การวัดปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในน้ำ โดยการดูดกลืนแสงยูวี
Main Article Content
บทคัดย่อ
สารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบสามารถดูดกลืนแสงยูวีซี (UVC) ช่วงความยาวคลื่น 200 – 280 นาโนเมตร งานวิจัยนี้ ได้ทำการทดลองหาความสัมพันธ์ของปริมาณความเข้มข้นของปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในน้ำ (Total Organic Carbon, TOC) กับปริมาณแสงยูวีที่ถูกดูดกลืน พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงตามสมการ y = 31.05A + 1.94 โดยค่า y เป็นปริมาณความเข้มข้นของคาร์บอนอินทรีย์ในน้ำ (TOC) ในหน่วยมิลลิกรัมต่อลิตร ค่า A เป็นค่าการดูดกลืนแสง UV ของสารละลาย (UV - Absorbance) A = Log I0/I I0 เป็นความเข้มแสงยูวีหลังส่องผ่านน้ำกลั่น (UV – Transmittance of pure water) และ I เป็นความเข้มแสงยูวีหลังส่องผ่านน้ำตัวอย่าง (UV - Transmittance of Sample) ความสัมพันธ์ในรูปแบบของฟังก์ชั่นดังกล่าวมีค่าความแม่นยำ R2 = 0.996 กับการทดลองที่ใช้สารละลายคาร์บอนอินทรีย์มาตรฐานที่เตรียมจาก Potassium hydrogen phthalate ช่วงความเข้มข้น 0.25 ถึง 48 มิลลิกรัมต่อลิตร และได้ทำการทดลองทวนสอบการวัดปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในน้ำเสียหลังผ่านการบำบัด โดยวัดค่า TOC ด้วยยูวีซีเทียบกับการใช้เครื่องวัดปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ ยี่ห้อ SHIMASU รุ่น TOC – 4100 พบค่าความสัมพันธ์ของการวัดเป็นความสัมพันธ์เชิงเส้นที่มีค่าความแม่นยำ R2 = 0.980 ซึ่งแสดงว่าวิธีการวัดปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในน้ำด้วยวิธีการดูดกลืนแสงยูวีจากการทดลองสามารถนำไปพัฒนาเป็นเครื่องมือวัดปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ (TOC) ในน้ำซึ่งจะทำให้ราคาของเครื่องวัดปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในน้ำมีราคาถูกกว่าระบบการวัดคาร์บอนอินทรีย์ในน้ำ ด้วยการเผาไหม้แล้ววัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นด้วยเครื่องวัด NDIR (Non Dispersive Infrared) แล้วคำนวณกลับเป็นปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในน้ำ (TOC)
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
Willy J. Masschelein “Ultraviolet Light in Water and Wastewater Sanitation” CRC Press, Washington, D.C.:2002.
Brian A. Schumacher “Methods for Determination of Total Organic Carbon (TOC)” Ecological Risk Assessment Support Center Office of Research and Development US. Environmental Protection Agency: 2002.
Robert J. Huston, R.B. Ralph Marquez, and Kathleen Harthett Waite “Total Organic Carbon (TOC) Guidance Manual” Water Supply Division Texas Commission on Environmental
Quality: 2002