การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชือไวรัสโคโรนา 2019 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พัลลภ ไกยะวินิจ
สุภาพร ใจการุณ
กุลชญา ลอยหา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) พัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย บุคลากรสาธารณสุข และภาคีเครือข่าย จำนวน 74 คน และกลุ่มคนสำหรับการประเมินผลรูปแบบ จำนวน 267 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ Paired Sample t- test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบเก่า เป็นการดำเนินการตามแนวทางและมาตรการของคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่ออำเภอเมือง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ซึ่งปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่มีภาระงานเพิ่มขึ้น ขาดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการติดต่อ และการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เกี่ยวกับโรคขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชน 2) รูปแบบใหม่ที่ได้จากการศึกษา คือ  รูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วย 5 มาตรการ ดังนี้  มาตรการที่ 1 ติดตามการเฝ้าระวังป้องกันโรค ในชุมชน มาตรการที่ 2 เสริมสร้างความรู้เรื่องโรค มาตรการที่ 3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังโรค มาตรการที่ 4
ส่งต่อ/รักษา มาตรการที่ 5 สร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคในชุมชน 3) ผลของการใช้รูปแบบฯ คือ ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พฤติกรรมการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 และการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีระดับคะแนนดีขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P<0.001, 95%Cl =2.91-3.29, P<0.001, 95%Cl=0.28-0.12 และ P<0.001,95%  Cl=0.62-0.50 ตามลำดับ)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ถนอม นามวงศ์ และคณะ. (2564). การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดยโสธร. วารสารควบคุมโรค. 47(ฉบับเพิ่มเติม), 1179-1190.

ทนงศักดิ์ หลักเขต. (2565). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อําเภอเมืองอุบลราชธานี ด้วยกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (พชอ.). วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 3(3), 61-69.

ทวิติยา สุจริตรักษ์. (2563). ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับไวรัส SARS-CoV-2: ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19. สืบค้นจาก https://www.pidst.or.th/A966.html.

แพรพรรณ ภูริบัญชา, ชิดพงษ์ มงคลสินธุ์, และปวีณา จังภูเขียว. (2565). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) ของสถานประกอบการ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 31(1), 49-63.

ศูนย์ข้อมูล COVID จังหวัดอุบลราชธานี. (2564). รายงานสถานการณ์ โควิด-19. สืบค้นจาก https://covid19.th-stat.com.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากโรค COVID-19 เอกสารเผยแพร่สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สํานักงานองค์การอนามัยโลกประจําประเทศไทย. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด 19). สืบค้นจาก https://cdn.who.int/media/docs/defaultsource/searo/thailand/2021

Daniel, W.W. (1999). Biostatistics : A foundation of analysis in heatth sciences. (7"ed.) New York: John Wiley & Sons.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1991). The Action Research Planer. 3rd ed. Victoria: Deakin University.

World Health Organization. (2020). Guidelines on physical activity and sedentary behaviour. Geneva: World Health Organization.