ศึกษาวิธีการสลบกุ้งเครย์ฟิช

Main Article Content

วิจิตรา ตุ้งซี่
อรสา บากา
สุนันทา โพธิ์งาม

บทคัดย่อ

       ศึกษาวิธีการสลบกุ้งเครย์ฟิช โดยวิธีการทำท่าหกสูง การใช้อุณหภูมิต่ำ และการใช้สารละลายน้ำมันกานพลู ทำการทดลองในกุ้งเครย์ฟิชขนาด 7-12 กรัม วิธีที่ 1 การลูบหลังของกุ้งเครย์ฟิช แล้วจับทำท่าหกสูง พบว่าใช้เวลาในการนำสลบเฉลี่ย 855.44±761.65 วินาที และเวลากุ้งเครย์ฟิชสลบจนสูญเสียการทรงตัวเฉลี่ย 94.67±70.44 วินาที วิธีที่ 2 การสลบด้วยวิธีการใช้อุณหภูมิต่ำ พบว่าอุณหภูมิน้ำที่ 25, 20 และ 15 °C             ไม่สามารถทำให้กุ้งเครย์ฟิชสลบได้ แต่อุณหภูมิน้ำที่ 10 และ 5 °C สามารถทำให้กุ้งเครย์ฟิชสลบได้ภายในเวลา 10 นาที เมื่อนำมาทดลองสลบที่เวลา 0.5, 1, 2, 3 และ 24 ชั่วโมง พบว่ากุ้งเครย์ฟิชที่สลบด้วยอุณหภูมิน้ำ 10 °C              มีอัตราการรอดตาย 100% เวลาโดยเฉลี่ยที่ทำให้กุ้งเครย์ฟิชฟื้นจากการสลบจนสามารถพลิกตัวกลับสู่ปกติ และว่ายน้ำได้ใช้เวลา 52.67±2715, 142.33±105.42, 1244.00±293.33, 1109.00±181.01 และ 175.69±146.41 วินาที ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และวิธีที่ 3 การสลบกุ้งเครย์ฟิชโดยใช้สารละลายน้ำมันกานพลูในระดับความเข้มข้น 100, 200, 300, 400 และ 500 ppm พบว่าที่ระดับความเข้มข้นของสารละลายน้ำมันกานพลู 100, 200 และ 300 ppm ไม่สามารถทำให้กุ้งเครย์ฟิชสลบ เมื่อคอยติดตามสังเกตอาการผ่านไป 3 วัน พบว่ามีอัตราการรอดตาย 100, 0 และ 0% ตามลำดับ ส่วนที่ระดับความเข้มข้นของสารละลายน้ำมันกานพลู 400 และ 500 ppm สามารถทำให้กุ้งเครย์ฟิชสลบได้ เมื่อคอยติดตามสังเกตอาการผ่านไป 3 วัน พบว่ามีอัตราการรอดตาย 0% เพราะเกิดจากพิษของสารละลายน้ำมันกานพลู และเกิดจากปัญหาคุณภาพน้ำ ดังนั้นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการสลบกุ้งเครย์ฟิช คือ การใช้อุณหภูมิต่ำที่ 10 °C

 

     Study of methods for anesthetizing crayfish (Procambarus clarkii) by handstand, low temperature and clove oil solution. Trial in P. clarkia weight 7-12 g First method, grove of dorsal of P. clarkia and handstand which use of average time for induced to anesthetize within 855.44±761.65 seconds and anesthetize to loss equilibrium within 94.67±70.44 seconds. Second method, method for anesthetized P. clarkia by low temperature; they can’t anesthetize at 25, 20, and 15 °C but they can anesthetize at 10 and 5 °C within 10 minutes. When experiment at 0.5, 1, 2, 3 and 24 hours; P. clarkia exhibited 100% of survival rate at 10 °C and average time for recover to exhibit normal and swimming within 52.67±2715, 142.33±105.42, 1244.00±293.33, 1109.00±181.01 and 175.69±146.41 seconds, respectively when significant (P<0.05). And third method, method for anesthetized P. clarkia by clove oil solution at various concentrations of 100, 200, 300, 400 and 500 ppm. The clove oil solution concentration of 100, 200 and 300 ppm can’t anesthetized in P. clarkia and observe behavior after three days were exhibited 100, 0 and 0% of survival, respectively. But the clove oil solution concentration of 400 and 500 ppm can anesthetized in P. clarkia and observe behavior after three days were exhibited 0% of survival. Because, toxicity of clove oil solution and problem of water quality. Therefore, the best method for anesthetized in P. clarkia was low temperature at 10 °C.    

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วิจิตรา ตุ้งซี่

อาจารย์ โปรแกรมวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

อรสา บากา

นักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

สุนันทา โพธิ์งาม

นักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

References

จรัญ จันทลักขณา. (2549). การวิเคราะห์และการวางแผนงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ดนัย สมใจ, อรอุมา พาลเสือ และ สมหมาย เชี่ยววารีสัจจะ. (2551). ความเป็นพิษและประสิทธิภาพของน้ำมันกานพลูในการสลบปลากัดจีน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 11 (2), 31-38.

ทัศนัย อ่องสาคร. (2528). ผลของยาสลบต่อการขนส่งปลาตะเพียนขาว. วารสารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 17, 13-27.

ทิพย์ภาพร หล่อสิงห์คำ, ชลอ ลิ้มสุวรรณ, วัชริยา ภูรีวิโรจน์กุล, และ นิติ ชูเชิด. (ม.ป.ป.). การประเมินประสิทธิภาพของสาร Isoeugenol เพื่อใช้เป็นยาสลบสำหรับกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei). ศูนย์วิจัยธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง, ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

นาวิน มหาวงศ์, เมธา คชาภิชาติ, ปฏิพัทธ์ อภิธนกุล และ ประโยชน์ บุญประเสริฐ. (2549). การทดลองเบื้องต้น ในการใช้น้ำมันกานพลูเป็นยาสลบในปลาน้ำจืดที่สำคัญทางเศรษฐกิจบางชนิด. สำนักงานประมงจังหวัดพะเยา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา. พะเยา.

บุญรัตน์ ประทุมชาติ และ กระสินธุ์ หังสพฤกษ์. (2555). วิธีที่เหมาะสมในการลำเลียงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ให้มีชีวิตแบบแห้งที่อุณหภูมิต่ำ. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

พึ่งบุญ ง้วนสูงเนิน. (2552). การเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชโดยใช้ดินเป็นวัสดุรองพื้น. ปัญหาพิเศษปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ชุมพร.

รายการ Sponge ฉลาดสุดๆ. (2554). สะกดจิตกุ้งเครย์ฟิช. แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/ watch?v=TRURaeQKRFA, 7 พฤษภาคม 2558.