กรณีศึกษาการวิเคราะห์ประมาณปริมาณเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อย ในงานก่อสร้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Main Article Content

ธวัชชัย สีมาโลฤทธิ์
นพรัตน์ สวัสดิ์สกล

บทคัดย่อ

ในงานก่อสร้างทั่วไปเหล็กเส้นนับเป็นวัสดุที่สำคัญ เนื่องจากเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก  งานก่อสร้างในปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านทรัพยากรและเทคโนโลยีเป็นผลที่ทำให้วัสดุก่อสร้าง      มีราคาสูงขึ้น เมื่อราคาเหล็กเส้นสูงขึ้นส่งผลให้ค่าวัสดุก่อสร้างของโครงการสูงขึ้นตามไปด้วย  จากการศึกษาพบว่าการประมาณปริมาณวัสดุเหล็กเส้นยังมีการคำนวณที่ผิดพลาด ขาดความแม่นยำ  ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้โครงการก่อสร้างมีการสูญเสียวัสดุเหล็กเส้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อสร้างโปรแกรมประมาณปริมาณเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อย โดยเป็นการนำเทคโนโลยีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มาประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้างเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการตัดเหล็ก เพื่อศึกษาถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นในโครงการโดยใช้หลักการจากแนวความคิดแบบลีน

            เนื่องจากโปรแกรมทำให้มีความแม่นยำในการคำนวณและได้ผลการคำนวณใกล้เคียงกับการใช้งานจริงเพื่อให้โครงการก่อสร้างสูญเสียวัสดุเหล็กเส้นน้อยที่สุด  โดยได้ทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจจาก

ผู้ทดลองใช้งานโปรแกรมซึ่งเป็นวิศวกรในสถานปฏิบัติงานก่อสร้างของโครงการก่อสร้างแห่งหนึ่ง ย่านสมุทรปราการจำนวน 10 ราย สอบถามทั้งหมด 4 ตอน ตอนที่ 1 สอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม  ตอนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับกรณีศึกษาการวิเคราะห์ประมาณปริมาณเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อยในงานก่อสร้างด้วยโปรแกรม ตอนที่ 3 สอบถามเกี่ยวกับการประยุกต์เทคโนโลยีกับงานก่อสร้างและ ตอนที่ 4 ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า โปรแกรมสามารถทำให้โครงการก่อสร้างประหยัดระยะเวลาการทำงาน ลดการสูญเสียวัสดุเหล็กเส้น และยังลดต้นทุนในการก่อสร้าง จากผลการวิจัยนี้ทำให้ได้แนวทางแก้ปัญหา ลดข้อผิดพลาด และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการประมาณปริมาณงานเหล็กเสริมคอนกรีต  ในงานก่อสร้าง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโยธาธิการและผังเมือง.(2552).มาตรฐานงานเหล็กเสริมคอนกรีต.กรุงเทพฯ : กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย.

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และ จำลอง ครูอุตสาหะ.(2543).Visual Basic 6 ฉบับโปรแกรมเมอร์.กรุงเทพฯ :

ไทยเจริญการพิมพ์

คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา.(2555).มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง. กรุงเทพฯ : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยพระบรมราชูปถัมภ์.

ประสงค์ ธาราไชยและคณะ.(2539).รายละเอียดเหล็กเสริมงานคอนกรีต.กรุงเทพฯ : ชมรมวิศวฯจุฬา07

สิทธิโชค สุนทรโอภาส.(2538)."ไมโครคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำหรับการเตรียมเหล็กเสริม" วิทยานิพนธ์ ปริญญาคุรุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาโยธา.บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ

สันติ ชินานุวัติวงศ์.(2532)."การควบคุมการสูญเสียเหล็กเสริมคอนกรีตในโครงการก่อสร้าง" วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศรัณย์ ชลไพศาล.(2552). "การใช้หลักการของลีนคอนสตั๊กชั่นในการลดความสูญเสียในการดำเนินงาน ก่อสร้างที่เกิดขึ้นจากการออกแบบงานระบบ กรณีศึกษา : โครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่ง ย่านถนนศรีนครินทร์" วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลันธรรมศาสตร์

Fooster,N.(1972). "Construction Estimate from Take off to Bid.Mc-Graw Hill”, New york,U.S.A.209 p.

I an, E.C.(1978). "Material Management on Building Site.The Construction Press”,Lanchaster,England.150 p.