การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานเพื่อการส่งออก

Main Article Content

วุฒิชัย วิถาทานัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานเพื่อการส่งออก 2. เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานกรณีศึกษากลุ่มจักสานจังหวัดชลบุรีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลจากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารตำรา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักออกแบบและผู้ประกอบการ นำมาวิเคราะห์และพัฒนาได้ลักษณะรูปแบบของเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานเพื่อการส่งออกทั้งหมด 8 เกณฑ์คือ 1. อัตลักษณ์ไทย                  2. รูปแบบ 3. กระบวนการผลิต 4. วัสดุ 5. การใช้งาน 6. ความสวยงาม 7. คุณค่า 8. การออกแบบและตกแต่ง จากการประเมินประสิทธิภาพของเกณฑ์โดยนักวิชาการมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับที่เหมาะสมมาก มีค่าเฉลี่ย 4.41 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64  นำรูปแบบเกณฑ์ที่พัฒนาขึ้น สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน               จากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จำนวน 15 รูปแบบ ผลการประเมินคุณภาพต้นแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องจักสานเพื่อส่งออกของนักวิชาการพบว่า กลุ่มที่ 1 มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.49 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  0.85 กลุ่มที่ 2 มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.14 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54                     โดยรูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากทั้ง 2 กลุ่ม ที่มีคะแนนมากที่สุดคือ  รูปแบบที่ 13 กระเป๋าสตรี มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.95 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.04 นำรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากที่สุดมาประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาอยู่ระดับความพึงพอใจมาก  มีค่าเฉลี่ย 4.02 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ประกอบการ อยู่ระดับ  ความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย 3.78 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.67 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่สนใจอยู่ระดับความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย 4.29 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63  แบบจำลองการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานเพื่อการส่งออกมีองค์ประกอบหลักคือ รูปแบบผลิตภัณฑ์และเกณฑ์การออกแบบ  รูปลักษณ์เครื่องจักสาน ทฤษฏีการวิจัย แนวคิดในการออกแบบประกอบด้วย การประเมินผลเกณฑ์การออกแบบ 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2546).แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทย. สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ.(2555).แนวทางและหลักเกณฑ์การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ.2555

นิรัช สุดสังข์.(2548).ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์

มาโนช กงกะนันทน์.(2538).รายงานวิจัย การรรวบรวมและศึกษาเครื่องจักสาน จ.ราชบุรี.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์การฟิคอาร์ต.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2538). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: พับลิคบิสเนสพริ้นท์.

วิวัฒน์ชัย บุญยศักดิ์. (2532). ศิลปหัตถกรรมไทย. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ศักดิ์ชาย สิกขา.(2552).รูปแบบและวิธีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทำประมงในแถบลุ่มน้ำโขง.งบประมาณตามโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2549). เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.