ขี้เถ้าแกลบแทนซิลิกาสำหรับผลิตภัณฑ์เซรามิก อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส

Main Article Content

ทนารัช จิตชาญวิชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของเนื้อดินปั้นและลักษณะของเคลือบที่มีขี้เถ้าแกลบเป็นส่วนผสมแทนวัตถุดิบที่ให้ซิลิกา ศึกษาการกระจายความละเอียดของวัตถุดิบผ่านตะแกรงหลายเบอร์ กำหนดอัตราส่วนผสมของวัตถุดิบ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กำหนดอัตราส่วนผสมของเนื้อดินปั้นโดยการสุ่มปริมาณวัตถุดิบจากขี้เถ้าแกลบ ดินขาวระนอง หินเขี้ยวหนุมาน และหินฟันม้า แบบเจาะจงในตารางสี่เหลี่ยมด้านเท่าจำนวน 16 อัตราส่วนผสม ทุกอัตราส่วนผสมบดผสมและขึ้นรูปชิ้นทดลองโดยวิธีการหล่อแบบ กลุ่มที่ 2 หาอัตราส่วนผสมของเคลือบโดยการสุ่มปริมาณวัตถุดิบจากขี้เถ้าแกลบ ดินขาวระนอง และหินฟันม้า แบบเจาะจงในตารางสามเหลี่ยมด้านเท่าจำนวน 36 อัตราส่วนผสม นำไปบดผสมและเคลือบชิ้นทดลองด้วยวิธีการชุบเคลือบเผาอัตราส่วนผสมทั้ง 2 กลุ่มที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส โดยกลุ่มที่ 1 เผาอัตราส่วนผสมของเนื้อดินปั้นในบรรยากาศแบบออกซิเดชัน ศึกษาความสามารถในการขึ้นรูป และทดสอบสมบัติทางกายภาพหลังเผา ผลปรากฏว่า อัตราส่วนผสมที่ 1 เป็นอัตราส่วนผสมที่ดีที่สุด คือสามารถขึ้นรูปโดยวิธีการหล่อแบบได้ดี มีความแข็งแรง 180.25 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ความหนาแน่น 2.24 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการดูดซึมน้ำ    ร้อยละ 0.79 นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ส่วนกลุ่มที่ 2 ศึกษาลักษณะของเคลือบหลังเผาในบรรยากาศแบบออกซิเดชัน และรีดักชัน ผลปรากฏว่า อัตราส่วนผสมที่ 32 ผ่านการเผาในบรรยากาศออกซิเดชันเป็นอัตราส่วนผสมที่ดีที่สุด มีลักษณะผิวเคลือบกึ่งมันกึ่งด้าน ผิวเคลือบสมบูรณ์พอใช้ และมีสีขาวครีม จึงเลือกมาเคลือบผลิตภัณฑ์ โดยนำเคลือบที่เลือกจากกลุ่มที่ 2 ไปเคลือบเนื้อดินปั้นที่เลือกจากกลุ่มที่ 1 พบว่า เคลือบสามารถเข้ากันได้ดีกับเนื้อดินปั้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกมล รักษ์วงศ์. (2531). วัตถุดิบที่ใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผาและเนื้อดินปั้น. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาช่าง

ปั้นดินเผา คณะวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ วิทยาลัยครูพระนคร.

ดนัย อารยะพงษ์. (2538). เอกสารการฝึกอบรมเรื่อง การหล่อผลิตภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร :

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประดุจฤดี สารสิทธิ์. (2541). การทดสอบสมบัติทางฟิสิกส์ในงานเซรามิกส์. นครศรีธรรมราช :

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ปราณี รัตนวลีดิโรจน์. (2543). เครื่องเครื่องวัดความหนืด ใน วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชาและสุพจ หารหนองบัว (บก).

เครื่องมือวิจัยทางวัสดุศาสตร์ : ทฤษฎีและหลักการทำงานเบื้องต้น. (หน้า 145-156).

กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีดา พิมพ์ขาวขำ. (2539). เซรามิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2541). เนื้อดินเซรามิก. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

สุจินต์ พราวพันธ์. (2543). เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการทดสอบ ผลของความร้อนของเนื้อ

ดิน ความทนไฟ การหดตัว Weight Loss ในการตรวจวิเคราะห์วัตถุดิบเซรามิกส์ตามมาตรฐานสากล.

กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

สุรศักดิ์ โกสิยพันธ์. (2534). น้ำเคลือบเครื่องปั้นดินเผา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

เสริมศักดิ์ นาคบัว. (2536). เคลือบขี้เถ้าพืช. กรุงเทพมหานคร : เจ. ฟิลม์ โปรเซส

อายุวัฒน์ สว่างผล. (2543). วัตถุดิบที่ใช้แพร่หลายในงานเซรามิกส์. กำแพงเพชร : สถาบันราชภัฏ

กำแพงเพชร.

เอ็ททสึโซะ คาโต แปลโดย สมบูรณ์ อรัณยภาค. (2553). หลักการทำเคลือบเซรามิกส์. กรุงเทพมหานคร :

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Rhodes, Deniel. (1974). Clay and Glazer for The Potter. London : Pitmane Publishing

Company.