การพัฒนาส่วนผสมของธูปเพื่อลดสารก่อมะเร็งในควันธูป
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาส่วนผสมในการผลิตธูปเพื่อลดสารก่อมะเร็งในควันธูปเป็นสูตรธูปทดลองเบื้องต้น จากนั้นนำธูปทดลองไปคัดเลือกโดยใช้เกณฑ์การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ที่มีประสบการณ์ด้านการผลิตธูปเป็นเวลานาน 10 - 30 ปี ประกอบกับเงื่อนไขการผลิตธูปของโรงงานคือ การยึดเกาะ กลิ่นและปริมาณควัน หลังจากนั้นนำธูปที่ผ่านเกณฑ์การประเมินไปวิเคราะห์สารเคมีด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี เพื่อหาสารก่อมะเร็ง 2 ชนิด คือเบนซีน และ 1,3 บิวทาไดอีน
ผลการวิจัย พบว่าธูปที่พัฒนาจากวัตถุดิบ 10 ชนิด คือ ไม้ไผ่สีสุก ขี้เลื่อยไม้สัก ขี้เลื่อย ไม้ประดู่ ผงเปลือกหอยนางรม ผงคาร์บอน ผงยางบง จันขาว จันเขียว จันเหลือง และผงว่านหอม ร่วมกับโรงงานเป็นธูปทดลองทั้งหมด 30 สูตร เมื่อนำธูปทดลองให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินพบว่าผ่านเกณฑ์การยึดเกาะที่ดี กลิ่นไม่ฉุนและปริมาณควันน้อย จำนวน 7 สูตร ได้แก่ ธูปสูตร S-3, S-6, S-9, S-12, S-15, S-21 และ S-30 จากนั้นวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการเพื่อหาปริมาณเบนซีน และ 1,3 บิวทาไดอีน พบว่า ธูปทดลองสูตร S-9 ที่เติมผงเปลือกหอยนางรม ร้อยละ 24 มีปริมาณเบนซีน และ 1,3 บิวทาไดอีนต่ำที่สุดคือ เบนซีน 5.2 mg/m3 และ 1,3 บิวทาไดอีน 12.0 mg/m3 เมื่อเทียบเคียงปริมาณเบนซีนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม (สารเคมี) ประกาศกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2520 และเกณฑ์มาตรฐานของ OSHA 32 mg/m3 แต่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของ ACGIH, 2013 1.6 mg/m3 และปริมาณ 1,3 บิวทาได อีนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของ OSHA และเกณฑ์มาตรฐานของ ACGIH, 2013 2.2 และ 4.4 mg/m3 ตามลำดับ
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมทรัพยากรธรณี. (2548). องค์ประกอบทางเคมีที่พบในเปลือกหอยนางรม. กรุงเทพ ฯ : กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
ไทยซูมิ. (2558). วิธีเผาถ่านด้วยเตาอิวาเตะ. สาระความรู้การเผาถ่านด้วยเตาอิวาเตะ.
[ออนไลน์]. สืบค้นได้จาก : http://www.charcoal.snmcenter.com/charcoalthai/eivada.php
วันที่สืบค้น 2558, เมษายน 6.
นิพัฒน์ ปิ่นอมร (2556). ดอกธูปไร้พิษ. กรุงเทพฯ. กรุงเทพธุรกิจ.
นักรบ เจริญสุข ดุษณี ศุภวรรธนะกุล วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์ และรัศมี แสงศิริมงคลยิ่ง. (2558).
การคัดเลือกส่วนผสมที่เหมาะสมในการผลิตธูปที่ลดผลกระทบต่อสุขภาพ. การประชุมวิชาการเพื่อ
นำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) พ.ศ. 2520.
(2520, 12 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 94 ตอนที่ 64. หน้า 1-8.
พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2555 : 1-2). โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia). รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
ภัคพงศ์ พละปัญญา. (2551). สภาพแวดล้อมภายในบ้านและโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กตำบล
บ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มนูญ ลีเชวงวงศ์. (2554). มหาภัยจากควันธูป. โรงพยาบาลวิชัยยุทธ.
ศศิกร แสงพงษ์ชัย. (2554). การดูดซับสารอินทรีย์ระเหยภายในอาคารด้วยถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากกากกาแฟ.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2551). “เผยภัยเงียบที่มาจากควันธูป.” [ระบบออนไลน์].
สืบค้นได้จาก : http://www.thaihealth.or.th/node/5204 วันที่สืบค้น 2551, ตุลาคม 15.
ส่งเสริมอุตสาหกรรม, กรม. (2554). อุตสาหกรรมธูป. กรุงเทพฯ. กระทรวงอุตสาหกรรม.
ACGIH (2013). American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH).
TLVs and BEIs.
Austin Shepherd., (2001, May). Activated Carbon Adsorption for Treatment of VOC Emissions.
Paper presented at the 13th Annual Enviro Expo, Boston Massachusetts.
Chi-Ru Yang. (2013). Oyster shell reduces PAHs and particulate matter from incense burning.
Environmental Chemistry Letters Vol. 11, 33-40.
Chi-Ru Yang , Ta-Chang Lin & Feng-Hsiang Chang (2006) Correlation between Calcium Carbonate Content
and Emission Characteristics of Incense, Journal of the Air & Waste Management Association,
:12, 1726-1732.
NIOSH (2007) National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH). NIOSH
Pocket Guide to Chemical Hazards (NPG), 3rd printing. NIOSH Publication No. 2005-149.
OSHA (1990). Analytical Methods Manual, 2nd ed.; U.S. Department of Labor, Occupational
Safety and Health Administration; OSHA Analytical Laboratory; Salt Lake City, UT, 1990; Method 56; American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH); Cincinnati, OH, Publication No. 4542.