัฒนาแผ่นชิ้นไม้อัดเทียมจากเปลือกไม้กระถินณรงค์เพื่อใช้ในงานวัสดุตกแต่ง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 19(1), 125-135.

สถิตรัตน์ รอดอารี. (2556). บทความพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ. สืบค้นจาก http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5650.

สำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. 2561 - 2565 (ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565). ปราจีนบุรี: กระทรวงมหาดไทย

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.). (2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่องแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดราบ (มอก.876-2547). กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.). (2562). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่องไม้สังเคราะห์จากพลาสติกชีวมวล (มอก.2998-2562). กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล, อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์, กุลวดี สังข์สนิท, สุภา จุฬคุปต์, และสุทัศนีย์ บุญโญภาส. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากแป้งเมล็ดขนุน. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 21(2),

-228.

Chawla, S., Varghese, B. S., Chithra, A., Hussain, C. G., Keçili, R., & Hussain, C. M. (2022). Environmental impacts of post-consumer plastic wastes: Treatment technologies towards eco-sustainability and circular economy. Chemosphere, 135867.

Chen, Y., Fu, J., Dang, B., Sun, Q., Li, H., & Zhai, T. (2020). Artificial wooden nacre: a high specific strength engineering material. ACS nano, 14(2), 2036-2043.

Huang, J., Veksha, A., Chan, W. P., Giannis, A., & Lisak, G. (2022). Chemical recycling of plastic waste for sustainable material management: A prospective review on catalysts and processes. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 154, 111866.

Singh, M., & Kaneko, T. (2023). Ultra-tough artificial woods of polyphenol-derived biodegradable Co-polymer with Poly (butylene succinate). Heliyon, 9(6), E16567.

Yu, Z. L., Yang, N., Zhou, L. C., Ma, Z. Y., Zhu, Y. B., Lu, Y. Y., Qin, B., Xing, W. Y., Ma, T., Li, S. C., Gao, S. C., Wu, H. A., & Yu, S. H. (2018). Bioinspired polymeric woods. Science advances, 4(8), 7223.