การออกแบบและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบและพัฒนาการผลิตเครื่องปั้นดินเผาในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการสุ่มตัวอย่างจากผู้ผลิตในจังหวัด อุดรธานี หนองคาย และหนองบัวลำภู การศึกษาเบื้องต้นทำได้การสำรวจปัญหาในการผลิต และความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบการ พบว่ามีปัญหาในเรื่องส่วนผสมของวัตถุดิบ ความแข็งแรง และการมีน้ำหนักมากเกินไปของผลิตภัณฑ์ ในงานวิจัยนี้จึงได้ออกแบบส่วนผสมของวัตถุดิบโดยอาศัยวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นโดยใช้แกลบเป็นส่วนผสมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความแข็งแรงและมีน้ำหนักที่เบาขึ้น จากผลการวิจัยอัตราส่วนที่เหมาะสมคือการเติมแกลบลงไปร้อยละ 40 โดยปริมาตร โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความสามารถในการรับแรงอัดได้เท่ากับ 5.34 เมกกะพาสคาล ความหนาแน่น 1.78 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ร้อยละของการดูดซึมน้ำเท่ากับ 11.73 ร้อยละของความพรุนตัวเท่ากับ 20.37 และร้อยละของน้ำหนักสูญหายหลังการเผาเท่ากับ 22.97 หลังจากนั้นนำส่วนผสมนี้มาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบโดยได้ดึงเอาเอกลักษณ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงมาเป็นแรงบันดานใจในการออกแบบ ทั้งรูปทรงและลวดลาย การใช้งานเน้นความเรียบง่ายตรงไปตรงมา ผู้บริโภคสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างการใช้งานในรูปแบบต่างๆ และประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญผลประเมินพบว่ามีระดับค่าคะแนนอยู่ในระดับดีมาก
The study aimed at the development and the design of pottery products at up North Este part of Thailand with take a random at Udomthani, Nonhkhai, and Nongbualumpoo province . From the primary study found that the uncertainty of composition and low-quality product were the problem of production required by the entrepreneur. The problem also included the composition of raw materials, strength of product, the weight of product. The materials used were adapted from material whose composition was designed in this study by added rice husk with local materials to increase the strength and to decrease their weight. The results revealed that the composition measurement step in pottery production process lacks of consistency. The added of rice husk to local clay 20% by volume showed good properties with strength, density, water absorption, porosity, weight lost were 5.34 Mpa, 1.78 g/cm3, 11.73%, 20.37%, and 22.97%, respectively. The mixture was made as a prototype and evaluated by an expert assessment found that the level values is very satisfactory
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ณริศรา พฤกษะวัน และ พรเทพ เลิศเทวศิริ. (2547). การศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหม้อน้ำดินเผาพื้นบ้านภาคเหนือและคุณสมบัติทางสุนทรียะ. เอกสารรายงาน ผลการวิจัย
นโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2, สำนัก. (ม.ป.ป.). อุตสาหกรรมเซรามิกส์. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม, 2551,จาก http://www.oie.go.th/industrystatus2/ceramic_brief.asp
พิทักษ์ พงษ์จันทร์ และ กิติชัย ระมิงค์วงศ์. (ม.ป.ป.). การพัฒนาเคลือบไฟต่ำเพื่อการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน, 2552, จาก http://www.irpus.or.th .
ภาวิณี มนีวรรณ และเกศริน พิมพ์รักษา. (ม.ป.ป.). ปรับปุรงและควบคุมคุณภาพของการเตรียมและชุบน้ำเคลือบเซรามิกส์เพื่อลดตำหนิแยก. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน, 2552, จาก http://www.irpus.or.th .
มานะ เอี่ยมบัว, สุพรรณ สมไทย และวรรณิกา เกิดบาง. (2552). การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของใช้และตกแต่งบ้านจากกากตะกอนของระบบบำบัดน้ำเสีย. กรุงเทพมหานคร: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
วรุณี ถิรมงคล. (ม.ป.ป.) เซรามิกส์น้ำหนักเบา. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน, 2552 ,จาก http://bbznet.pukpik.com
สกนธ์ ภู่งามดี. (2547). พื้นฐานการออกแบบตกแต่ง. กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์
สนิท ปิ่นสกุล.(ม.ป.ป.) การศึกษาอัตราส่วนผสมของเนื้อดินปั้นเชียงเครือ และเคลือบสำหรับผลิตของที่ระลึก. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม, 2552, จาก http://www.rajabhatwijai.ssru.ac
วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคดการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร: แอ๊ปป้า พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
Kingery, A. J.; Bowen, H.K.; and Uhlmann, D.R.( 1991) Introduction to Ceramic. Singapore, John Wiley of Sons (SEA) Pte,
Michel W., Barsoum.;( 1997) Fundamentals of Ceramics. The Mcgraw – Hill
Rhodes, Danial. (1973). Stoneware and porcelain he Art of High-Fired Pottery. Pennsylvania: Chilton Book Company.