การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เรื่องการเขียนอัลกอริทึมแบบวนซ้ำ

Main Article Content

อมีนา ฉายสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาบทสื่อการเรียนรู้ เรื่องการเขียนอัลกอริทึมแบบวนซ้ำ   2. เพื่อหาคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ เรื่องการการเขียนอัลกอริทึมแบบวนซ้ำ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ เรื่องการเขียนอัลกอริทึมแบบวนซ้ำ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นปีที่ 2 จำนวน 35 คน

               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย  1. สื่อการเรียนรู้ เรื่องการเขียนอัลกอริทึมแบบวนซ้ำ  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2. แบบประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ เรื่องการเขียนอัลกอริทึมแบบวนซ้ำ  3. แบบประเมินความความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ เรื่องการเขียนอัลกอริทึมแบบวนซ้ำ

               ผลการวิจัย  พบว่าผลการประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ เรื่องการเขียนอัลกอริทึมแบบวนซ้ำ          ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ รวมคุณภาพทั้ง 3 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.32 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ เรื่องการเขียนอัลกอริทึมแบบวนซ้ำ ที่ประเมินโดยนักศึกษา รวมคุณภาพทั้ง 3 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 3.97 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี

 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดาวรถา วีระพันธ์ (2558). บทความวิจัยเรื่องแอนิเมชัน เรื่องความรู้เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สำหรับเยาวชน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 10 ฉบับที่ 1, [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/33430 (2558, 6 สิงหาคม).

ธีรศานต์ ไหลหลั่ง (2549). การออกแบบและประเมินชุดสื่อมัลติมีเดียวิชาการถ่ายภาพทางการศึกษาตามโมเดลการออกแบบของกานเยและบริกส์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี,สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ปถมา วรรณกุล (2550) .การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหน้าพระลาน ( พิบูลสงเคราะห์) จังหวัดสระบุรี. การค้นคว้าแบบอิสระ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประคอง กรรณสูต. (2539). สถิติเพื่อการวิจัยคำนวณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์พร แก้วเครือ.(2544) [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก:

http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=5&group_id=23&article_id=194 (2558, 6 สิงหาคม).

มลิวัลย์ ผิวคราม (2552). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อก้าวสู่เทคโนโลยีสารสนเทศ. สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร.

รัชนาถ ศรีกุณะ(2553). การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ คำเมืองเชียงใหม่ สำหรับเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทรายมูล จังหวัดเชีงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ หลักสูตรศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ,บัณฑิตวิทยาลัย หาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553. การศึกษาผลการติดตามการดำเนินงานการเรียนรู้ภาษาไทยที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง (BBL : Brain-based Learning) ระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบเข้มแข็ง. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก

http://academic.obec.go.th/web/node/165 (2558, 6 สิงหาคม).