รูปแบบแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ด้านคอมพิวเตอร์แบบผสมผสานผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อพัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์แบบผสมผสานผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 2. เพื่อประเมินรูปแบบแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีด้านคอมพิวเตอร์แบบผสมผสานผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ วิธีการดำเนินการวิจัยใช้การสังเคราะห์เอกสาร เพื่อให้ได้รูปแบบการประเมินรูปแบบใช้การหาค่าค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากแบบประเมินรูปแบบที่สร้างขึ้นซึ่งผ่านการหาค่าความสอดคล้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบการเรียนการสอนและการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนข้อมูลนำเข้าการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2) ส่วนกระบวนการนิเทศ 3) ส่วนผลลัพธ์ของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ 4) ส่วนผลสะท้อนกลับผลการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้นจากกลุ่มตัวอย่างพบว่าความเหมาะสมของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60 ส่วนความเหมาะสมของรูปแบบในรายด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยมีค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.48 และ0.52 ตามลำดับ
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กิตติพงษ์ ผลสว่าง. (2553). การพัฒนาระบบนิเทศออนไลน์ในการติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กนกพงศ์ จิตต์ปลื้ม. (2549). ที่ทำการวิจัยเรื่อง ผลของการใช้แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548. (2548).ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา, 122 (ตอนพิเศษ39 ง), 1-24.
ประกอบ กรณีกิจ. (2550). การพัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้การประเมินตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประทีป นานคงแนบ. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสม สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม สถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. (2547) ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา, 121 (ตอนพิเศษ 23 ก), 1-24.
มาตรฐานและการประกันคุณภาพการดำเนินงานสหกิจศึกษา. (2552). นครราชสีมา : สมาคมสหกิจศึกษาไทย.
สุจินดา ม่วงมี. (2549). บทบาทและความรับผิดชอบของอาจารย์นิเทศตามการรับรู้ของนิสิตฝึกสอน อาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศ. วารสารศึกษาศาสตร์,17 (2), 31-46.
อธิปลักษณ์ โชติธนประสิทธิ์. (2557). สมาร์ทโฟนคืออะไร? แท็บเล็ต-แฟบเล็ต ต่างกันอย่างไร?, 15 พฤศจิกายน 2557. http://news.siamphone.com/news-14121.html
Wetzel, K., &Strudler, N. (2006). Costs and benefits of Electronic portfolios in teacher education: Student voices. Journal of Computing in Teacher Education, 22(3), 69–78.