การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการสืบค้นข้อมูลในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาโปรแกรมระบบฐานข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล การซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง และเพื่อเป็นการวัดผลความพึงพอใจในการใช้โปรแกรม Microsoft Office Access เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มพนักงานบริษัทก่อสร้าง ในเขตจังหวัดนนทบุรี จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมี 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป และความพึงพอใจต่อการใช้ระบบสารสนเทศในการค้นหาข้อมูลการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง ด้วยการใช้โปรแกรม Microsoft Office Access แบบสอบถามมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.819 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า หลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติจากแบบสอบถามแล้วสรุปได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 62 มีอายุ 20-30 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 39 ระดับการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ( ปวช. ) ร้อยละ 30 มีตำแหน่งฝ่ายซ่อมบำรุง คิดเป็นร้อยละ 56 มีประสบการณ์ในการทำงานต่ำกว่า 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 29 และในส่วนที่ 2 ข้อมูล ด้านความพึงพอใจในการใช้โปรแกรม ระดับความพึงพอใจในการใช้งานโปรแกรม Microsoft Access โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.998) เมื่อพิจารณาพบว่ามีความพึงพอใจ ในระดับมากทุกข้อ ซึ่งเรียงลำดับค่าเฉลี่ยในแต่ละข้อ จากมากไปหาน้อยใน 5 อันดับแรกได้ ดังนี้ ลำดับที่ 1 ระบบมีความเหมาะสมของเมนูการใช้งาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.30) ลำดับที่ 2 ความถูกต้องในการเรียกข้อมูล อยู่ในระดับมาก ( = 4.13) ลำดับที่ 3 ความเร็วในการค้นหาข้อมูล เพื่อให้ทันเวลาในการทำงานของแต่ละงาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.11) ลำดับที่ 4 ระบบมีความถูกต้องของการประมวลผล สูตรคำนวณและรายงานต่าง อยู่ในระดับมาก ( = 4.07) ลำดับที่ 5 ระบบสามารถอำนวยความสะดวกในการจัดทำรายงานผลการดำเนินการด้านต่างๆ ให้กับผู้บริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก ( = 4.06)
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. 2548, ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : แซทโฟร์ พริ้นติ้งต์.
เกียรติสุดา ศรีสุข. 2552, ระเบียบวิธีวิจัย.เชียงใหม่ : โรงพิมพ์การช่าง
อรรถกร เก่งพล. 2548, ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System). กรุงเทพฯ. เจเนซีสมีเดียคอม.