การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกร อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกร อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี โดยศึกษา ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลการปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อใช้ในการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกร โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันจำนวน 140 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 103 คน (73.6%) มีอายุเฉลี่ย 45 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา (40.7%) มีสมาชิกในครัวเรือนมากสุด 4 คน (45.7%) มีประสบการณ์ในการปลูกปาล์มน้ำมัน 4-5 ปี (58.6%) แรงงานภายในครอบครัว 2 คน (34.3%) ขนาดพื้นที่ในการปลูกปาล์มน้ำมันโดยเฉลี่ย 33.50 ไร่ มีรายได้เฉลี่ย 52,225 บาทต่อเดือน เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์คอมแพค (35.7%) 2. การยอมรับเทคโนโลยีในที่นี้นิยามความหมายคือการรับรู้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2.1 เกษตรกรมีระดับความรู้เกี่ยวกับปาล์มน้ำมันด้านการเตรียมพื้นที่ปลูกอยู่ในระดับปานกลาง (= 0.50) 2.2 ด้านการบำรุงดูแลรักษาปาล์มน้ำมันอยู่ในระดับมาก (= 0.677) 2.3 ด้านการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมันอยู่ในระดับปานกลาง (= 0.582) 2.4. ด้านการขนส่งปาล์มน้ำมันอยู่ในระดับปานกลาง (= 0.514) โดยที่เกษตรกรมีความมั่นใจในการนำไปใช้ประโยชน์หรือการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านผลผลิตปาล์มน้ำมัน (= 1.76) ด้านราคาปาล์มน้ำมัน (= 1.64) ด้านสถานที่ (= 1.96) และด้านการส่งเสริม (= 2.23) เกษตรกรมีการรับรู้ข่าวสารทางการเกษตรผ่านทางสื่อบุคคลมากที่สุด (87.9%) 3. ศักยภาพการทำงานของสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน พบว่าเกษตรกรมีความพอใจในระดับปานกลาง (= 2.25) มีระดับความพอใจต่อระบบการดำเนินงานของกลุ่มในระดับปานกลาง (= 2.19) 4) ปัญหาที่พบ ได้แก่ ดินเป็นกรด การผสมเกสรปาล์มน้ำมันไม่ติด โรคลำต้นเน่า ทะลายเน่า และหนอนหน้าแมว ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ (140 ราย) ไม่พอใจในราคาที่ไม่แน่นอนต้องการให้มีการประกันราคาDownloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ประกอบ จรเจริญ และสุพัตรา ศรีสุวรรณ. 2557. สภาพการปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกร อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศักดิ์ศิลป์ โชติสกุล. 2553. การปลูกปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่สวนส้มร้างทุ่งรังสิต. เอกสารประกอบการบรรยายในการสัมมนาวิชาการเรื่อง พลังงานทดแทน: ไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน จัดโดยสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย. เอกสารอัดสำเนา.
ศักรินทร์ บุญฤทธิ์. 2555. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี. 2554. โครงการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อพลังงานทดแทน. (online). http://www.pathumthani.doae.go.th/, 20 กุมภาพันธ์ 2555.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. การผลิตสินค้าเกษตร. (online). http://www.oae.go.th/main.php?filename=index, 20 กุมภาพันธ์ 2555